หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าศึกษาหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course) เรื่อง |
SIHE 539 : Teaching Methods in Health Science Education
การสอนในโรงเรียนแพทย์และโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ
มีหลากหลายรูปแบบ เราควรสอนอย่างไร ในแต่ละรูปแบบ
เปิดเรียนวันที่ 7 สิงหาคม 2566
เปิดรับสมัครตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 กรกฎาคม 2567
เรียนนอกเวลาราชการ จ.-ศ. เวลา 17.00 - 20.00 น. และ ส. เวลา 09.00 - 12.00 น. / 13.00 - 16.00 น.
|
เลือกรูปแบบการเรียนได้! ไม่ว่าจะเป็นเรียนในห้องเรียน Face to face /เรียนออนไลน์แบบ Synchronous real-time ถาม-ตอบได้ทันที |
หรือจะเลือกเรียนแบบ Asynchronous เรียนออนไลน์ย้อนหลังด้วยตัวเอง ก็ทำได้ | |
นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีก็สามารถเรียนได้ |
- รายละเอียดหลักสูตร
- คำอธิบายรายวิชา
- รูปแบบการเรียน
- ค่าลงทะเบียน
- การสมัคร
- ขั้นตอนการสมัครด้วยตนเอง
- การขอใบรับรองการชำระเงิน
- ตารางสอน
ไม่ว่าท่านจะทำอาชีพอะไร ไม่ว่าท่านจะจบวุฒิการศึกษาใด ไม่ต้องสอบข้อเขียน
ไม่ต้องสอบสัมภาษณ์เพื่อเข้าเรียน ไม่ต้องไปสอบภาษาอังกฤษเพื่อเอามายื่นในการสมัคร
ขอแค่มีใจรักด้านการศึกษา ก็สามารถเข้าศึกษาหลักสูตรนี้ได้
คุณสมบัติผู้สมัครสอบ
-บุคคลทั่วไป
-นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี
เงื่อนไขการผ่านหลักสูตร
1. เข้าเรียนไม่ต่ำกว่า 80% ของระยะเวลาเรียนทั้งหมด
2. ส่งรายงานตามข้อกำหนด
3. สอบปลายภาค
สิ่งที่ท่านจะได้รับหลังจากสำเร็จการศึกษา
1. ได้รับประกาศนียบัตร หลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course) สามารถนำไปปรับตำแหน่งหน้าที่ได้(ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหน่วยงานของท่าน)
2. ได้รับ transcript หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้จบหลักสูตร สามารถนำหน่วยกิตที่ได้ ไปใช้เทียบโอนหน่วยกิตเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหิดลได้
คำอธิบายรายวิชา
ศรกส ๕๓๙ : วิธีการสอนในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ๒ (๒-๐-๔)
SIHE 539 : Teaching Methods in Health Science Education
หลักการของการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การสอนบรรยาย การเรียนในห้องปฏิบัติการ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก การเรียนกลุ่มย่อย การสอนข้างเตียง การควบคุมการฝึกปฏิบัติในชั้นคลินิก การสอนในแผนกผู้ป่วยนอก การตรวจเยี่ยมผู้ป่วย การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้จากการทำโครงการ ห้องเรียนกลับทาง การเรียนรู้ในชุมชน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับวิธีการสอนแบบต่างๆ ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ คุณธรรมของผู้สอน ประเด็นทางจริยธรรมในการเรียนรู้จากผู้ป่วย
Principles of teaching in health science programs; lectures, laboratory study, problem-based learning, small group teaching, bedside teaching, clinical supervision, ambulatory teaching, ward round, student feedback; team-based learning, project-based learning, flipped classroom, learning in the community; development of learning media for various teaching methods in health science programs; teachers’ moral, ethical issues in learning from patients.
รูปแบบการเรียน
เรียนนอกเวลาราชการ มีให้เลือก 3 รูปแบบ ดังนี้
1. Face to face คือ เรียนในห้องเรียนที่คณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2. Synchronous online คือ เวลาเรียนต้องเข้าเรียนตามตารางสอนในรูปแบบ real time ตามตารางสอนกำหนด โดยมีวิธีการวัดและประเมินผลเก็บคะแนน ณ วันที่เรียนตามตารางสอนของรายวิชานั้นๆ
3. Asynchronous online คือ เรียนโดยการดู VDO ย้อนหลัง โดยวิธีการวัดและประเมินผลหรือการเก็บคะแนนในแต่ละคาบเรียนจะแตกต่างกันเพื่อนที่เรียนแบบ Synchronous online ซึ่งอาจารย์แต่ละรายวิชาจะให้ Assignment และกำหนดส่งตาม timeline ที่กำหนดจริง
อัตราค่าลงทะเบียน 9,000 บาทต่อ 1 หลักสูตร หากเลือกหลักสูตรอื่นเพิ่มเติม จะชำระค่าลงทะเบียนเพิ่มอีก 9,000 บาทต่อหลักสูตร (ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับบุคลทั่วไปเข้าศึกษารายวิชาระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ ค่าบำรุงการศึกษา, ค่าบำรุงบัณฑิตวิทยาลัย และค่าบริการ Internet)
อ่านรายละเอียดค่าลงทะเบียนหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course) คลิกที่นี่
โดยผู้สนใจสามารถเลือกกี่หลักสูตรก็ได้ ตามรายวิชาที่เปิดสอน ดังนี้
- SIHE 535 วิธีการวิจัยทางการศึกษา
- SIHE 536 การเรียนรู้ในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- SIHE 537 วิธีวัดผลการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- SIHE 538 แนวทางการพัฒนาและประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- SIHE 542 สถานการณ์จำลองในการสอนและวัดผลในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- SIHE 545 สถิติพื้นฐานทางการศึกษา
- SIHE 547 การประกันคุณภาพการศึกษาในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ตัวอย่าง
หากท่านสนใจหลักสูตร “SIHE 535 วิธีการวิจัยทางการศึกษา” และ “SIHE 536 ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ” อัตราค่าลงทะเบียนที่ท่านต้องชำระคือ 9,000 + 9,000 = 18,000 บาท
ทั้งนี้ บุคลากรภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถเขียนโครงการเพื่อขอรับทุนของคณะฯ ได้
รายละเอียดการขอทุน
- สำหรับเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน คลิกที่นี่
- สำหรับอาจารย์และผู้ช่วยอาจารย์ คลิกที่นี่
** บุคลากรภายในคณะฯ ที่ต้องการขอทุนสามารถขอรับคำปรึกษาวิธีการเขียนโครงการเพื่อขอทุนการศึกษาได้ที่ คุณรัตนสุดา โสภวัฒนกุล โทร. 024196637 / 024199978 หรือ E-mail :
** สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถขอทุนการศึกษาได้ เฉพาะการเรียนแบบ Full Course เท่านั้น (เรียนเต็มหลักสูตร) ผู้สนใจสามารถอ่านรายละเอียดได้ คลิกที่นี่ เพื่ออ่านรายละเอียด Fullcourse
ผู้สนใจศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตร (หลักสูตรระยะสั้น) สามารถเลือกสมัครได้ 2 วิธีการ ดังนี้
1. ยินยอมให้หลักสูตรฯ ดำเนินการสมัครแทน
โดยผู้สมัครกรอกข้อมูล และ อัพโหลดเอกสาร (สำเนาปริญญาบัตร , สำเนาใบแสดงผลกรศึกษา (transcript) , สำเนาบัตรประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง , รูปถ่าย , หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน(ถ้ามี)) ให้ครบถ้วน จากนั้นหลักสูตรฯ จะดำเนินการสมัครให้ท่านผ่านเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. - 26 ก.ค. 2567 โดยเจ้าหน้าที่หลักสูตรฯ จะติดต่อกับท่านเพื่อให้ผู้สมัคร activate account (กรณีไม่เคยเป็นสมาชิก) และยืนยันการลงทะเบียนผ่านทาง E-mail ของท่านอีกครั้ง
หากท่านยินยอมให้หลักสูตรฯ สมัครแทน กรุณาคลิกปุ่มด้านล่าง
2. ประสงค์สมัครเองโดยให้หลักสูตรฯ แจ้งเตือน
ผู้สมัครทำการกรอกข้อมูลเบื้องต้น เมื่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัคร หลักสูตรฯ จะดำเนินการแจ้งเตือนให้ท่านสมัครผ่านเว็บไซต์ https://graduate.mahidol.ac.th/MAP-2021/login-general.php ต่อไป (สามารถศึกษาคู่มือสมัครได้ที่ แท็บขั้นตอนการสมัครด้วยตนเอง)
หากท่านประสงค์สมัครเอง โดยให้หลักสูตรฯ แจ้งเตือนกรุณาคลิกปุ่มด้านล่าง
ขั้นตอนการสมัครด้วยตนเอง
วิธีการสมัครเข้าเรียน (แบบสมัครด้วยตนเอง)
สมัครได้ตั้งแต่ วันที่ 1 ก.พ. - 26 ก.ค. 2567 ผ่านเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (https://graduate.mahidol.ac.th/MAP-2021/login-general.php)
การขอใบรับรองชำระเงิน
ขั้นตอนการขอใบรับรองการชำระเงิน / ใบรับรองการเข้าศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนหลักสูตร Short course ในระบบ Mahidol Apprenticeship Program Curriculum (MAP-C)
ตารางสอน
ศรกส 539 วิธีการสอนในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2 (1-2-3) หน่วยกิต
SIHE 539 Teaching Methods in Health Science Education
อาจารย์ผู้สอน ผศ. นพ.สุประพัฒน์ สนใจพาณิชย์ และทีมอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเปิดสอนแบบ Face to face / Synchronous online / Asynchronous online
ครั้งที่ |
วัน เดือน ปี |
เวลา |
หัวข้อ |
อาจารย์ผู้สอน |
1 |
ส. 7 กันยายน 2567 |
13.00-16.00 น. |
Introduction to teaching and learning methods |
ผศ. นพ.สุประพัฒน์ |
2 |
ส. 14 กันยายน 2567 |
13.00-16.00 น. |
Self-directed learning |
ผศ. นพ.สุประพัฒน์ |
3 |
ส. 21 กันยายน 2567 |
13.00-16.00 น. |
Teaching and learning in preclinical setting |
ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง |
4 |
ส. 28 กันยายน 2567 |
13.00-16.00 น. |
Problem-based learning |
ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง |
5 |
ส. 5 ตุลาคม 2567 |
13.00-16.00 น. |
Small group teaching |
ผศ. นพ.สุประพัฒน์ |
6 |
ส. 12 ตุลาคม 2567 |
13.00-16.00 น. |
Flipped classroom |
รศ. พญ.พรพรรณ |
7 |
พฤ. 24 ตุลาคม 2567 |
17.00-20.00 น. |
Team-based learning |
ผศ. นพ.สุประพัฒน์ |
8 |
ส. 26 ตุลาคม 2567 |
13.00-16.00 น. |
นำเสนองานกลุ่ม (face to face & synchronous online) |
ผศ. นพ.สุประพัฒน์ / ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง |
9 |
พฤ. 31 ตุลาคม 2567 |
17.00-20.00 น. |
Project-based learning |
ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง |
10 |
ส. 2 พฤศจิกายน 2567 |
13.00-16.00 น. |
Teaching and learning with simulation |
รศ. พญ.ธัชวรรณ |
11 |
พฤ. 7 พฤศจิกายน 2567 |
17.00-20.00 น. |
Teaching and learning in clinical setting |
ผศ. นพ.สุประพัฒน์ |
12 |
ส. 9 พฤศจิกายน 2567 |
13.00-16.00 น. |
Teaching non-technical skills |
รศ. พญ.กษณา |
13 |
พฤ. 14 พฤศจิกายน 2567 |
17.00-20.00 น. |
Transformative learning |
ผศ. นพ.ชยุติ |
14 |
ส. 16 พฤศจิกายน 2567 |
13.00-16.00 น. |
Online teaching and blended learning |
ผศ. ดร.วรวรรณ |
15 |
พฤ. 21 พฤศจิกายน 2567 |
17.00-20.00 น. |
นำเสนองานบุคคล (face to face & synchronous online) |
ผศ. นพ.สุประพัฒน์ / ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง |
16 |
ส. 23 พฤศจิกายน 2567 |
13.00-16.00 น. |
Seminar for Online learning (Asynchronous online group) |
ผศ. นพ.สุประพัฒน์ |
17 |
ส. 23 พฤศจิกายน 2567 |
18.30-20.30 น. |
สอบปลายภาค |
หมายเหตุ : ข้อมูลในตารางสอน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม