ในปัจจุบันมีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และการให้บริการทางการแพทย์ บริษัทใหญ่ ๆ ที่ไม่ปรับตัวบางบริษัทถึงขั้นต้องปิดกิจการ บุคลากรจำนวนมากในหลายองค์กรต้องออกจากงานที่ตนทำ เนื่องจากมีเทคโนโลยีหรือบุคลากรอื่นมาทำหน้าที่แทน ในยุคนี้โรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องทบทวนตนเองอย่างจริงจัง ว่าสิ่งที่ทำกันอยู่นั้น ควรได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง
จากบทความ Executive's talk เล่มแรก ฉบับที่ 1 ปี 2019 ในหัวข้อ Educational Disruption
รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Director
Bullying หรือการกลั่นแกล้ง เป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน ปัญหา Bullying ก็เกิดขึ้นในสังคมการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพเช่นกัน ในบทความนี้ ผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะชวนผู้อ่านทุกท่าน ทำความรู้จักกับ Academic bullying และช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหานี้กันครับ
จากบทความ How to stop! academic bullying in workplace โดย นพ.ปุญญภัทร มาประโพธิ์ และ นพ.ศรัณย์ชัย แพเจริญชัย ใน SHEE Journal ฉบับที่ 4 ปี 2022 หัวข้อ Practical points of workplace-based learning
นพ.ปุญญภัทร มาประโพธิ์
Teacher
มนุษย์มีความต้องการพื้นฐานในการมีความสุข และหลีกเลี่ยงประสบการณ์ที่เจ็บปวด ดังนั้น ความสุขจึงนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการมีสุขภาวะที่ดี (Well-being) ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน ในบทความนี้ ผมจะมาแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับความสุขและการประยุกต์ใช้หลัก Positive psychology ในการสร้างการเรียนรู้อย่างมีความสุขนะครับ
หนึ่งในบทความ SHEE Journal เล่มที่ 1 ปี 2022 เรื่อง Well-being in medical schools
นพ.วุฒิภัทร เอี่ยมมีชัย
Teacher
กิจกรรมนี้ จะช่วยทำให้นักศึกษาแพทย์เกิดความเข้าใจข้อจำกัดด้านบริบท มีความเมตตาเห็นใจเพื่อนมนุษย์ มีแรงบันดาลใจการเรียนรู้ชั้นคลินิก และจบไปเป็นแพทย์ใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนที่มีความสุขมากขึ้น ทุกข์น้อยลง และสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะแยกย้ายไปเรียนต่อเฉพาะทางตามเส้นทางของตนเอง
ค่ายหมอนอกรั้วโรงเรียนแพทย์ กับ SHEE Journal เล่มแรกของปี 2023
ค่ายหมอนอกรั้วโรงเรียนแพทย์