เปิดหลักสูตรฯ
-
เริ่มมีการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ภาคพิเศษ) โดยเป็นจัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ ซึ่งรูปแบบการสอนจะเป็นการเรียนในห้องเรียนแบบเผชิญหน้า (face-to-face) เป็นหลัก และยังได้เปิดโครงการเรียนล่วงหน้า ซึ่งผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเรียนเพื่อเก็บสะสมหน่วยกิตไว้สำหรับเรียนต่อในระดับปริญญาโทในอนาคตได้
เปิดการเรียนทางไกลแบบ Asynchronous
-
หลักสูตรฯ เริ่มปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยเพิ่มรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลแบบ Asynchronous online เพื่อลดข้อจำกัดเรื่องเวลาและระยะทางให้กับผู้สนใจเข้าศึกษาที่ไม่สามารถเข้ามาเรียนในห้องเรียนแบบ Face to Face ได้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การมอบหมายงาน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะดำเนินการผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งของหลักสูตรฯ
เปิดการเรียนทางไกลแบบ Synchronous และ Short Courses
-
หลักสูตรฯ ได้มีการพัฒนาอย่างเนื่อง เริ่มมีรูปแบบการเรียนการสอนทางไกลแบบ Synchronous เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาที่ไม่สามารถเข้ามาเรียนในห้องเรียนแบบ Face to Face ได้ แต่ต้องการเรียนพร้อมกับผู้เรียนที่เรียนในห้องเรียนแบบ face-to-face นอกจากนี้ หลักสูตรฯ ได้เปิดเป็นหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course) สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเฉพาะบางรายวิชา โดยที่ไม่ประสงค์จะลงเรียนแบบ Full course เพื่อเก็บสะสมหน่วยกิตไว้สำหรับเรียนต่อในระดับปริญญาโทในอนาคตได้
ประเมินคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUNQA ภายในองค์กร
-
หลักสูตรฯ เริ่มมีนักศึกษาสำเร็จการศึกษา จึงได้ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของบัณฑิต และกระบวนการรับฟังเสียงจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยหลักสูตรฯ ได้รับการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUNQA ซึ่งเป็นการตรวจประเมินภายในองค์กรทุกปี
ประเมินคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUNQA ในระดับมหาวิทยาลัยมหิดล
-
หลักสูตรฯ มีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างเนื่อง และได้รับการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUNQA ในระดับมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบกับหลักสูตรฯ ได้เปิดการเรียนการสอนมาจนครบวงรอบ 5 ปี จึงได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรฯ (ฉบับปรับปรุง)
เริ่มใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุง, Microcredit, หลักสูตรประกาศนียบัตร, หลักสูตร 61
-
1) การเรียนแบบสะสมหน่วยกิตย่อย (Microcredit) โดยผู้เรียนสามารถนำผลการเรียนรู้ที่ได้จากหัวข้อที่จัดอบรมโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มาเทียบเคียงกับผลการเรียนรู้ในบางหัวข้อของรายวิชาในหลักสูตรฯ เพื่อเทียบโอนหน่วยกิตบางส่วนได้
-
2) การเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (หลักสูตร 1 ปี) ซึ่งผู้เรียนจะต้องทำการศึกษารายวิชาจำนวน 9 รายวิชา (modules) โดยเรียนร่วมกับนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และต้องผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive examination) จึงจะสำเร็จการศึกษา และจะได้รับประกาศนียบัตรจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยสามารถนำหน่วยกิตที่เรียนไปเทียบโอนเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาโทต่อไปในอนาคตได้
-
3) หลักสูตร 6 ยกกำลัง 1 โดยเป็นโครงการร่วม 2 หลักสูตร ระหว่างหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กับ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ภาคพิเศษ) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยนักศึกษาแพทย์ที่สมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้ เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัตร 2 ใบ คือ แพทยศาสตรบัณฑิต และ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ