เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าศึกษาใน
- รายละเอียดหลักสูตร
- รายวิชาที่เปิดสอน
- รูปแบบการเรียน
- ขั้นตอนการสมัคร
- ค่าลงทะเบียนและทุนการศึกษา
- ตารางสอน
รายละเอียดหลักสูตร
หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตร 1 ปี)
(Certification of Health Science Education)
หลักสูตรนี้เป็นรายวิชาที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเปิดสอนให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษา โดยเป็นการเรียนร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งจัดสอนนอกเวลาราชการ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจทำงานเกี่ยวกับการจัดหลักสูตร จัดการเรียนการสอน หรือการประเมินผล นักศึกษาแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่นๆ
▶ ระยะเวลาเรียนของหลักสูตร
ระยะเวลาเรียนปกติใช้เวลาประมาณ 1 ปีการศึกษา
ภาคเรียนที่ 1 ― เดือนสิงหาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2567
|
ภาคเรียนที่ 2 ― เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2568
|
ผู้เรียนสามารถขยายระยะเวลาการเรียนได้ตามความเหมาะสม โดยเลือกกระจายการลงทะเบียนเรียนรายวิชาตามความต้องการ
(สามารถดูรายวิชาที่เปิดสอนได้ที่ tab รายวิชาที่เปิดสอน)
▶ เวลาเรียน
เรียนนอกเวลาราชการ (ตามตารางสอน)
วัน | เวลา |
วันจันทร์ - ศุกร์ | 17.00 - 20.00 น. |
วันเสาร์ | 9.00 - 12.00 น. และ 13.00 - 16.00 น. |
สามารถเลือกเรียนในห้องเรียน หรือ เรียนทางไกลผ่านระบบ Online ก็ได้
▶ กำหนดการรับสมัคร
หลักสูตรฯ เปิดรับสมัคร 2 รอบ
รอบที่ 1 | วันที่ 10 มิ.ย. - 26 ก.ค. 2567 |
รอบที่ 2 | วันที่ 1 พ.ย. - 13 ธ.ค. 2567 |
▶ คุณสมบัติผู้สมัคร
บุคคลทั่วไป จบการศึกษาปริญญาตรี หรือสูงกว่าปริญญาตรี สาขาวิชาใดก็ได้
▶ การประเมินผลเพื่อสำเร็จการศึกษา
✓ ทำการศึกษาครบทั้ง 9 modules
✓ คะแนนประเมินผลการเรียนในทุก module ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
✓ ผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive examination)
▶ โปสเตอร์
รายวิชาที่เปิดสอน
▶ รายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด 9 Modules
ภาคการศึกษาที่ 1
ระยะเวลา 4 เดือน (เดือนสิงหาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน 2567)
Module 1 | หลักการพื้นฐานงานวิจัยทางการศึกษา |
Module 2 | การเรียนรู้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Module 3 | หลักการพื้นฐานการวัดผลการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Module 4 | พื้นฐานการพัฒนาและประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Module 9 | วิธีการสอนในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
ภาคการศึกษาที่ 2
ระยะเวลา 4 เดือน (เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2568)
Module 5 | วิธีการวิจัยทางการศึกษา |
Module 6 | ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Module 7 | วิธีวัดผลการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Module 8 | แนวทางการพัฒนาและประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
คำอธิบายรายวิชา
▶ Module 1
ศรกส ๕๓๑
|
หลักการพื้นฐานงานวิจัยทางการศึกษา | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 531
|
Basic Principles of Educational Research | |
แนวคิดพื้นฐานของการวิจัยทางการศึกษา การกำหนดปัญหาวิจัย คำถามวิจัย สมมติฐานทางการวิจัย ประเด็นทางจริยธรรมในการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ลักษณะของงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัย ความเที่ยง ความตรง การเขียนโครงการวิจัย Basic concepts of educational research; defining research problems, research questions; research hypotheses; ethical issues in research; literature review; population and samples; characteristics of quantitative and qualitative research; research instrumentation; validity, reliability; research proposal |
▶ Module 2
ศรกส ๕๓๒
|
การเรียนรู้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 532
|
Learning in Health Science Education | |
หลักการเรียนรู้และการรู้คิด พฤติกรรมนิยม การประมวลข้อมูล การรู้คิด ความจำ เชาวน์ปัญญา การเรียนรู้อย่างมีความหมาย การรู้คิดอย่างมีบริบท พัฒนาการด้านการรู้คิดและองค์ความรู้ การเรียนรู้ทางสังคม การเรียนรู้จากประสบการณ์ การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ในการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การสืบค้นและประเมินคุณค่าบทความวิชาการและงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ Principles of learning and cognition, behaviourism, cognitive information processing, memory, intelligence, meaningful learning, situated cognition, cognitive and knowledge development, social learning, experiential learning; applications of learning theories to teaching health science programs; searching and evaluating academic articles and research in the science of learning. |
▶ Module 3
ศรกส ๕๓๓
|
หลักการพื้นฐานการวัดผลการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 533
|
Basic principles of assessment in Health Science Programs | |
แนวคิดพื้นฐานของการวัดผลในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ เกณฑ์ของการวัดผลที่มีคุณภาพ การวัดผลแบบระหว่างภาคและปลายภาค ความตรง ความเที่ยง ผลการเรียนรู้ที่ต้องวัดในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ระดับของการวัดผลในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิธีการวัดผลที่ใช้โดยทั่วไปในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อประเมินระดับผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน การสอบข้อเขียน จริยธรรมในการประเมินผล การสืบค้นและประเมินคุณค่าบทความวิชาการทางการวัดผล การนำเสนอข้อมูลงานวิจัยทางการวัดผล Basic concepts of assessment in health science programs; the quality criteria for good assessment, formative and summative assessment; validity, reliability ; learning outcomes in health science programs; assessment levels in health science programs; assessment methods commonly used in health science programs to assess outcomes at various levels; written examination; ethical issues in assessment; searching and evaluation of literature in assessment; presentation of research in assessment. |
▶ Module 4
ศรกส ๕๓๔
|
พื้นฐานการพัฒนาและประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 534
|
Basics in curriculum Development and Evaluation of Health | |
แนวคิดพื้นฐานของการออกแบบหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ขั้นตอนพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การระบุปัญหาและการประเมินความต้องการสำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การนำหลักสูตรไปใช้ หลักการพื้นฐานของการประเมินหลักสูตร ปัญหาและความผิดปกติต่างๆ ของหลักสูตร การสืบค้นและประเมินคุณค่าบทความวิชาการทางหลักสูตร Basic concepts of curriculum design for health science programs; basic steps in health science curriculum development; problem identification and needs assessment for health science programs; curriculum goals and objectives of health science programs; educational strategies in health science programs; implementing the curriculum; basic principles of curriculum evaluation; problems and abnormalities of curriculum; searching and evaluating academic articles in the curriculum. |
▶ Module 5
ศรกส ๕๓๕
|
วิธีการวิจัยทางการศึกษา | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 535
|
Educational Research Methods | |
ปรัชญาพื้นฐานของการทำวิจัยด้วยวิธีการเชิงคุณภาพและวิธีการเชิงปริมาณ รูปแบบวิธีการวิจัยในการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงทดลอง การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ การวิจัยเปรียบเทียบสาเหตุ การวิจัยด้วยแบบสอบถาม สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอนุมาน รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทฤษฎีฐานราก เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตภาคสนาม การวิเคราะห์เนื้อหา Philosophical foundations of qualitative and quantitative research approaches; research methodologies in quantitative research, experimental research, correlational research, causal-comparative research, survey research; descriptive and inferential statistics; qualitative research methodologies, ethnographic research, historical research, action research, grounded theory; qualitative research techniques, interview, focus group, field observation, content analysis. |
▶ Module 6
ศรกส ๕๓๖
|
ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 536
|
Learning Theories for Health Science programs | |
พื้นฐานทางชีววิทยาของการเรียนรู้และการรู้คิด แรงจูงใจ และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ทฤษฏีการสอนของกานเย่ การเรียนรู้จากการตั้งใจปฏิบัติ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ทฤษฎีพหุปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ พัฒนาการทางจริยธรรม หลักการพื้นฐานของสื่อการเรียนรู้ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ในการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ Biological basis of learning and cognition, motivation and self-efficacy; Gagne’s Theory of Instruction, deliberate practice, constructivism; The 21st Century Skills; Theory of Multiple Intelligences; emotional intelligence; moral development; basic principles of the learning media in health science programs; applications of learning theories in teaching health science programs |
▶ Module 7
ศรกส ๕๓๗
|
วิธีวัดผลการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 537
|
Assessment Methods in Health Science Programs | |
หลักการและกระบวนการเกี่ยวกับการวัดผลขั้นสูง รูปแบบและวิธีการวัดผลที่มีใช้ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การสอบปากเปล่า การสอบปฏิบัติการรายสถานี การสอบทักษะทางคลินิกรายสถานี การสอบรายยาว แฟ้มสะสมผลงาน การประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน การประเมินในที่ปฏิบัติงานจริง กิจกรรมทางวิชาชีพที่ไว้ใจให้ผู้เรียนปฏิบัติ การแปลผลและรายงานคะแนนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การตัดเกรดในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ปัญหาทางจริยธรรมในการจัดสอบในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ Principles and processes of advanced assessment; formats and assessment methods used in health science programs; oral examination, objective structured practical examination, objective structured clinical examination, long case examination, portfolio; performance assessment, workplace-based assessment; entrustable professional activities; interpreting and reporting scores in health science programs; grading in health science programs; ethical problems in test administration in health science programs. |
▶ Module 8
ศรกส ๕๓๘
|
แนวทางการพัฒนาและประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 538
|
Approaches in Curriculum Development and Evaluation of Health Science Programs | |
กระบวนการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การติดตามกระบวนการเปลี่ยนหลักสูตร มุมมองแบบต่างๆ ของการประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การประเมินโดยอิงวัตถุประสงค์ การประเมินโดยอิงตามการบริหาร การประเมินโดยอิงจากลูกค้า การประเมินโดยอิงจากความเชี่ยวชาญ การประเมินโดยอิงจากมุมมองตรงกันข้าม การประเมินโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย มาตรฐานการประเมินหลักสูตร กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ จริยธรรมในการประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ The process of curricular changes in health science programs; administration of health science programs; monitoring curricular changes; alternative views of health science program evaluation, objectives-oriented evaluation, management-oriented evaluation, consumer-oriented evaluation, expertise-oriented evaluation, adversary-oriented evaluation, participant-oriented evaluation; program evaluation standards, Thai qualifications framework for higher education, education criteria for performance excellence; ethical issues in health science program evaluation. |
▶ Module 9
ศรกส ๕๓๙
|
วิธีการสอนในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ๒ (๒-๐-๔) |
SIHE 539
|
Teaching Methods in Health Science Education | |
หลักการของการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การสอนบรรยาย การเรียนในห้องปฏิบัติการ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก การเรียนกลุ่มย่อย การสอนข้างเตียง การควบคุมการฝึกปฏิบัติในชั้นคลินิก การสอนในแผนกผู้ป่วยนอก การตรวจเยี่ยมผู้ป่วย การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้จากการทำโครงการ ห้องเรียนกลับทาง การเรียนรู้ในชุมชน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับวิธีการสอนแบบต่างๆ ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ คุณธรรมของผู้สอน ประเด็นทางจริยธรรมในการเรียนรู้จากผู้ป่วย Principles of teaching in health science programs; lectures, laboratory study, problem-based learning, small group teaching, bedside teaching, clinical supervision, ambulatory teaching, ward round, student feedback; team-based learning, project-based learning, flipped classroom, learning in the community; development of learning media for various teaching methods in health science programs; teachers’ moral, ethical issues in learning from patients. |
รูปแบบการเรียน
▶ รูปแบบการเรียน
เรียนนอกเวลาราชการ ตามกำหนดการในตารางสอน (สามารถดูตารางสอน ภาคเรียนที่ 2 ได้เร็วๆ นี้)
โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ระหว่างการเรียนในห้องเรียน (face-to-face classroom) หรือการเรียนทางไกล (online) ก็ได้
2.1 การเรียนแบบ face-to-face คือ การเรียนในห้องเรียนตามตารางสอนของรายวิชาที่กำหนด
2.2 การเรียนแบบ online มี 2 รูปแบบ คือ
• แบบ Synchronous คือ เวลาเรียนต้องเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบ real time ตามตารางสอนกำหนด โดยมีวิธีการวัดและประเมินผลเก็บคะแนน ณ วันที่เรียนตามตารางสอนของรายวิชานั้นๆ
• แบบ Asyncronous คือ เรียนโดยการดู VDO ย้อนหลัง โดยวิธีการวัดและประเมินผลหรือการเก็บคะแนนในแต่ละคาบเรียนจะแตกต่างกันเพื่อนที่เรียนแบบ Synchronous online ซึ่งอาจารย์แต่ละรายวิชาจะให้ Assignment และกำหนดส่งตาม timeline ที่กำหนดจริง
ขั้นตอนการสมัคร
▶ วิธีการสมัครเข้าเรียน
ผู้สนใจศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร (หลักสูตรระยะสั้น) สามารถเลือกสมัครได้ 2 วิธีการ ดังนี้
1. ยินยอมให้หลักสูตรฯ ดำเนินการสมัครแทน
ยินยอมให้หลักสูตรฯ ดำเนินการสมัครแทน เป็น ผู้สมัครกรอกข้อมูล และ อัพโหลดเอกสาร (สำเนาปริญญาบัตร , สำเนาทรานสคริปต์ , สำเนาบัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง , รูปถ่าย , ประสบการณ์การทำงาน) ให้ครบถ้วน เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว เจ้าหน้าที่หลักสูตรจะดำเนินการสมัครกับบัณฑิตวิทยาลัยแทนท่าน สามารถลงทะเบียนได้ ตั้งแต่ วันที่ 1 พ.ย. - 13 ธ.ค. 2567 เท่านั้น และหลักสูตรฯ จะติดต่อกับท่านอีกครั้งเพื่อให้ท่านดำเนินการกดยืนยันการลงทะเบียนด้วยตัวท่านเอง
หากท่านยินยอมให้หลักสูตรฯ สมัครแทน กรุณาคลิกปุ่มด้านล่าง
2. กรณีผู้เรียน เคยผ่านการอบรมระยะสั้น
สำหรับผู้ที่เคยผ่านอบรมระยะสั้น ขอให้ท่านแจ้งความประสงค์ในการสมัครเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ผ่าน google form โดยกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบทุกช่อง
หากท่านประสงค์สมัครเอง โดยให้หลักสูตรฯ แจ้งเตือนกรุณาคลิกปุ่มด้านล่าง
ค่าลงทะเบียนและทุนการศึกษา
อัตราค่าลงทะเบียนหลักสูตรประกาศนียบัตรการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ตลอดหลักสูตร จำนวน 85,000 บาท
(ค่าลงทะเบียนรายวิชา 81,000 บาท และค่าธรรมเนียมการศึกษา 4,000 บาท)
ขั้นตอนการสมัครและชำระเงิน
1. สมัครรายวิชาสำหรับบุคคลทั่วไป (บัณฑิตวิทยาลัย) ตามอัตราค่าหน่วยกิต
2. ลงทะเบียน / ชำระค่าธรรมเนียม (Sirirajconfernece)
การลงทะเบียนเรียนใน Module 1 – 9 เป็นการลงทะเบียนเรียนผ่านโครงการรับบุคคลทั่วไปเข้าศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา ผ่านระบบลงทะเบียนของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
อัตราค่าลงทะเบียนเป็นไปตามประกาศอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไปเข้าศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2562
คลิกเพื่อดาวน์โหลดตารางสอนเทอม 1 ปีการศึกษา 2567
(5 ส.ค.- 29 พ.ย. 67)
หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณรัตนสุดา โทร. 02 419 5193