Basic Search

Popular tags in SHEE Journals

Notification

Question and Answer ร่วมกิจกรรม Q&A ส่งคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือแพทยศาสตรศึกษา สำหรับท่านที่ส่งคำถามจะได้รับ 1 คะแนน (ทุกท่านสามารถส่งได้ 1 คำถาม/ 1 วัน) หากคำถามของท่านถูกคัดเลือกมาตอบใน SHEE Journal จะได้รับเพิ่มอีก 1 คะแนน คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

Info

สำหรับบุคลากรศิริราชที่ต้องการเก็บชั่วโมงพัฒนาอาจารย์ (CPD) สามารถอ่านวารสารออนไลน์ได้ที่ SHEE Online Course โดยผู้อ่าน SHEE Journal ผ่านระบบ SHEE Online Course นั้น จะได้ชั่วโมงการฝึกอบรม จำนวน 1 ชม. โดยสามารถนำไปรายงานตัวชี้วัดการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่องด้านการศึกษา (Continuous Professional Development : CPD) ตามเกณฑ์ที่คณะฯ กำหนดได้ ทั้งนี้ จะนับชั่วโมงให้เมื่อเรียนจบ Course และได้รับใบ Certificate เท่านั้น จึงจะถือว่าผ่านการอบรม จากนั้นทุกสิ้นเดือนเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จะส่งรายชื่อเพื่อยืนยันผู้ผ่านการอบรมให้กับต้นสังกัดทราบ และส่งข้อมูลให้กับฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อดำเนินการจัดเก็บจำนวนชั่วโมงการอบรมในระบบต่อไป

hna_pk0

Issue 3 : Effective coaching in health science education 2024

SHEE journal กลับมาแล้วจ้าาาาา

ในฉบับนี้พบกันในหัวข้อ "Effective Coaching in health science education" ที่เราจะนำเสนอเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับการโค้ชในบริบทโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและนำไปใช้งานได้จริง ผ่านประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้

- องค์ประกอบและคำนิยามของโค้ชและการโค้ช
- เทคนิคการโค้ชความรู้และทักษะผ่านหลักการ deliberate practice
- การโค้ชผู้เรียนที่มีความแตกต่างหลากหลาย โดยใช้่ Strength-based coaching หรือการโค้ชจุดแข็ง
-

...
2-2024_Page_011

Issue 2 : Leadership training in health science school- 2024

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ทางทีมงานเสนอเนื้อหาใน theme: leadership training in health science schools โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้ในหมู่คณาจารย์ถึงความสำคัญของการสอนภาวะผู้นำ และสร้างความเข้าใจถึงแนวทางการสอนและการประเมินผู้เรียนในด้านภาวะผู้นำ โดยหวังว่าจะช่วยกระตุ้นให้อาจารย์ช่วยกันสอนภาวะผู้นำ และหาแนวทางส่งเสริมการพัฒนาภาวะผู้นำในผู้เรียนอย่างเป็นระบบ เนื้อหาในวารสารฉบับนี้ครอบคลุมตั้งแต่ แนวทางการสอนภาวะผู้นำในหลักสูตร

...
Journal_1-2024_Page_012

Issue 1 : Multiple-Mini Interview (MMI)- 2024

Multiple min-interview เป็นรูปแบบการสัมภาษณ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างในต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการใช้รับนักศึกษาแพทย์ หรือการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้าน จึงถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากโครงการการฝึกอบรมใด สามารถจัดการสัมภาษณ์แบบ MMI ได้มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นแนวทางการสัมภาษณ์ที่เพิ่งได้รับความนิยมในบริบทประเทศไทย ทำให้ยังมีความเข้าใจที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการจัดสอบ MMI และส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรมากเกินความจำเป็น รวมไปถึงเกิดการสอบที่ไม่รัดกุม

...
4-2023_Full_version_V.7_Page_0013

Issue 4 : Workplace-based Assessment - 2023

Workplace-based assessment เป็นเครื่องมือประเมินผลที่มีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะนักเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นคลินิก ที่จะต้องพัฒนาตนเองให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ในสถานการณ์จริง แม้ว่าจะมีการใช้ในประเทศไทยเป็นเวลานานและในหลากหลักสูตร ในปัจจุบันยังพบปัญหาความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนำไปสู่ภาระที่มากเกินความจำเป็นสำหรับอาจารย์ และประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ไม่ดีเท่าไหร่ หากมีความเข้าใจเครื่องมือเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรฝึกอบรม อาจารย์ในหลักสูตร ผู้เรียนทุกคน

...
journal-2023-03-cover4

Issue 3 : Team-based learning in health science education - 2023

TBL : team-based learning เป็นหนึ่งในการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ ทำงานร่วมกันเป็นทีมฝึกทักษะการสื่อสาร และจัดเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ทรัพยากรไม่มาก จึงควรถูกส่งเสริมให้นำไปประยุกต์ใช้มากขึ้นในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากไม่เข้าใจในหลักการการออกแบบห้องเรียน team-based learning ที่เหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนไม่สามารถพัฒนาทักษะต่างๆได้อย่างเต็มที่

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme

...
journal-2023-02-cover5

Issue 2 : High quality MCQs for health science education - 2023

ข้อสอบปรนัย เป็นหนึ่งในรูปแบบการสอบที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องด้วยข้อดีหลายประการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบปรนัยที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ยังพบได้อยู่มาก และทำให้เกิดปัญหาการวัดผลที่ไม่แม่นยำและทำผู้สอนไม่สามารถแยกผู้เรียนในระดับความสามารถต่างๆออกจากกันได้ ดังนั้น การปรับปรุงให้ข้อสอบปรนัยมีคุณภาพที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่งและควรทำให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้

...
journal-2023-01-cover6

Issue 1 : How to teach patient-centered care - 2023

ผู้ป่วย ถือเป็นสมาชิกที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในทีมการรักษา แต่ทว่า จนถึงปัจจุบันทีมรักษาทางการแพทย์ก็มักจะละเลยความสำคัญในการดึงผู้ป่วยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมรักษาอยู่เสมอ จึงนำไปสู่ปัญหาระหว่างทีมแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันยิ่งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสร้างบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในอนาคต จึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าใจและนำหลักการการรักษาโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered care) ไปใช้ในการปฏิบัติงาน

วารสาร SHEE journal

...
journal-2022-04-cover7

Issue 4 : Practical points in workplace-based learning - 2022

การเรียนรู้ในโรงเรียนแพทย์และโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีประสบการณ์ส่วนที่สำคัญมากและถือเป็นลักษณะเฉพาะที่มีความพิเศษมากในการจัดการศึกษาคือ การเรียนรู้ในสถานที่ทำงาน (workplace) ซึ่งทุกวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์สุขภาพต้องมีการจัดการเรียนการสอนในส่วนนี้จึงจะสามารถสร้างบัณฑิตที่มีความสามารถในการทำงานในระบบสุขภาพได้จริง

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “Practical points in workplace-based learning”
...
journal-2022-03-cover8

Issue 3 : How to design an effective curriculum in health science schools - 2022

ในปัจจุบันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เนื้อหาความรู้ที่มีนั้นมีมากขึ้น การที่จะให้ผู้เรียนต้องเรียนรู้ในทุกๆเรื่องอาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก รวมถึงผู้เรียนในปัจจุบันที่มีรูปแบบในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ดังนั้นในฐานะอาจารย์ผู้สอนเราจะทำอย่างไรให้เราสามารถที่จะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น SPICES model อาจจะเป็นคำตอบ

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “How to design an effective
...
journal-2022-02-cover9

Issue 2 : Simulation in health science education - 2022

การสอนด้วยสถานการณ์สมมติ (simulation) ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันทำกันหลากหลายรูปแบบมาก ตั้งแต่ให้นักศึกษาแสดงบทบาทสมมติกันเอง (role play) ใช้ผู้ป่วยมาตรฐาน (standardized patient, SP) การฝึกทักษะหัตถการจากแบบจำลองบางส่วนของร่างกาย (part task trainer) หุ่นจำลองเต็มตัว (mannequin) ใช้คอมพิวเตอร์ในการฝึกวิเคราะห์และแก้ปัญหาให้ผู้ป่วย (computer-based simulation) ไปจนถึงการใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual reality, VR) หรือเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented reality, AR)
...
journal-2022-01-cover10

Issue 1 : Well-being in medical schools - 2022

การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นบริบทการเรียนรู้และการทำงานที่หนัก การบริหารจัดการหลักสูตรจะสนใจเฉพาะการนำเสนอเนื้อหาวิชาการอย่างเดียวไม่ได้ ผู้อ่านทุกท่านคงได้มีประสบการณ์พบเห็นผู้เรียน ผู้สอนที่มีปัญหาในการเรียนหรือการทำงานจนเรียนไม่จบ ซึ่งไม่ได้มีต้นเหตุมาจากความบกพร่องในด้านวิชาการ แต่เป็นเพราะปัญหาทางจิตใจ ความเครียด เป็นโรคทางจิตเวช หรือหมดไฟ ดังนั้นโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพพึงใส่ใจในเรื่องความอยู่ดีมีสุขของผู้เรียน ผู้สอน และบุคลากรทั้งด้านร่างกาย
...
journal-2021-04-cover11

Issue 4 : Emerging issues in assessment - 2021

วารสารฉบับนี้เป็นวารสารฉบับครบรอบ 2 ปีของวารสาร SHEE journal เป็นช่วงสองปีที่วารสารได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดี ทางทีมงานก็ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่ให้ความสนใจ ติดตามเนื้อหาสาระดีๆเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องในโอกาสครบรอบสองปีของวารสาร ทางทีมงานได้เชิญปรมาจารย์ในวงการแพทยศาสตรศึกษา ศ.นพ. เฉลิม วราวิทย์ และ ศ.นพ.วราวุธ สุมาวงศ์ นิพนธ์บทความเกี่ยวกับประวัติแพทยศาสตรศึกษาในประเทศไทย เป็นบทความพิเศษที่จะทำให้เราทุกคนได้เห็นว่า
...
journal-2021-03-cover12

Issue 3 : Teaching techniques in health science schools - 2021

การสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นงานท้าทายความสามารถ เพราะต้องใช้ทั้งศาสตร์ทางการศึกษาและการแพทย์ ร่วมกับศิลปะความเป็นครู และการดูแลผู้ป่วยอย่างเข้าใจมาผสมผสานกันอย่างลงตัวจึงจะทำให้เกิดการสอนที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนเก่งขึ้น มีทักษะที่ดีขึ้น และคนไข้ก็มีความสุข ได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ดี

ในยุคปัจจุบันที่มีการเพิ่มขึ้นขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างรวดเร็ว มีโรคอุบัติใหม่ มียาใหม่ มีเทคโนโลยีการวินิจฉัยและรักษาใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
...
journal-2021-02-cover13

Issue 2 : Clinical teaching methods - 2021

การสอนชั้นคลินิกเป็นงานที่ท้าทายความสามารถ เนื่องจากครูต้องทำหน้าที่พัฒนาผู้เรียนให้สามารถทำหน้าที่ทางวิชาชีพได้ โดยที่การเรียนรู้หลายอย่างต้องอาศัยการฝึกฝนกับผู้ป่วยซึ่งเป็นคนที่มีอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ครูผู้สอนชั้นคลินิกต้องใช้ทักษะการสอนต่าง ๆ มากมายเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียน ในขณะเดียวกันกับที่ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ปลอดภัย ประกอบกับในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
...
journal-2021-01-cover14

Issue 1 : Preclinical teaching methods - 2021

การสอนชั้นปรีคลินิกเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งของการสอนนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องจากความเข้าใจที่ดีในเนื้อหาปรีคลินิกจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ความรู้ในการทำงานชั้นคลินิกอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจ และเรียนอย่างมีความสุข

ในวารสาร SHEE journal ฉบับนี้ ทีมงานได้รวบรวมผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญหลายต่อหลายท่านมาช่วยแลกเปลี่ยน เกี่ยวกับแนวทางในการสอนนักศึกษาระดับปรีคลินิกที่น่าสนใจ
...
journal-2020-05-cover15

Issue 5 : Non-technical skills - 2020

Non-technical skills หรือทักษะการทำงานที่ไม่ใช่เทคนิคทางการแพทย์แต่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย เป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพมากขึ้น เหตุที่ทำให้ทักษะเหล่านี้ได้ถูกหยิบยกมาสอน และพัฒนากันในบุคลากรทางการแพทย์เริ่มต้นมาจากรายงาน To err is Human ของ Institute of Medicine ในปี ค.ศ. 1999 ที่พบว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ในแต่ละปีมีผู้ป่วยราว 44,000 – 98,000 รายที่เสียชีวิตเนื่องจากความผิดพลาดของทีมแพทย์ ซึ่งเมื่อทำ root cause analysis
...
journal-2020-04-cover16

Issue 4 : Digital technology - 2020

Digital technology หมายถึงอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือระบบ ที่ใช้การประยุกต์ความก้าวหน้าทางด้านการเก็บรวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูล เพื่อการทำงานหรือใช้ชีวิตให้สะดวกสบายขึ้น

ในขณะนี้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทยควบคุมได้ดี มีการเปิดให้ทำกิจกรรมต่างๆใกล้เคียงสภาวะปกติมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มนำนักเรียนกลับเข้ามาเรียนในห้องเรียน แต่เราคงจะไม่ยกเลิกการใช้ digital technology กลับไปจัดการเรียนการสอนเหมือนเดิมก่อนจะมี COVID-19
...
journal-2020-03-cover17

Issue 3 : Online learning - 2020

SHEE journal ฉบับนี้เราได้นำเสนอประเด็นเรื่อง online learning โดยมุ่งหวังที่จะช่วยนำเสนอแนวคิด และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ครูแพทย์ และโรงเรียนวิทยาศาสตร์ สุขภาพ สามารถเข้าใจ และเข้าถึงได้ง่าย และช่วยทำให้ การสอน และการประเมินผลในช่วงที่นักศึกษาไม่สามารถเข้ามาเรียนในโรงเรียนได้สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยากชวนทุกท่านเปิดใจลองทำความรู้จัก กับคำศัพท์ และโปรแกรมใหม่ๆที่เรานำเสนอไม่จำเป็น ที่ครูทุกคนต้องใช้เครื่องมือ หรือวิธีการทุกอย่างที่เรา นำเสนอ
...
journal-2020-02-cover18

Issue 2 : Effective learning environment - 2020

หลายท่านอาจคิดว่าสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ นั้นหมายถึง อาคาร ห้องเรียน ห้องสมุด หรือสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งอาจารย์หลายท่านอาจมองว่าเป็นเรื่องที่นอกเหนือไปจากที่ตนเองจะไปปรับเปลี่ยนได้ แต่ในการพูดถึงสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในปัจจุบัน มีความหมายที่กว้างกว่านั้นมาก สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ครอบคลุมทั้งด้านกายภาพ (physical) สังคม (social) และ จิตใจ (psychological) และในยุคปัจจุบัน สภาพแวดล้อมที่ต้องคํานึงถึงด้วยคือสภาพแวดล้อมใน internet (เช่นใน social media, website ต่าง ๆ)
...
journal-2019-01-cover19

Issue 1 : Educational disruption - 2019

ในปัจจุบันมีความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และการให้บริการทางการแพทย์ บริษัทใหญ่ๆ ที่ไม่ปรับตัว บางบริษัทถึงขั้นต้องปิดกิจการ ดังนั้นโรงเรียน วิทยาศาสตร์สุขภาพต้องทบทวนตนเองอย่างจริงจังว่าสิ่งที่ทำกันอยู่นั้น ควรได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างไรบ้าง คงเลี่ยงไม่ได้แล้ว ที่ครูผู้สอนในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพจะต้องปรับตัว

วารสารฉบับนี้จึงขอยก Educational disruption มาเป็นประเด็นที่จะพูดถึงกันครับ

Notification

Question and Answer ร่วมกิจกรรม Q&A ส่งคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือแพทยศาสตรศึกษา สำหรับท่านที่ส่งคำถามจะได้รับ 1 คะแนน (ทุกท่านสามารถส่งได้ 1 คำถาม/ 1 วัน) หากคำถามของท่านถูกคัดเลือกมาตอบใน SHEE Journal จะได้รับเพิ่มอีก 1 คะแนน คลิกที่นี่

คลิกที่นี่





ท่านสามารถเก็บคะแนน CPD / CME ได้จากระบบ SHEE Online Course โดยสามารถ Click ที่ปุ่มด้านล่างนี้เพื่อเข้าสู่ระบบ

 

Free Joomla! templates by Engine Templates