(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_001

SHEE วารสารฉบับที่ 2 ปี 2025 (Full Version) NEW

SHEE journal ฉบับนี้มาใน theme หัวข้อ Integrating patient safety into health science curricula โดยทีมงานได้รวบรวมบทความจากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมีความสนใจในด้านนี้ประกอบกับมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม patient safety ให้กับอาจารย์ แพทย์ประจำบ้าน หรือนักศึกษาแพทย์ โดยมุ่งหวังว่าองค์ความรู้เหล่านี้จะช่วยให้อาจารย์ทุกท่านตระหนักถึงความสำคัญและมีความมั่นใจในการสอนให้นักศึกษาทำการดูแลผู้ป่วยอย่างปลอดภัย ช่วยกันลดความเสี่ยง ลดอุบัติการณ์ของ medical errors โดยวารสารฉบับนี้เราเริ่มจากการปูความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ patient safety แล้วนำทุกท่านสู่แนวทางการสอนเรื่อง patient safety ตั้งแต่ต้นเหตุของอุบัติการณ์ความไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยและแนวทางการสอนเพื่อลดอุบัติการณ์ดังกล่าว การใช้ TeamSTEPPS มาช่วยส่งเสริมพฤติกรรมที่สร้างความปลอดภัยให้ผู้ป่วย แนวทางการประเมิน patient safety นอกจากนี้ในคอลัมน์ Students’ voice ก็มีการสัมภาษณ์นักศึกษาหลายท่านที่แสดงให้เห็นมุมมองของผู้เรียนต่อการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย สำหรับทความ Educational movement ผมเองก็ได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการสอนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยในบริบทโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพไทย และใน คอลัมน์ SHEE sharing ของวารสารฉบับนี้ ทีมงานก็นำเสนอบทความเกี่ยวกับการใช้ simulation มาช่วยสอนเรื่องการจัดการกับความปลอดภัยของผู้ป่วย 

Author: SHEE
Downloads: 48

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_002

Issue2/2025 - Table of contents NEW

Author:
Downloads: 3

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_004

Issue2/2025-01 Executive talk NEW

ความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety) เป็นศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในวงการแพทย์เนื่องด้วยปัญหาที่พบจากเวชปฏิบัติที่แสดงให้เห็นว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตจากความผิดพลาดของบุคลากรทางการแพทย์ ข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกาประมาณจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากความผิดพลาดทางการแพทย์ไว้ที่ 44,000 – 98,000 คนต่อปี คิดเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 17,000 ล้านดอลล่าร์ต่อปี การศึกษา meta-analysis ในปี ค.ศ. 2019 รายงานอุบัติการณ์ของอันตรายที่เกิดกับผู้ป่วย (patient harm) ร้อยละ 12 ของการรับบริการทางการแพทย์ โดยครึ่งหนึ่งเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ ปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยมีความรุนแรงมากในกลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงปานกลาง (Low-to-middle income countries) ซึ่งราว 1 ใน 4 ของผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลจะได้รับอันตรายจากการรักษา และราว 1 ใน 24 คนจะเสียชีวิตจากการรักษา นำไปสู่การเสียชีวิตราว 2.6 ล้านรายต่อปี ปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยจะเห็นได้ชัดในสาขาวิชาที่มีการทำหัตถการ องค์การอนามัยโลกประมาณจำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดราว 7 ล้านคนต่อปี นำไปสู่การเสียชีวิตอย่างน้อยปีละ 1 ล้านคน ด้วยขนาดของปัญหาที่ใหญ่มากนี้ ทำให้แพทย์ และบุคลากรทางสาธารณสุขจำนวนมากให้ความสนใจที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียดังกล่าว จึงทำให้เกิดการศึกษาวิจัยจำนวนมากที่นำไปสู่มาตรการต่างๆที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการในโรงพยาบาล ทางองค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย และมีการเผยแพร่ WHO Patient safety curriculum Guide อย่างกว้างขวางตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 ซึ่งให้คำแนะนำในการสอนนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพถึงแนวทางการใส่เนื้อหา patient safety เข้าไปในหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดเนื้อหาหลักทั้งหมด 11 หัวข้อ ถึงแม้จะมีการสนับสนุนส่งเสริมในการสอนเรื่อง patient safety อย่างมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าในบริบทของประเทศไทย นักศึกษาแพทย์ยังไม่ได้เรียนรู้เรื่องนี้อย่างจริงจังมากนัก นักศึกษาจำนวนไม่น้อยจบจากหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตไปประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยยังไม่มีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้ผู้ป่วยที่ดีนัก มีการปฏิบัติหลายอย่างที่ผิดไปจากแนวทางมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัยให้ผู้ป่วย นำไปสู่การเกิดความผิดพลาดทางการแพทย์ (medical error)

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_014

Issue2/2025-03 Causes of Patient Safety Incidents and Educational Interventions NEW

ความปลอดภัยของผู้ป่วย ถือเป็นหัวใจสำคัญของการให้บริการทางสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ได้ให้คำจำกัดความในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย ว่าเป็น “กรอบแนวคิดของกิจกรรมที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ซึ่งเน้นการสร้างวัฒนธรรม กระบวนการ ขั้นตอน พฤติกรรม เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมในการบริการสุขภาพ เพื่อการลดความเสี่ยง ลดโอกาสการเกิดความเสียหายที่หลีกเลี่ยงได้ต่อผู้ป่วย ทำให้ความผิดพลาดเกิดได้ยากขึ้น และลดผลกระทบเมื่อเกิดความเสียหายกับผู้ป่วยแล้ว” 1 จากรายงานขององค์การอนามัยโลก  ได้ประมาณการไว้ว่า แม้ในประเทศที่มีรายได้สูง ผู้ป่วยที่มารับการรักษา 1 รายใน 10 ราย จะได้รับผลกระทบทางการแพทย์จากการเหตุที่ป้องกันได้ และอาจมีประชากรกว่า 2.6 ล้านคนต้องเสียชีวิตจากเหตุดังกล่าว ความพยายามในการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น นำมาซึ่งมาตรการ Global Patient Safety Action Plan 2021-2030 ซึ่งหนึ่งในมาตรการนั้นคือ การสร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้ เสริมทักษะ และปกป้องดูแลบุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้สามารถออกแบบและให้บริการในระบบที่ปลอดภัย การเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยมีความซับซ้อน และมีความเกี่ยวเนื่องกันในหลายระบบ และหลายหน่วยงาน ตั้งแต่การออกแบบอุปกรณ์ทางการแพทย์ วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร จริยธรรมวิชาชีพ และค่านิยมในสังคม บทความนี้จึงมีเป้าหมายเพื่ออธิบายสาเหตุของเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยของผู้ป่วย และเสนอแนวทางการเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคลากรสามารถป้องกันและรับมือกับความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Author: รศ. พญ.ธัชวรรณ จิระติวานนท์
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_022

Issue2/2025-04 Practical Applications of the TeamSTEPPS™ Framework NEW

ในปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า การทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรสาธารณสุขมีความสำคัญต่อการทำให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วย1 เนื่องจากการที่แนวโน้มของการเป็นสังคมที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นทั่วโลก ทำให้ผู้ป่วยมักมีโรคเรื้อรังที่ซับซ้อนหลายโรค และต้องการการดูแลที่จำเพาะมากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์หลากหลายสาขาจึงจำเป็นจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อลดเหตุอันไม่พึงประสงค์ (adverse event) และทำให้เกิดผลลัพธ์การรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

การทำงานเป็นทีม หมายถึง การที่บุคคลอย่างน้อย 2 คนขึ้นไปร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุคุณค่า เป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือวิสัยทัศน์เดียวกัน โดยบุคลากรที่มีอยู่ในทีมต่างก็มีบทบาทความรับผิดชอบแตกต่างกันไปตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ สมาชิกของทีมยังสามารถเพิ่มหรือลดได้เมื่อเวลาผ่านไป2 ในทางสาธารณสุข ประเภทของทีมที่ได้รับการยอมรับว่าทำให้การรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพสูงสุด ได้แก่ ทีมที่มีบุคลากรจากสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary or interprofessional team) ที่สมาชิกในทีมสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี และยังสามารถประสานความร่วมมือกับผู้ป่วยและญาติจนทำให้เกิดการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยเป็นราย ๆ ไปได้ การที่จะมีทีมสหวิชาชีพดังกล่าวข้างต้นได้นั้น จะต้องมีการปลูกฝังความรู้ความเข้าใจขององค์ประกอบของทีมที่มีประสิทธิภาพให้แก่นักศึกษาในหลักสูตรสาธารณสุขทุกสาขาอาชีพ รวมถึงมีการฝึกทักษะการทำงานเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป

Author: ผศ. พญ.อุษาพรรณ สุรเบญจวงศ์
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_030

Issue2/2025-05 การวัดและประเมินผลการสอนความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงเรียนแพทย์ (Patient Safety Assessment in Medical Schools) NEW

ความปลอดภัยของผู้ป่วย (patient Safety) เป็นพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อของคุณภาพและผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยในทุกระดับ การเรียนการสอนเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เรามักละเลย คิดว่าเป็นเรื่องของหน่วยงานพัฒนาคุณภาพ และมักเริ่มทำเมื่อจบเป็นแพทย์หรือเป็นแพทย์เฉพาะทางแล้ว ซึ่งก็มักได้ทำเมื่อมีความจำเป็นต้องปฏิบัติจริง จึงเป็นการฝึกฝนโดยการลงมือทำ หรือทำตามที่หน่วยงานเคยปฏิบัติมา อาจทำให้ปลูกฝังแนวคิดได้ไม่ทันการณ์เพราะผู้เรียนมีปัจจัยในเรื่องการปฏิบัติงานและภาระงานมาเป็นข้อจำกัดในการเรียนรู้ การปลูกฝังแนวคิดนี้ตั้งแต่ระดับนักศึกษาแพทย์สามารถสร้าง mindset เกี่ยวกับความปลอดภัย และช่วยสร้างวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยอย่างยั่งยืน การบูรณาการวัดและประเมินผลด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ โดยการวัดประเมินผลสามารถทำได้ทั้งแบบ formative เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ feedback ได้เรียนรู้ แบบ summative เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน หรือแบบ programmatic คือวัดหลายขณะเวลาด้วยหลายวิธี และสอดแทรกอยู่ในผลลัพธ์การเรียนรู้หลายมิติได้

Author: รศ. พญ.กษณา รักษมณี 
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
06_Page_1

Issue2/2025-06 Message from Deputy Dean NEW

สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งกับการบอกเล่าความก้าวหน้าด้านการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ลำดับแรกต้องขอแสดงความยินดีกับบัณฑิตแพทย์ทุกสถาบันที่สำเร็จการศึกษา และได้ไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนในระบบสุขภาพไทยเพื่อนำความรู้ความสามารถไปสร้างประโยชน์และความสุขให้กับชาวไทยทั่วประเทศ

หลังจากทำงานร่วมกันระหว่างฝ่ายการศึกษา ภาควิชา และผู้แทนนักศึกษาแพทย์มายาวนานกว่า 2 ปี หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2569 ก็ได้ผ่านการรับรองจากกรรมการประจำคณะฯ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2568 ที่ผ่านมา และกำลังเข้าสู่กระบวนการรับรองจากสภามหาวิทยาลัยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เพื่อพร้อมรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2569 ที่จะถึงนี้

Author: รศ. นพ.ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์
Downloads: 5

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_042

Issue2/2025-07 Students' Voice NEW

ตลอด SHEE Journal เล่มนี้ ผู้อ่านทุกท่านคงได้ทราบถึงเนื้อหาและใจความสำคัญในหลาย ๆ แง่มุมเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) ไม่ว่าจะเป็น ความหมายของความปลอดภัยของผู้ป่วย สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้ป่วย การเรียนการสอน รวมทั้งการประเมินด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยแก่ผู้เรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ 

ในส่วน Students’ Voice นี้ ตั้งใจนำเสนอแง่มุมที่หลากหลายเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยจากทั้งนักศึกษาแพทย์ นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ นักศึกษาทันตแพทย์ รวมทั้งแพทย์ใช้ทุนให้แก่ผู้อ่านทุกท่าน ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะมีส่วนในการสร้างมุมมองและแนวคิดแก่ผู้อ่าน เพื่อที่จะเข้าใจผู้เรียนได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่มากก็น้อย โดยผู้จัดทำได้สัมภาษณ์ผ่านประเด็นคำถามดังนี้

Author: นพ.ฌาณ จิตรนำทรัพย์
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_050

Issue2/2025-08 เชิด-ชู NEW

เนื่องด้วยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ได้ประกาศมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ ครูแพทย์แห่งชาติ ประจำปี 2567 ให้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมยุรี วศินานุกร ซึ่งถือเป็นรางวัลที่มอบให้แก่ครูแพทย์ผู้มีคุณูปการต่อวงการแพทยศาสตรศึกษาไทยมาอย่างยาวนาน

ในวารสารฉบับนี้ ทีมงานได้รับเกียรติอย่างยิ่งในการสัมภาษณ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงมยุรี วศินานุกร เนื่องในโอกาสได้รับรางวัล “ครูแพทย์แห่งชาติ ประจำปี 2567” จากกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยอาจารย์ได้แบ่งปันถึงหลากหลายประเด็นที่สะท้อนบทบาทและจิตวิญญาณของความเป็นครูแพทย์อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นมุมมองต่อ ลักษณะของครูแพทย์ที่ดี สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำหน้าที่ครูแพทย์ ตลอดจน ข้อคิดและคำฝากถึงแพทย์รุ่นใหม่ ซึ่งล้วนเป็นแนวคิดที่เปี่ยมด้วยคุณค่า และสามารถน้อมนำไปปรับใช้ในการพัฒนาตนเองในวิชาชีพแพทย์ได้อย่างแท้จริง

Author: นพ.ธนภัทร ประกายรุ้งทอง
Downloads: 3

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_056

Issue2/2025-09 สับ สรรพ ศัพท์ NEW

ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจคำศัพท์ 4 คำที่มีความสำคัญในการเรียนการสอนเกี่ยวกับ patient safety ประกอบด้วย Human Error ,Situation Awareness ,Just Culture และ Root Cause Analysis หลาย ๆ ท่านอาจจะเคยรู้จักหรือได้ยินคำเหล่านี้ผ่านหูมาอยู่บ้าง แต่อาจจะยังนึกไม่ออกว่าคำเหล่านี้ปรากฎหรือมีที่ใช้ และสำคัญอย่างไรในทางการศึกษา เรามาดูความหมาย ตัวอย่าง ปัญหาที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับคำเหล่านี้ที่พบได้บ่อย และสำคัญที่สุดคือเราจะจัดการศึกษาอย่างไรให้คำเหล่านี้เป็นคำคุ้นหูคุ้นเคยในบริบทการศึกษาวิทยา ศาสตร์สุขภาพให้มากขึ้น

Author: นพ.ปุญญภัทร มาประโพธิ์, นพ.ฌาณ จิตรนำทรัพย์
Downloads: 3

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_064

Issue2/2025-10 Educational movement : Improving patient safety education in Thai health science schools NEW

จากบทความต่างๆที่ผมและผู้เขียนหลายท่านได้นำเสนอในวารสารฉบับนี้ ผู้อ่านทุกท่านคงเห็นถึงความสำคัญของการสอนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยให้แก่นักศึกษา และคงพอเห็นแนวทางว่าจะนำเรื่องที่สำคัญนี้ใส่เข้าไปในการเรียนการสอนในหลักสูตรได้อย่างไร ในบทความนี้ผมจะต่อยอดจากหลักการพื้นฐานและแนวปฏิบัติต่างๆที่ได้มีการเสนอแนะมา ไปสู่การมองเชิงระบบว่า นอกเหนือไปจากการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนโดยอาจารย์ในแต่ละคาบเรียน แต่ละกิจกรรม แต่ละวัตถุประสงค์การเรียนรู้แล้ว หากมองไปในระดับมหภาค ผู้บริหารการศึกษาจะช่วยดำเนินการอย่างไรได้บ้างเพื่อให้การสอนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยนี้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวในบริบทของประเทศไทย

Author: รศ. ดร. นพ. เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_070

Issue2/2025-11 SHEE Sharing NEW

ในหลายสิบปีที่ผ่านมา การเรียนการสอนทางการแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากองค์ความรู้ที่มากขึ้น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นจากสังคม การจะสอนให้ผู้เรียนในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพได้รับทั้งความรู้และฝึกทักษะได้อย่างครบถ้วนภายใน เวลาจำกัด ขณะเดียวกันก็ต้องลดความเสี่ยงที่จะเกิดกับผู้ป่วยจริง ถือเป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

การฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญก่อนพบผู้ป่วยจริง จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการเรียนการสอนทางการแพทย์ เราจึงได้เห็นวิวัฒนาการของการเรียนรู้ผ่านสถานการณ์จำลอง  หรือ Simulation-based learning ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่ใช้เพียงผู้ป่วยจำลองและหุ่นจำลองธรรมดา พัฒนามาสู่หุ่นที่สามารถโต้ตอบได้ (interactive manikin), ห้องจำลองที่ใกล้เคียงสถานการณ์จริง, อุปกรณ์ฝึกหัตถการที่หลากหลาย ไปจนถึงเทคโนโลยีอย่างแว่น Virtual Reality ที่สามารถจำลองสถานการณ์ได้หลากหลายยิ่งขึ้น

Author: ดร. นพ.ฐนิตย์ นันทนาทรัพย์, นพ.ฌาณ จิตรนำทรัพย์
Downloads: 3

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_076

Issue2/2025-12 SHEE Research : Considering the Belmont Report in Health Science Education Research (1): Respect for Persons NEW

แพทย์ 20 รายและผู้เกี่ยวข้องอีก 3 รายเข้าร่วมการตัดสินคดีความครั้งหนึ่งในฐานะจำเลย การพิจารณาคดีครั้งนั้นดำเนินการยาวนานถึง 140 วันก่อนจะแล้วเสร็จ หลักฐานเผยว่าจำเลยเกี่ยวข้องกับการบังคับมนุษย์จำนวนมากให้เข้าร่วมการทดลองต่าง ๆ เช่น การทดสอบยาพิษ สารเคมี เชื้อโรค การบังคับให้อยู่ในสภาวะออกซิเจนต่ำ มีความสูงจากภาคพื้นดินมาก หรือใต้น้ำ ไปจนถึงถูกสังหารเพื่อรวบรวมกระดูกหรือชิ้นส่วนร่างกายเพื่อนำไปศึกษาต่อ อันถือเป็นทารุณกรรม เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอย่างร้ายแรง มีผลให้จำเลย 16 รายได้รับคำพิพากษาให้รับโทษตั้งแต่จำคุกถึงประหารชีวิต 

 

เรื่องราวข้างต้นนี้คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคดีความครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้คนรู้จักกันในชื่อประมวลกฎหมายนูเรมเบิร์ก (The Nuremburg Trials) แพทย์และผู้สมรู้ร่วมคิดล้วนอยู่ใต้สังกัดกองกำลังทหารนาซีเยอรมัน ในขณะที่มนุษย์ผู้เข้าร่วมการทดลองก็คือชาวยิวและนักโทษอีกจำนวนมากที่ถูกควบคุมตัวในค่ายกักกันยุค นั้น ผู้กระทำผิดถูกดำเนินคดีหลังสงครามโลกสิ้นสุด และกลายเป็นชนวนชวนให้วงการแพทย์ทั่วโลกเริ่มคำนึงถึงหลักการทดลองและวิจัยในมนุษย์ที่มีจริยธรรม และมนุษยธรรมมากขึ้น ผู้อ่านอาจทราบว่าเหตุการณ์ที่ผู้เขียนนำมาเล่าเกริ่นนั้นเป็นต้นกำเนิดบทบัญญัติทางการวิจัยที่สำคัญอย่าง รายงานเบลมองต์ (Belmont Report) แล้วสงสัยว่า เราสามารถเรียนรู้หลักจริยธรรมทางการวิจัยจากการทดลองที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในแง่สุขภาพ กายภาพ ชีวภาพโดยตรงนี้ได้อย่างไรบ้าง และข้อคำนึงที่เกิดขึ้นจากการทดลองเช่นนั้นจะนำมาใช้ในแง่ของการวิจัยทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มุ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ที่เป็นผู้เรียนมากกว่าการทดลองให้มนุษย์บริโภคยาหรือรับการรักษาแบบใดแบบหนึ่งอย่างไร ผู้เขียนจึงขอนำผู้อ่านทุกท่านสู่การเดินทางครั้งใหม่ผ่านคอลัมน์ SHEE Research ใน SHEE Journal นับตั้งแต่ฉบับนี้ไปจนถึงฉบับสุดท้ายของปี 2568 ภายใต้หัวข้อ “การพิจารณานำหลักการของรายงานเบลมองต์มาใช้ในงานวิจัยทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Considering the Belmont Report in Health Science Education Research)”

Author: ดร.พีรดา งามเสน่ห์
Downloads: 3

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_082

Issue2/2025-13 Click&Go with Technology : Encryption and Password Security in Medical School Examinations NEW

 

พบกันอีกครั้งกับ Click&Go with Technology วารสารฉบับนี้ กลับมาเป็นรูปแบบเดิมที่ทุกท่านคุ้นเคย เกี่ยวกับการนำเสนอเทคโนโลยีหรือแอปพลิเคชันที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้ศึกษา ครั้งนี้เป็นเรื่องวิธีการรักษาความปลอดภัยของไฟล์ข้อสอบ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของไฟล์ข้อสอบ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก แต่บางท่านอาจจะยังไม่ทราบถึงวิธีการที่ปฏิบัติที่แท้จริง ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านทุกท่านที่ได้อ่านบทความฉบับนี้ จะนำแนวคิด วิธีการที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมในบริบทการทำงานและการเรียนการสอนครับ

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลสามารถถูกเข้าถึง แก้ไข หรือรั่วไหลได้อย่างรวดเร็ว ความมั่นคงของข้อมูลข้อสอบในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะในโรงเรียนแพทย์ที่มีลักษณะของการประเมินผลที่เข้มงวดและมีความสำคัญสูง จึงเป็นประเด็นที่ไม่อาจมองข้าม การรั่วไหลของข้อสอบ ไม่เพียงส่งผลต่อความยุติธรรมในการสอบ แต่ยังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของระบบการศึกษา กระทบต่อชื่อเสียงของสถาบัน และที่สำคัญที่สุดคือ ส่งผลต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา

Author: ดร.ศุภกิจ บุญเอนกพัฒน์
Downloads: 5

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_088

Issue2/2025-14 SHEE Podcast NEW

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้นำเสนอ SHEE Podcast รายการที่รวบรวมสาระน่ารู้ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ผ่านการสนทนาที่เป็นกันเอง มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าถึงความรู้ทางด้านการศึกษาได้สะดวกและเข้าใจง่าย ในทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน เวลา 20.00 น. ผ่านทางช่องทางต่างๆของศูนย์ SHEE

Author: นพ.ธนภัทร ประกายรุ้งทอง
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_094

Issue2/2025-15 Upcoming events NEW

Author:
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_100

Issue2/2025-16 Gallery NEW

Author: SHEE
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_110

Issue2/2025-17 Contributors NEW

Author: SHEE
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)
(R.2) 2nd Draft 2_2025 Journal_Page_112

Issue2/2025 - Q&A NEW

Author: SHEE
Downloads: 4

Download

Rating:
(0 votes)




ท่านสามารถเก็บคะแนน CPD / CME ได้จากระบบ SHEE Online Course โดยสามารถ Click ที่ปุ่มด้านล่างนี้เพื่อเข้าสู่ระบบ

 

Free Joomla! templates by Engine Templates