2 | 2 | 0 |
Journal Issue 2, 2024 Leadership training in health science school
Issue 2
30 June 2024
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ทางทีมงานจึงนำเสนอเนื้อหาใน theme: leadership training in health science schools โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้ในหมู่คณาจารย์ถึงความสำคัญของการสอนภาวะผู้นำ และสร้างความเข้าใจถึงแนวทางการสอนและการประเมินผู้เรียนในด้านภาวะผู้นำ โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นให้อาจารย์ช่วยกันสอนภาวะผู้นำ และหาแนวทางส่งเสริมการพัฒนาภาวะผู้นำในผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เนื้อหาในวารสารฉบับนี้ครอบคลุมตั้งแต่ แนวทางการสอนภาวะผู้นำในหลักสูตร เทคนิคการใช้สถานการณ์จำลอง (simulation) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาวะผู้นำ แนวทางการวัดผลสัมฤทธิ์ของการอบรมภาวะผู้นำ รวมไปจนถึงการพัฒนาภาวะผู้นำผ่านกิจกรรมนอกหลักสูตร (extracurricular activities) นอกจากนี้ทางทีมงานยังได้ไปสัมภาษณ์นักศึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อเสนอแนะในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ ใน column Students' voice และใน column Education movement ผมก็ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนภาวะผู้นำในบริบทของโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพไทย
4 | 2 | 2 |
Journal Issue 1, 2024 Multiple min-interview (MMI)
Issue 1
31 March 2024
Multiple min-interview เป็นรูปแบบการสัมภาษณ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างในต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการใช้รับนักศึกษาแพทย์ หรือการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน จึงถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากโครงการการฝึกอบรมใด สามารถจัดการสัมภาษณ์แบบ MMI ได้มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นแนวทางการสัมภาษณ์ที่เพิ่งได้รับความนิยมในบริบทประเทศไทย ทำให้ยังมีความเข้าใจที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการจัดสอบ MMI และส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรมากเกินความจำเป็น รวมไปถึงเกิดการสอบที่ไม่รัดกุม ทำให้คะแนนที่ได้รับจากการสัมภาษณ์ไม่มีมาตรฐานเท่าที่ควร
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “multiple mini-interiview in health science schools” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการสอบสัมภาษณ์แบบ MMI ตั้งแต่ความหมายของ MMI การออกแบบ บริหารจัดการรวมไปถึงการใช้ technology เพื่อจัดสอบ MMI เพื่อเป็นแนวทางการจัดสอบสัมภาษณ์แบบ MMI ให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร จึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่งไป
2 | 1 | 1 |
Journal Issue 4, 2023 Workplace-based Assessment (WPBA)
Issue 4
31 December 2023
Workplace-based assessment เป็นเครื่องมือประเมินผลที่มีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะนักเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นคลินิก ที่จะต้องพัฒนาตนเองให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ในสถานการณ์จริง แม้ว่าจะมีการใช้ในประเทศไทยเป็นเวลานานและในหลากหลักสูตร ในปัจจุบันยังพบปัญหาความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนำไปสู่ภาระที่มากเกินความจำเป็นสำหรับอาจารย์ และประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ไม่ดีเท่าไหร่ หากมีความเข้าใจเครื่องมือเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรฝึกอบรม อาจารย์ในหลักสูตร ผู้เรียนทุกคน รวมไปถึงผู้ป่วยในอนาคตที่ผู้เรียนจะได้ดูแลรักษาต่อไป
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “workpace-based assessment” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการประเมินผลด้วย workplace-based assessment ตั้งแต่ความสำคัญของการประเมิน การเลือกใช้เครื่องมือ ความสัมพันธ์กับ EPAs รายละเอียดของแต่ละเครื่องมือ ไปจนกระทั่งการสนับสนุนด้วย technology เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบระบบการใช้ workplace-based assessment ให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่งไป
3 | 0 | 3 |
Journal Issue 3, 2023 Team-based Learning in Health Science Education
Issue 3
30 Sep 2023
TBL : team-based learning เป็นหนึ่งในการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ ทำงานร่วมกันเป็นทีมฝึกทักษะการสื่อสาร และจัดเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ทรัพยากรไม่มาก จึงควรถูกส่งเสริมให้นำไปประยุกต์ใช้มากขึ้นในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากไม่เข้าใจในหลักการการออกแบบห้องเรียน team-based learning ที่เหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนไม่สามารถพัฒนาทักษะต่างๆได้อย่างเต็มที่
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “team-based learning” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการจัดห้องเรียน team-based learning ตั้งแต่เหตุผลในการนำมาใช้ การจัดกลุ่มผู้เรียน การสร้างแบบทดสอบ การประเมินผล รวมถึงการบริหารจัดการ เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบชั้นเรียน team-based learning ให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
1 | 1 | 0 |
Journal Issue 2, 2023 เรื่อง High Quality MCQs for health science education
Issue 2
30 Jun 2023
ข้อสอบปรนัย เป็นหนึ่งในรูปแบบการสอบที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องด้วยข้อดีหลายประการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบปรนัยที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ยังพบได้อยู่มาก และทำให้เกิดปัญหาการวัดผลที่ไม่แม่นยำและทำผู้สอนไม่สามารถแยกผู้เรียนในระดับความสามารถต่างๆออกจากกันได้ ดังนั้น การปรับปรุงให้ข้อสอบปรนัยมีคุณภาพที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่งและควรทำให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “High quality MCQs for health science education” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในจัดทำข้อสอบปรนัย ตั้งแต่เหตุผลในการใช้ การสร้างข้อสอบ จนถึงการวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อเป็นแนวทางการประเมินผลให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
1 | 0 | 1 |
Journal Issue 1, 2023 เรื่อง How to teach patient-centered care
Issue 1
31 Mar 2023
ผู้ป่วย ถือเป็นสมาชิกที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในทีมการรักษา แต่ทว่า จนถึงปัจจุบันทีมรักษาทางการแพทย์ก็มักจะละเลยความสำคัญในการดึงผู้ป่วยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมรักษาอยู่เสมอ จึงนำไปสู่ปัญหาระหว่างทีมแพทย์และผู้ป่วยซึ่งในปัจจุบันยิ่งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสร้างบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในอนาคตจึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าใจและนำหลักการการรักษาโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered care) ไปใช้ในการปฏิบัติงาน
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “How to teach patient-centered care” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการสอนให้ผู้เรียนดึงผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในทีมรักษา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
3 | 0 | 3 |
Journal Issue 4, 2022 เรื่อง Practical points of workplace-based learning
Issue 4
31 Dec 2022
การเรียนรู้ในโรงเรียนแพทย์และโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีประสบการณ์ส่วนที่สำคัญมากและถือเป็นลักษณะเฉพาะที่มีความพิเศษมากในการจัดการศึกษาคือ การเรียนรู้ในสถานที่ทำงาน (workplace) ซึ่งทุกวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องมีการจัดการเรียนการสอนในส่วนนี้จึงจะสามารถสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำงานในระบบสุขภาพได้จริง
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “Practical points in workplace-based learning” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการเรียนรู้ในสถานที่ปฏิบัติงานจริงมาอธิบาย เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในหลักการจัดการเรียนการสอนให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
1 | 0 | 1 |
Journal Issue 3, 2022 เรื่อง How to design an effective curriculum in health science schools
Issue 3
3 Oct 2022
ในปัจจุบันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เนื้อหาความรู้ที่มีนั้นมีมากขึ้น การที่จะให้ผู้เรียนต้องเรียนรู้ในทุกๆเรื่องอาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก รวมถึงผู้เรียนในปัจจุบันที่มีรูปแบบในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนั้นในฐานะอาจารย์ผู้สอนเราจะทำอย่างไรให้เราสามารถที่จะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น SPICES model อาจจะเป็นคำตอบ
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “How to design an effective curriculum in health science schools” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรในปัจจุบันมาอธิบาย เพื่อช่วยสร้างความเข้าใจในหลักการจัดการหลักสูตรให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
3 | 2 | 1 |
Journal Issue 2, 2022 เรื่อง Simulation in health science education
Issue 2
30 Jun 2022
การสอนด้วยสถานการณ์สมมติ (simulation) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทำกันหลากหลายรูปแบบมาก ตั้งแต่ให้นักศึกษาแสดงบทบาทสมมติกันเอง (role play) ใช้ผู้ป่วยมาตรฐาน (standardized patient, SP) การฝึกทักษะหัตถการจากแบบจำลองบางส่วนของร่างกาย (part task trainer) หุ่นจำลองเต็มตัว (mannequin) ใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกวิเคราะห์และแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย (computer-based simulation) ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual reality, VR) หรือเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented reality, AR) ซึ่งอาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ต้องปรับตัวเพื่อใช้เครื่องมือเหล่านี้มาช่วยในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ และวัดผลการเรียนรู้ในผู้เรียนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใน SHEE journal ฉบับนี้ทางทีมงานจึงจัดทำใน theme “Simulation in health science education” เพื่อนำเสนอบทความที่เกี่ยวกับการใช้สถานการณ์สมมติในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพให้ผู้อ่านทุกท่าน
4 | 3 | 1 |
Journal Issue 1, 2022 เรื่อง Well-being in medical schools
Issue 1
31 Mar 2022
การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นบริบทการเรียนรู้และการทำงานที่หนัก การบริหารจัดการหลักสูตรจะสนใจเฉพาะการนำเสนอเนื้อหาวิชาการอย่างเดียวไม่ได้ ผู้อ่านทุกท่านคงได้มีประสบการณ์พบเห็นผู้เรียน ผู้สอนที่มีปัญหาในการเรียนหรือการทำงานจนเรียนไม่จบ ซึ่งไม่ได้มีต้นเหตุมาจากความบกพร่องในด้านวิชาการ แต่เป็นเพราะปัญหาทางจิตใจ ความเครียด เป็นโรคทางจิตเวช หรือหมดไฟ ดังนั้นโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพพึงใส่ใจในเรื่องความอยู่ดีมีสุขของผู้เรียน ผู้สอน และบุคลากรทั้งด้านร่างกาย และจิตใจด้วย
ในวารสารฉบับนี้ทางทีมงานจึงได้รวบรวมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุขในโรงเรียนแพทย์มาจัดเป็น theme “Well-being in medical schools” โดยหวังว่าจะช่วยให้แนวทางในการพัฒนาระบบการดูแลกายใจ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ในโรงเรียนแพทย์ ที่จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคนมีความสุขในการเรียนและการทำงานในโรงเรียนแพทย์
4 | 3 | 1 |
Journal Issue 4, 2021 เรื่อง Emerging issues in assessment
Issue 4
31 Dec 2021
วารสารฉบับนี้เป็นวารสารฉบับครบรอบ 2 ปีของวารสาร SHEE journal เป็นช่วงสองปีที่วารสารได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดี ทางทีมงานก็ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ให้ความสนใจ ติดตามเนื้อหาสาระดีๆเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องในโอกาสครบรอบสองปีของวารสาร ทางทีมงานได้เชิญปรมาจารย์ในวงการแพทยศาสตรศึกษา ศ.นพ. เฉลิม วราวิทย์ และ ศ.นพ.วราวุธ สุมาวงศ์ นิพนธ์บทความเกี่ยวกับประวัติแพทยศาสตรศึกษาในประเทศไทย เป็นบทความพิเศษที่จะทำให้เราทุกคนได้เห็นว่า โรงเรียนแพทย์ไทย ได้พัฒนารุดหน้าอย่างต่อเนื่อง เราเดินทางมาไกลมากจากเมื่อเริ่มมีการตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งแรก และมีบทเรียนจากประวัติศาสตร์เหล่านี้ที่จะช่วยให้เราเห็นแนวทางพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างมั่นคง
วารสารฉบับนี้ทางทีมงานได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับการวัดผลการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน มีการนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง ตั้งแต่การทบทวนหลักการพื้นฐานที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบการวัดผล หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินผลแบบ formative และ summative ไปจนถึงประเด็นที่เป็น practical points ที่น่าสนใจ เช่น การคัดเลือกนักศึกษา การประเมินความรู้ การประเมินทักษะ และการประเมินเจตคติ แนวทางการตั้งเกณฑ์ผ่านของการสอบ (passing standard) และการตัดสินเกรด นอกจากหัวข้อที่น่าสนใจดังกล่าวข้างต้น ทางทีมผู้เขียนยังนำเสนอบทความที่แสดงแนวทางในการประเมินใหม่ๆ ที่ผู้อ่านบางท่านอาจไม่เคยรู้จัก บางท่านอาจเคยได้ยินแต่ไม่เคยใช้ บางท่านอาจใช้แล้วแต่อาจยังไม่เข้าใจดี หรือใช้แล้วประสบปัญหา จึงเป็นรูปแบบการประเมินที่ควรหยิบมาเล่าสู่กันฟังเพื่อสร้างความเข้าใจในรูปแบบการประเมินผลเหล่านี้ นอกจากเนื้อหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลอันคับคั่งข้างต้นแล้ว วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ยังคงนำเสนอ column ประจำต่างๆ เช่นเคย ได้แก่ Education movement มีการพูดถึงแนวทางพัฒนาการวัดผลการเรียนรู้ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เกร็ดความรู้ในการทำวิจัยทางการศึกษานำเสนอประเด็นเกี่ยวกับภัยคุกคามการแปลผลการวิจัย และเนื้อหาทางเทคโนโลยีการศึกษา ฉบับนี้นำเสนอเรื่อง Quizlet ซึ่งเป็นเครื่องมือส่งเสริมการเรียนรู้ ร่วมกับทำแบบทดสอบที่ใช้งานง่าย
3 | 1 | 2 |
Journal Issue 3, 2021 เรื่อง Teaching techniques in health science schools
Issue 3
30 SEP 2021
การสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นงานท้าทายความสามารถ เพราะต้องใช้ทั้งศาสตร์ทางการศึกษาและการแพทย์ ร่วมกับศิลปะความเป็นครู และการดูแลผู้ป่วยอย่างเข้าใจมา
ผสมผสานกันอย่างลงตัวจึงจะทำให้เกิดการสอนที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนเก่งขึ้น มีทักษะที่ดีขึ้น และคนไข้ก็มีความสุข ได้รับการบริการทางการแพทย์
ที่ดี
ในยุคปัจจุบันที่มีการเพิ่มขึ้นขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างรวดเร็ว มีโรคอุบัติใหม่ มียาใหม่ มีเทคโนโลยีการวินิจฉัยและรักษาใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศแบบก้าวกระโดด ทำให้การสอนยิ่งมีความท้าทายเพิ่มขึ้นไปอีก ครูต้องมีการปรับตัว เรียนรู้แนวทางใหม่ๆในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ วารสาร SHEE journal ฉบับนี้จึงได้นำเสนอบทความน่าสนใจหลายบทความที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ทางทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำเสนอในวารสารนี้จะช่วยติดอาวุธให้อาจารย์ผู้สอน ทำให้อาจารย์มีเครื่องมือที่จะใช้พัฒนาความสามารถของนักศึกษาให้เป็นคนที่เก่ง มีทักษะที่ดี มีจิตใจที่ดี มีความสุขในการเรียนและการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การสร้างทีมบุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีประสิทธิภาพต่อไป
3 | 2 | 1 |
Journal Issue 2, 2021 เรื่อง Clinical teaching methods
Issue 2
30 JUN 2021
การสอนชั้นคลินิกเป็นงานที่ท้าทายความสามารถ เนื่องจากครูต้องทำหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้สามารถทำหน้าที่ทางวิชาชีพได้ โดยที่การเรียนรู้หลายอย่างต้องอาศัยการฝึกฝนกับผู้ป่วยซึ่งเป็นคนที่มีอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ครูผู้สอนชั้นคลินิกต้องใช้ทักษะการสอนต่าง ๆ มากมายเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ในขณะเดียวกันกับที่ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ปลอดภัย ประกอบกับในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายอย่างที่ทำให้รูปแบบการจัดการสอนชั้นคลินิกต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคสมัย และมีประสิทธิภาพสูง
ในวารสาร SHEE journal ฉบับนี้ ทีมงานได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญมากมายมาช่วยให้คำแนะนำ แนวทางการสอนนักศึกษาระดับ รวมถึงคอลัมน์ประจำที่น่าสนใจทางการศึกษาเหมือนเช่นเคย เช่น Education movement พูดถึงทิศทางการพัฒนาการสอนในชั้นคลินิก เกร็ดความรู้การทำวิจัยการศึกษา ทางทีมงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำเสนอในวารสารนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการสอนชั้นคลินิก และนำไปสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาชั้นคลินิกที่ดี เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความสุข
1 | 0 | 1 |
Journal Issue 1, 2021 เรื่อง Preclinical teaching methods
Issue 1
30 MAR 2021
การสอนชั้นปรีคลินิกเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งของการสอนนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องจากความเข้าใจที่ดีในเนื้อหาปรีคลินิกจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานชั้นคลินิกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจ และเรียนอย่างมีความสุข ในวารสาร SHEE journal ฉบับนี้ ทีมงานได้รวบรวมผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญหลายต่อหลายท่านมาช่วยแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับแนวทางในการสอนนักศึกษาระดับปรีคลินิกที่น่าสนใจ ทีมงานนำเสนอหลักการพื้นฐานที่เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรปรีคลินิกในปัจจุบัน ได้แก่ outcome-based education, active learning มีการนำเสนอเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจในการทำให้การสอนแบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็น lecture หรือ laboratory ไม่น่าเบื่อและนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดี และทีมงานยังนำเสนอรูปแบบการสอนที่พัฒนามาทีหลังแต่มีการนำมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ อีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น flipped classroom, team-based learning, problem-based learning, project-based learning, game-based learning, technology-enhanced learning, blended learning นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของเนื้อหา ทางทีมงานก็ไม่ลืมที่จะสอดแทรกแนวทางจัดการ self-directed learning ซึ่งเป็นช่องทางในการพัฒนาความรู้ความสามารถของผู้เรียนในยุคปัจจุบันด้วย และมีคอลัมน์ประจำที่น่าสนใจทางการศึกษาเหมือนเช่นเคย เช่น เกร็ดความรู้การทำวิจัยการศึกษาซึ่งในฉบับนี้เป็นเรื่องเครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย บทความวิจัยทางการศึกษาในฉบับนี้เป็นเรื่อง Blended learning in basic medical laboratory เนื้อหาทางเทคโนโลยีการศึกษา (click and go with technology) นำเสนอเรื่องการใช้ Canva ในการนำเสนอบทเรียน
5 | 3 | 2 |
Journal Issue 5, 2020 เรื่อง Non-technical skills in health science education
Issue 5
29 DEC 2020
Non-technical skills หรือทักษะการทำงานที่ไม่ใช่เทคนิคทางการแพทย์แต่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพมากขึ้น เหตุที่ทำให้ทักษะเหล่านี้ได้ถูกหยิบยกมาสอน และพัฒนากันในบุคลากรทางการแพทย์เริ่มต้นมาจากรายงาน To err is Human ของ Institute of Medicine ในปี ค.ศ. 1999 ที่พบว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีมีผู้ป่วยราว 44,000 – 98,000 รายที่เสียชีวิตเนื่องจากความผิดพลาดของทีมแพทย์ ซึ่งเมื่อทำ root cause analysis ของเหตุการณ์ความผิดพลาดเหล่านี้พบว่าสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากการที่ทีมแพทย์ขาด medical knowledge หรือ technical skills ทางการแพทย์ แต่เป็นปัญหาในทักษะการสื่อสาร การทำงานร่วมกันเป็นทีม การประเมินสถานการณ์และการตัดสินใจ ซึ่งเมื่อได้ทำการมองกลับมาที่การทำงานของแพทย์จะพบว่า non-technical skills ที่มีความสำคัญมี 6 ทักษะได้แก่ situation awareness, decision making, team working, communication, leadership, stress and fatigue management การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ไม่ได้ทำการสอนทักษะ non-technical skills เหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมมาแต่ดั้งเดิม ควรมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถสอดแทรกการพัฒนาทักษะเหล่านี้ในผู้เรียน
วารสารฉบับนี้จึงมาในธีม non-technical skills มาเป็นประเด็นที่จะพูดถึงกันครับ
5 | 3 | 2 |
Journal Issue 4, 2020 เรื่อง Digital technology in education
Issue 4
1 Oct 2020
Digital technology หมายถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบ ที่ใช้การประยุกต์ความก้าวหน้าทางด้านการเก็บรวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูล เพื่อการทำงานหรือใช้ชีวิตให้สะดวกสบายขึ้น
ในขณะนี้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยควบคุมได้ดี มีการเปิดให้ทำกิจกรรมต่างๆใกล้เคียงสภาวะปกติมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มนำนักเรียนกลับเข้ามาเรียนในห้องเรียน แต่เราคงจะไม่ยกเลิกการใช้ digital technology กลับไปจัดการเรียนการสอนเหมือนเดิมก่อนจะมี COVID-19 สถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้ทั้งผู้สอน และผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงศักยภาพของ digital technology แม้จะมีความขลุกขลักในการใช้งานบ้าง แต่หลายเครื่องมือก็น่าจะดึงมาใช้งานในสภาพห้องเรียนปกติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้
ในวารสารฉบับนี้ ทางทีมงานได้นำเสนอ digital technology ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ระบบ Microsoft teams ในการบริหารจัดการห้องเรียน การใช้ educational game, virtual reality, augmented reality, และ simulation technology ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ
วารสารฉบับนี้จึงมาในธีม Digital technology in education มาเป็นประเด็นที่จะพูดถึงกันครับ
3 | 3 | 0 |
Journal Issue 3, 2020 เรื่อง Online learning
Issue 3
8 Jun 2020
SHEE journal ฉบับนี้เราได้นำเสนอประเด็นเรื่อง online learning โดยมุ่งหวังที่จะช่วยนำเสนอแนวคิด และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ครูแพทย์ และโรงเรียนวิทยาศาสตร์ สุขภาพ สามารถเข้าใจ และเข้าถึงได้ง่าย และช่วยทำให้ การสอน และการประเมินผลในช่วงที่นักศึกษาไม่สามารถเข้ามาเรียนในโรงเรียนได้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยากชวนทุกท่านเปิดใจลองทำความรู้จัก กับคำศัพท์ และโปรแกรมใหม่ๆที่เรานำเสนอไม่จำเป็น ที่ครูทุกคนต้องใช้เครื่องมือ หรือวิธีการทุกอย่างที่เรา นำเสนอ อยากชวนให้ผู้อ่านทำความรู้จักวิธีการที่แตกต่างไปจากเดิมและลองพิจารณาดูว่าเครื่องมือ หรือ โปรแกรมไหนที่เราชอบ และเหมาะกับบทเรียนของเรา และอาจลองเลือกใช้แค่บางเครื่องมือ ซึ่งอาจช่วยให้ อาจารย์ผลิตบทเรียน online ที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพกว่าที่เคยทำมาก็ได้ครับ
วารสารฉบับนี้จึงมาในธีม online learning มาเป็นประเด็นที่จะพูดถึงกันครับ
4 | 4 | 0 |
Journal Issue 2, 2020 เรื่อง Effective Learning Environment
Issue 2
31 Mar 2020
หลายท่านอาจคิดว่าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ นั้นหมายถึง อาคาร ห้องเรียน ห้องสมุด หรือสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งอาจารย์หลายท่านอาจมองว่าเป็นเรื่องที่นอกเหนือไปจากที่ตนเองจะไปปรับเปลี่ยนได้ แต่ในการพูดถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในปัจจุบัน มีความหมายที่กว้างกว่านั้นมาก สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งด้านกายภาพ (physical) สังคม (social) และ จิตใจ (psychological) และในยุคปัจจุบัน สภาพแวดล้อมที่ต้องคํานึงถึงด้วยคือสภาพแวดล้อมใน internet (เช่นใน social media, website ต่างๆ) ซึ่งผู้เรียนทั้งระดับก่อนและหลังปริญญาใช้เวลาในโลกเสมือนนี้ค่อนข้างมาก หากสามารถสร้างสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น
วารสารฉบับนี้จึงขอยก Effective Learning Environment มาเป็นประเด็นที่จะพูดถึงกันครับ
6 | 5 | 1 |
Journal Issue 1, 2019 เรื่อง Educational Disruption
Issue 1
เผยแพร่วันที่ 11 DEC 2019
ในปัจจุบันมีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และการให้บริการทางการแพทย์ บริษัทใหญ่ๆ ที่ไม่ปรับตัว บางบริษัทถึงขั้นต้องปิดกิจการ ดังนั้นโรงเรียน วิทยาศาสตร์สุขภาพต้องทบทวนตนเองอย่างจริงจังว่าสิ่งที่ทำกันอยู่นั้น ควรได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง คงเลี่ยงไม่ได้แล้ว ที่ครูผู้สอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพจะต้องปรับตัว
วารสารฉบับนี้จึงขอยก Educational disruption มาเป็นประเด็นที่จะพูดถึงกันครับ