" อิสระทางการเรียนรู้ สู่การปฏิบัติจริง และไปใช้ได้ "
หากต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ หรือต้องการเพิ่มศักยภาพของตนเอง เพื่อไปพัฒนาองค์กร
หลักสูตรของเราสามารถช่วยให้คุณพัฒนาความรู้ความสามารถให้เป็น Professional ได้
- รายละเอียดหลักสูตร
- คำอธิบายรายวิชา
- รูปแบบการเรียน
- การสมัคร
- ขั้นตอนการสมัคร
- ค่าลงทะเบียนและทุนการศึกษา
- ตารางสอน
รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักสูตรจัดสอนนอกเวลาราชการ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานเกี่ยวกับการจัดหลักสูตร จัดการเรียนการสอน การวิจัยทางการศึกษา และการวัดและประเมินผล
เรียนนอกเวลาราชการ (ตามตารางสอน)
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 17.00 - 20.00 น.
วันเสาร์ 09.00 - 12.00 น. / 13.00 - 16.00 น.
เลือกเรียนในห้องเรียน หรือ เรียนทางไกลผ่านระบบ Online ก็ได้
กำหนดการรับสมัคร ภาคต้น ปีการศึกษา 2568
กำหนดการ | วันที่ |
เปิดรับสมัคร* | 1 ธ.ค. 2567 - 31 มี.ค. 2568 |
ประกาศสถานที่สอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ | |
สอบข้อเขียน (สถานที่สอบ: ห้อง 506 อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 5 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) |
21 เม.ย. 2568 (09.00 – 10.30 น.) |
สอบสัมภาษณ์ (สถานที่สอบ: ห้อง 506 และ 507 อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 5 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) |
21 เม.ย. 2568 (16.00 – 18.00 น.) |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อ | 9 พ.ค. 2568 |
รายงานตัวและชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา (Online) | 9 พ.ค. - 14 พ.ค. 2568 |
วันเปิด-ปิด ภาคการศึกษา | 11 ส.ค. - 5 ธ.ค. 2568 |
*หมายเหตุ : สมัครเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาโท คลิกที่นี่ หรือ อ่านวิธีการสมัครได้ที่ เมนู ขั้นตอนการสมัครเรียน)
คุณสมบัติผู้สมัครสอบ
- จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่น ๆ
- ได้เกรดเฉลี่ยสะสม (GPA) ตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 2.75
- มีประสบการณ์ทำงานด้านการศึกษา ไม่น้อยกว่า 3 ปี (ถ้ามี)
- มีผลสอบผ่านภาษาอังกฤษตามข้อกำหนดของบัณฑิตวิทยาลัย
เกณฑ์การทดสอบความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษ
รูปแบบการสอบ | เกณฑ์คะเเนน |
IELTS |
5.0 |
TOEFL - iBT |
64 |
MU GRAD Plus (MU GRAD test + speaking) |
70 |
MU ELT |
84 |
อ่านเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ >> https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/?topic=english-proficiency)
โปสเตอร์
คำอธิบายรายวิชา
หลักการคิดหน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
หมวดวิชาบังคับ
ศรกส ๕๓๑
|
หลักการพื้นฐานงานวิจัยทางการศึกษา | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 531
|
Basic Principles of Educational Research | |
แนวคิดพื้นฐานของการวิจัยทางการศึกษา การกำหนดปัญหาวิจัย คำถามวิจัย สมมติฐานทางการวิจัย ประเด็นทางจริยธรรมในการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะของงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัย ความเที่ยง ความตรง การเขียนโครงการวิจัย Basic concepts of educational research; defining research problems, research questions; research hypotheses; ethical issues in research; literature review; population and samples; characteristics of quantitative and qualitative research; research instrumentation; validity, reliability; research proposal |
ศรกส ๕๓๒
|
การเรียนรู้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 532
|
Learning in Health Science Education | |
หลักการเรียนรู้และการรู้คิด พฤติกรรมนิยม การประมวลข้อมูล การรู้คิด ความจำ เชาวน์ปัญญา การเรียนรู้อย่างมีความหมาย การรู้คิดอย่างมีบริบท พัฒนาการด้านการรู้คิดและองค์ความรู้ การเรียนรู้ทางสังคม การเรียนรู้จากประสบการณ์ การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ในการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การสืบค้นและประเมินคุณค่าบทความวิชาการและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ Principles of learning and cognition, behaviourism, cognitive information processing, memory, intelligence, meaningful learning, situated cognition, cognitive and knowledge development, social learning, experiential learning; applications of learning theories to teaching health science programs; searching and evaluating academic articles and research in the science of learning |
ศรกส ๕๓๓
|
หลักการพื้นฐานการวัดผลการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 533
|
Basic principles of assessment in Health Science Programs | |
แนวคิดพื้นฐานของการวัดผลในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ เกณฑ์ของการวัดผลที่มีคุณภาพ การวัดผลแบบระหว่างภาคและปลายภาค ความตรง ความเที่ยง ผลการเรียนรู้ที่ต้องวัดในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระดับของการวัดผลในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิธีการวัดผลที่ใช้โดยทั่วไปในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อประเมินระดับผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน การสอบข้อเขียน จริยธรรมในการประเมินผล การสืบค้นและประเมินคุณค่าบทความวิชาการทางการวัดผล การนำเสนอข้อมูลงานวิจัยทางการวัดผล Basic concepts of assessment in health science programs; the quality criteria for good assessment, formative and summative assessment; validity, reliability ; learning outcomes in health science programs; assessment levels in health science programs; assessment methods commonly used in health science programs to assess outcomes at various levels; written examination; ethical issues in assessment; searching and evaluation of literature in assessment; presentation of research in assessment |
ศรกส ๕๓๔
|
พื้นฐานการพัฒนาและประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 534
|
Basics in curriculum Development and Evaluation of Health | |
แนวคิดพื้นฐานของการออกแบบหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ขั้นตอนพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การระบุปัญหาและการประเมินความต้องการสำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การนำหลักสูตรไปใช้ หลักการพื้นฐานของการประเมินหลักสูตร ปัญหาและความผิดปกติต่างๆ ของหลักสูตร การสืบค้นและประเมินคุณค่าบทความวิชาการทางหลักสูตร Basic concepts of curriculum design for health science programs; basic steps in health science curriculum development; problem identification and needs assessment for health science programs; curriculum goals and objectives of health science programs; educational strategies in health science programs; implementing the curriculum; basic principles of curriculum evaluation; problems and abnormalities of curriculum; searching and evaluating academic articles in the curriculum |
ศรกส ๕๓๕
|
วิธีการวิจัยทางการศึกษา | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 535
|
Educational Research Methods | |
ปรัชญาพื้นฐานของการทำวิจัยด้วยวิธีการเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณ รูปแบบวิธีการวิจัยในการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยเปรียบเทียบสาเหตุ การวิจัยด้วยแบบสอบถาม สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอนุมาน รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทฤษฎีฐานราก เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตภาคสนาม การวิเคราะห์เนื้อหา Philosophical foundations of qualitative and quantitative research approaches; research methodologies in quantitative research, experimental research, correlational research, causal-comparative research, survey research; descriptive and inferential statistics; qualitative research methodologies, ethnographic research, historical research, action research, grounded theory; qualitative research techniques, interview, focus group, field observation, content analysis |
ศรกส ๕๓๖
|
ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 536
|
Learning Theories for Health Science programs | |
พื้นฐานทางชีววิทยาของการเรียนรู้และการรู้คิด แรงจูงใจ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทฤษฏีการสอนของกานเย่ การเรียนรู้จากการตั้งใจปฏิบัติ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ทฤษฎีพหุปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ พัฒนาการทางจริยธรรม หลักการพื้นฐานของสื่อการเรียนรู้ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ในการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ Biological basis of learning and cognition, motivation and self-efficacy; Gagne’s Theory of Instruction, deliberate practice, constructivism; The 21st Century Skills; Theory of Multiple Intelligences; emotional intelligence; moral development; basic principles of the learning media in health science programs; applications of learning theories in teaching health science programs |
ศรกส ๕๓๗
|
วิธีวัดผลการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 537
|
Assessment Methods in Health Science Programs | |
หลักการและกระบวนการเกี่ยวกับการวัดผลขั้นสูง รูปแบบและวิธีการวัดผลที่มีใช้ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การสอบปากเปล่า การสอบปฏิบัติการรายสถานี การสอบทักษะทางคลินิกรายสถานี การสอบรายยาว แฟ้มสะสมผลงาน การประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การประเมินในที่ปฏิบัติงานจริง กิจกรรมทางวิชาชีพที่ไว้ใจให้ผู้เรียนปฏิบัติ การแปลผลและรายงานคะแนนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การตัดเกรดในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปัญหาทางจริยธรรมในการจัดสอบในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ Principles and processes of advanced assessment; formats and assessment methods used in health science programs; oral examination, objective structured practical examination, objective structured clinical examination, long case examination, portfolio; performance assessment, workplace-based assessment; entrustable professional activities; interpreting and reporting scores in health science programs; grading in health science programs; ethical problems in test administration in health science programs |
ศรกส ๕๓๘
|
แนวทางการพัฒนาและประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 538
|
Approaches in Curriculum Development and Evaluation of Health Science Programs | |
กระบวนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การติดตามกระบวนการเปลี่ยนหลักสูตร มุมมองแบบต่างๆ ของการประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การประเมินโดยอิงวัตถุประสงค์ การประเมินโดยอิงตามการบริหาร การประเมินโดยอิงจากลูกค้า การประเมินโดยอิงจากความเชี่ยวชาญ การประเมินโดยอิงจากมุมมองตรงกันข้าม การประเมินโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย มาตรฐานการประเมินหลักสูตร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ จริยธรรมในการประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ The process of curricular changes in health science programs; administration of health science programs; monitoring curricular changes; alternative views of health science program evaluation, objectives-oriented evaluation, management-oriented evaluation, consumer-oriented evaluation, expertise-oriented evaluation, adversary-oriented evaluation, participant-oriented evaluation; program evaluation standards, Thai qualifications framework for higher education, education criteria for performance excellence; ethical issues in health science program evaluation |
ศรกส ๕๓๙
|
วิธีการสอนในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 539
|
Teaching Methods in Health Science Education | |
หลักการของการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การสอนบรรยาย การเรียนในห้องปฏิบัติการ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก การเรียนกลุ่มย่อย การสอนข้างเตียง การควบคุมการฝึกปฏิบัติในชั้นคลินิก การสอนในแผนกผู้ป่วยนอก การตรวจเยี่ยมผู้ป่วย การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้จากการทำโครงการ ห้องเรียนกลับทาง การเรียนรู้ในชุมชน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับวิธีการสอนแบบต่างๆ ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ คุณธรรมของผู้สอน ประเด็นทางจริยธรรมในการเรียนรู้จากผู้ป่วย Principles of teaching in health science programs; lectures, laboratory study, problem-based learning, small group teaching, bedside teaching, clinical supervision, ambulatory teaching, ward round, student feedback; team-based learning, project-based learning, flipped classroom, learning in the community; development of learning media for various teaching methods in health science programs; teachers’ moral, ethical issues in learning from patients |
ศรกส ๕๔๐
|
สัมมนาการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 540
|
Seminars in Health Science Education Research | |
การสืบค้นบทความวิชาการทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิเคราะห์และวิพากษ์บทความวิชาการทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประเมินคุณค่าของบทความวิชาการทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ข้อดี และข้อจำกัดของการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ การนำเสนอข้อมูลงานวิจัยทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ Searching academic articles in health science education; analysis and critical appraisal of health science educational academic articles; evaluation of health science educational academic articles, strengths and limitations of the applications of the research findings; presentation of health science education research |
หมวดวิชาเลือก
ศรกส ๕๔๑
|
กระบวนการพัฒนาข้อสอบในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 541
|
Test Development Processes in Health Science Programs | |
หลักการและขั้นตอนสำหรับการพัฒนาข้อสอบอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานสำหรับการทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา ความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น การกำหนดเนื้อหาข้อสอบ ลักษณะเฉพาะของแบบทดสอบและผังการออกข้อสอบ การพัฒนาข้อสอบ การสร้างแบบทดสอบ การผลิตแบบทดสอบ การจัดสอบ การสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ การคิดคะแนน เกณฑ์การสอบผ่าน การรายงานผลการสอบ การทำคลังข้อสอบ การทำรายงานการสอบ ประเด็นทางจริยธรรมในการจัดสอบและรายงานผลสอบ Principles and steps for effective test development, the standards for educational and psychological testing, validity, reliability, content definition, test specification and blueprinting, item development, test assembly, test production, test administration, computerized testing, scoring, passing standards, reporting examination results, item banking, test report, ethical issues in test administration and reporting of test results |
ศรกส ๕๔๒
|
สถานการณ์จำลองในการสอนและวัดผลในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๑ (๐-๓-๑) |
SIHE 542
|
Simulation in Teaching and Assessment in Health Science Programs | |
แนวคิดพื้นฐานของการใช้สถานการณ์จำลองในการเรียนการสอน การประยุกต์และการจัดการเรียนการสอนสถานการณ์จำลองในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ การออกแบบสถานการณ์จำลองอย่างมีประสิทธิภาพ สถานการณ์จำลองในทักษะทางคลินิก สถานการณ์จำลองในทักษะที่ไม่ใช่คลินิก ผู้ป่วยจำลองและผู้ป่วยมาตรฐาน กระบวนการสรุปประเด็นอย่างละเอียดและการให้ข้อมูลย้อนกลับในสถานการณ์จำลองทางคลินิก การประเมินผลในสถานการณ์จำลองทางคลินิก Basic concepts in using simulation for education; application and pedagogy of simulation in health science education; designing effective simulation scenario, simulation in technical skills, simulation in non-technical skills; simulated and standardized patient; debriefing and feedback in clinical simulation; assessment in clinical simulation |
ศรกส ๕๔๓
|
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 543
|
Qualitative Research Methods | |
ปรัชญาพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพ ธรรมชาติของการวิจัยเชิงคุณภาพ ประเด็นทางจริยธรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพ การออกแบบงานวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์บุคคล การสัมภาษณ์กลุ่ม การสังเกตในบริบทจริง การวิเคราะห์เอกสาร การบริหารจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การรายงานผลของงานวิจัยเชิงคุณภาพ Philosophical foundations of qualitative research; nature of qualitative research; ethical issues in qualitative research; designs of qualitative research; individual interviews, group interviews, field observation; document analysis; data management and analysis in qualitative research; reporting findings from qualitative research |
ศรกส ๕๔๔
|
วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 544
|
Survey Research Methods | |
หลักการของการวิจัยเชิงสำรวจ ตัวแปร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การออกแบบเครื่องมือในการสำรวจ การสร้างแบบสอบถามในรูปแบบกระดาษและออนไลน์ การตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม การเก็บรวบรวมแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามและการแปลผล การเขียนสรุปและอภิปรายผลการสำรวจ Principles of survey research; variables; population and sample; survey research instrument design; creating a questionnaire in paper-based and online formats; validation of survey questionnaire; survey data collection; survey data analysis and interpretation; writing the summary and discussion of survey |
ศรกส ๕๔๕
|
สถิติพื้นฐานทางการศึกษา | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 545
|
Basic Statistics for Education | |
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด สถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงอนุมาน ขนาดอิทธิพล การคำนวณขนาดตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่าง สมมติฐานทางสถิติ การทดสอบสมมติฐาน ข้อมูลชนิดแบ่งกลุ่มกับการทดสอบไคสแควร์ การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอย สถิตินอนพาราเมตริก Concepts of measurement; descriptive statistics, inferential statistics; statistical power; sample size calculation and sampling; statistical hypotheses, hypothesis testing; categorical data and chi-square; testing the differences between groups; correlation, regression; non-parametric statistics |
ศรกส ๕๔๖
|
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 546
|
Information Technology for Health science Programs | |
หลักการและกระบวนการเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา การออกแบบการสอนและสื่อในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระบบสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน นวัตกรรมการศึกษา การสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การพัฒนารายวิชาโดยใช้ระบบสารสนเทศบริหารจัดการรายวิชา การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ในการสอนและการวิจัยในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ Principles and processes of educational technology; instructional design and media in health science education; information technology in teaching and learning system; innovations in education; searching for information in health science education; ; developing a course via learning management system; using the application software for teaching and research in health science education |
ศรกส ๕๔๗
|
การประกันคุณภาพการศึกษาในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 547
|
Quality Assurance in Health Science Education | |
หลักการประกันคุณภาพ มาตรฐานการตรวจประเมินสถาบันการศึกษา มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ การประเมินหลักสูตรตามเกณฑ์ของสหพันธ์โลกสำหรับแพทยศาสตรศึกษา การประกันคุณภาพตามเกณฑ์เครือข่ายมหาวิทยาลัยในเอเซีย จริยธรรมในการประกันคุณภาพหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ Principles of quality assurance; program evaluation standards; Thai qualifications framework for higher education; Thailand Quality Award; education criteria for performance excellence; World Federation for Medical Education standards for program evaluation; Asean University Network quality assurance; ethical issues in quality assurance in health science programs |
ศรกส ๕๔๘
|
การพัฒนาอาจารย์ทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 548
|
Faculty Development in Health Science Education | |
หลักการพื้นฐานของการพัฒนาอาจารย์ การออกแบบหลักสูตรพัฒนาอาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพและการนำหลักสูตรไปใช้ รูปแบบการสร้างนักการศึกษาสำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรพัฒนาอาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ การจัดโครงสร้างขององค์กรเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ การเลื่อนตำแหน่งวิชาการในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ ประเด็นทางจริยธรรมในการพัฒนาอาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ Basic principles of faculty development; designing and implementing faculty development curriculum in health science schools; various approaches in developing educators for health science programs; evaluation of the effectiveness of faculty development program in health science schools; organizational structure to support faculty development in health science schools; academic promotion in health science schools; ethical issues in faculty development in health science schools |
ศรกส ๕๔๙
|
ภาวะผู้นำกับการจัดการองค์กรทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 549
|
Leadership and Organization in Health Science Education | |
หลักการพื้นฐานของภาวะผู้นำ บทบาทของผู้นำกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง ลักษณะของผู้นำ การเจรจาต่อรอง ความยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลง หลักการพื้นฐานของการจัดการองค์กร การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การปฏิรูปทางเทคโนโลยี การประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับภาวะผู้นำและการจัดการองค์กรในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ Basic principles of leadership; the roles of leaders and the change processes; leadership styles; negotiation; sustainability of changes; basic principles of organization management; human resources management; technology transformation; applications of knowledge of leadership and organization in health science education |
ศรกส ๕๕๐
|
การจัดประสบการณ์ทางคลินิกและการสะท้อนความคิด | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 550
|
Clinical Experience Management and Reflection | |
พฤติกรรม และกระบวนการทำงานของอาจารย์ และนักวิชาการศึกษา ในการจัดการสอน การวัดผล หรือจัดการหลักสูตรของนักศึกษาชั้นคลินิกหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การเขียนทบทวนประสบการณ์ที่ได้รับ Behaviors and work processes of teachers and educators in teaching, assessing, or managing a curriculum of clinical students in a health science program; writing reflection of experiences |
ศรกส ๕๕๑
|
ทักษะการสื่อสารพื้นฐานในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 551
|
Basic Communication Skills in Health Science Programs | |
หลักการ ทฤษฎี กระบวนการของการสื่อสาร (อวัจนภาษาและ วจนภาษา) การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล การติดต่อสื่อสารในองค์กร การพัฒนาความตระหนักรู้ในตนเองและการเข้าใจผู้อื่น ทักษะในการสื่อสาร ความกล้าแสดงออกความคิดเห็นต่างอย่างสร้างสรรค์ การสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ การสื่อสารเพื่อจัดการความขัดแย้ง การนำเสนอข้อมูลสู่สาธารณชน การบันทึกรายงานการประชุม Principles, theories, and processes of communication (verbal and non-verbal); interpersonal communication, organizational communication; development of self-awareness and empathy; communication skills; assertiveness, Collaboration, conflict management, public presentation, recording of meeting |
ศรกส ๕๕๒
|
นวัตกรรมการศึกษาในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๑ (๑-๐-๒) |
SIHE 552
|
Educational Innovations in Health Science Education | |
แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้นวัตกรรมการศึกษาในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หลักการออกแบบระบบและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา การประยุกต์และบูรณาการนวัตกรรมการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนการสอน การบริหารงานด้านนวัตกรรมการศึกษา แนวโน้มนวัตกรรมการศึกษา Concepts, principles and theories related to educational innovation in health science education; principles of instructional system design and development of educational innovation; applying and integrating educational innovations for teaching and learning; managing educational innovations; educational innovation trends |
ศรกส ๕๕๓
|
การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๑ (๑-๐-๒) |
SIHE 553
|
Transformative Learning in Health Science Education | |
นิยามของการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการของประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เครื่องมือจัดการเรียนรู้ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในบริบทของวิทยาศาสตร์สุขภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการเบื้องต้น Definitions of transformative learning; related learning theories; processes of the transformative learning experience; learning tools; transformative learning in health science education context; introduction to action research |
ศรกส ๕๕๔
|
จิตวิทยาในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๑ (๑-๐-๒) |
SIHE 554
|
Psychology in Health Science Education | |
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความวิตกกังวล ความเครียด การตรวจสอบพฤติกรรมทุจริตในการสอบ การวัดทางจิตวิทยา การวัดและวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบวัดบุคลิกภาพ และทัศนคติ ความผิดพลาดของคะแนนที่เกิดจากผู้ให้คะแนน แนวทางในการตรวจสอบและลดความผิดพลาดของคะแนนที่เกิดจากผู้ให้คะแนน Behavior change, anxiety, stress; the detection of cheating on tests; psychological measurement; the measurement and data analysis from personality and attitude tests; rater errors; the detection and reduction of rater errors |
ศรกส ๕๕๕
|
การวัดผลทางการศึกษาขั้นสูง | ๑ (๑-๐-๒) |
SIHE 555
|
Advanced Educational Measurement | |
การสร้างมาตรวัด และการจัดบรรทัดฐาน การเชื่อมโยงและการเทียบคะแนน ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ โมเดลชนิดสองค่า โมเดลชนิดพหุวิภาค การทดสอบเพื่อคัดเลือกเข้า การทดสอบเพื่อให้ใบอนุญาต และ ประกาศนียบัตร Scaling and norming; linking and equating; item response theory, binary models, polytomous models; Admission testing; testing for licensure and certification |
วิทยานิพนธ์
ศรกส ๖๙๘
|
วิทยานิพนธ์ | ๑๒ (๐-๓๖-๐) |
SIHE 698
|
Thesis | |
การกำหนดโครงการวิจัยทางการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การดำเนินการการวิจัยอย่างมีจริยธรรม การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ผลงานวิจัย การแปลผลวิจัยและรายงานผลงานวิจัยในรูปแบบวิทยานิพนธ์ การนำเสนอและการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการมาตรฐาน หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการ จริยธรรมในการเขียนรายงานและการนำเสนอสิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัย Identifying a research project in health science education; conducting research with concern of research ethics; Data collection, analysis, interpretation of the result and report the result in terms of thesis. Presenting and publishing research in standard journals or a conference’s proceedings; Ethical practice in writing a report and presenting the research findings |
สารนิพนธ์
ศรกส ๖๙๗
|
สารนิพนธ์ | ๖ (๐-๑๘-๐) |
SIHE 597
|
Thematic Paper | |
การกำหนดหัวข้อโครงการทางการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การดำเนิน การโครงการอย่างมีจริยธรรม การเขียนและการนำเสนอรายงานโครงการ จริยธรรมสำหรับการนำเสนอและการเผยแพร่รายงาน Identifying project proposals in health science education; conducting a project with concern of ethics, writing and presenting project reports, ethics for presenting and publishing reports |
รูปแบบการเรียน
รูปแบบการเรียน
1. เรียนนอกเวลาราชการ ตามกำหนดการในตารางสอนที่แสดงด้านล่าง
2. เลือกเรียนได้แบบเรียนในห้องเรียน (face-to-face classroom) หรือทางไกล (online) ก็ได้
2.1 การเรียนแบบ face-to-face การเรียนในห้องเรียน 506 อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 5 ในเวลาเรียนตามตารางสอน
2.2 การเรียนแบบ online มี 2 รูปแบบ คือ
• แบบ Synchronous เวลาเรียนต้องเรียนพร้อมเพื่อนที่เรียนในห้องเรียนในรูปแบบ real time โดยมีวิธีการวัดและประเมินผลหรือการเก็บคะแนนแบบเดียวกันกับเพื่อนๆ ในห้องเรียน (แบบ face to face)
• แบบ Asyncronous เรียนโดยการดู VDO ย้อนหลัง โดยมีวิธีการวัดและประเมินผลหรือการเก็บคะแนนในแต่ละคาบเรียนจะแตกต่างกันกับเพื่อนที่เรียน. ในห้องเรียน (แบบ face to face) ซึ่งอาจารย์จะให้ assignment และกำหนดส่งตาม timeline ที่กำหนด
การสมัคร
ผู้สนใจศึกษาหลักสูตรปริญญาโท วท.ม. สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ภาคพิเศษ) สามารถเลือกสมัครได้ 2 วิธีการ ดังนี้
1. ยินยอมให้หลักสูตรฯ ดำเนินการสมัครแทน
โดยผู้สมัครกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และ อัพโหลดเอกสาร (สำเนาปริญญาบัตร , สำเนาใบแสดงผลการศึกษา (transcript) , สำเนาบัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง , รูปถ่าย , หนังสือรับรองผลคะแนนภาษาอังกฤษ, หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)) ให้ครบถ้วน จากนั้นหลักสูตรฯ จะดำเนินการสมัครให้ท่านผ่านเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ตามรอบการสมัครที่เปิดรับ โดยเจ้าหน้าที่หลักสูตรฯ จะติดต่อกับท่านเพื่อให้ผู้สมัคร ยืนยันและชำระเงินค่าสมัครด้วยตัวเอง
หากท่านยินยอมให้หลักสูตรฯ สมัครแทน กรุณาคลิกปุ่มด้านล่าง
2. ประสงค์สมัครด้วยตัวเอง
ท่านสามารถกรอกข้อมูลสมัครเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตร ผ่านเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล https://graduate.mahidol.ac.th/admission-thai/?page_name=sign-up (สามารถศึกษาคู่มือสมัครได้ที่ เมนู "ขั้นตอนการสมัคร")
ขั้นตอนการสมัคร
วิธีการสมัครเข้าเรียน
1. เข้าเว็บไซต์ https://graduate.mahidol.ac.th/thai/ (เลือกภาษาไทย) จากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม "สมัครเรียน"
2. ระบบจะแสดงหน้าแบบฟอร์มการสร้าง Account ให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน และกด Sign Up
3. หลักจากสมัครสมาชิกเสร็จแล้ว ระบบจะแสดงข้อความแจ้งเตือนขึ้นมา ให้ผู้สมัครทำการ Login เข้าสู่ระบบ
4. ภาพตัวอย่างหลังจาก Login เข้าสู่ระบบแล้ว ระบบจะให้กรอกใบสมัคร
ให้ผู้สมัครเลือกหลักสูตร ดังตัวอย่างด้านล่างนี้
ระดับ = ระดับปริญญาโท
คณะ = คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
หลักสูตร = 2043MS00 : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ภาคพิเศษ)
ค่าลงทะเบียนและทุนการศึกษา
ประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่ายระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับนักศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2567 >>> คลิกอ่านประกาศ
ทั้งนี้ บุคลากรภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถเขียนโครงการเพื่อขอรับทุนของคณะฯ ได้
รายละเอียดการขอทุน
สำหรับเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน https://www4.si.mahidol.ac.th/th/division/hr/sds/
สำหรับอาจารย์และผู้ช่วยอาจารย์ https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/academics/page_detail.asp?id=26
ทุนการศึกษา (จากฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) https://www.sirirajgrad.com/ทุนการศึกษา/
สำหรับบุคลากรภายนอกคณะฯ สามารถขอรับทุนการศึกษาได้ โดยติดต่อสอบถามเรื่องการขอทุนการศึกษาได้ที่
คุณรัตนสุดา โทร. 02 419 6637 หรือ E-mail :
คลิกเพื่อดาวน์โหลดตารางสอนเทอม 1 ปีการศึกษา 2567
(5 ส.ค.- 29 พ.ย. 67)
คลิกเพื่อดาวน์โหลดตารางสอนเทอม 2 ปีการศึกษา 2567
(6 ม.ค.- 20 พ.ค. 68)
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณรัตนสุดา โทร. 02 419 5193