SHEE วารสารฉบับที่ 4 ปี 2024 (Full Version)
วารสาร SHEE journal ฉบับนี้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานของ IPE โดยปูพื้นฐานจากสมรรถนะหลัก (core competencies) ที่จัดเป็นเป้าหมายสำคัญในการสอน IPE ผู้เขียนได้นำเสนอแนวทางการจัด IPE ด้วยกระบวนการที่เป็นรูปธรรมได้แก่การสอนในบริบทเวชศาสตร์ชุมชน (community-based medicine) และการสอนด้วยสถานการณ์สมมติ (simulation-based IPE) นอกจากนี้องค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือการประเมินผลวารสารนี้จึงมีบทความแสดงแนวทางการประเมิน Interprofessional competencies ด้วยนอกจากนี้ทีมงานก็ยังได้ไปสอบถามนักศึกษาแพทย์เกี่ยวกับประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกันบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพซึ่งน่าจะทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจผู้เรียนได้มากขึ้นส่วนใน column Education movement ผมก็ได้นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมสนับสนุนการสอน IPE ในบริบทของโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพไทยและในบทความ SHEE sharing ฉบับนี้ก็ได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับการพัฒนา interprofessional competencies ด้วยรูปแบบการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกุมารเวชศาสตร์ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่อาจารย์แพทย์ที่สนใจสามารถนำไปใช้ได้
นอกจากเนื้อหาที่น่าศึกษาเกี่ยวกับ IPE ที่นำเสนอในวารสารนี้แล้วทางทีมงานก็ยังได้นำเสนอบทความใน column ประจำอีกหลายเรื่องได้แก่การสัมภาษณ์อาจารย์ศิริรัตน์เส้งเอียดผู้ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นของสภาอาจารย์ศิริราชประจำปีพ.ศ. 2566 ในคอลัมน์เชิด-ชูส่วนในคอลัมน์ Message from Deputy Dean ท่านรองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลก็จะได้มา update ความคืบหน้าในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในคอลัมน์ SHEE research ดร.เกียรติยศได้นำเสนองานวิจัยเชิงอนาคต (อนาคตศึกษา) ซึ่งเป็นรูปแบบงานวิจัยที่หลายท่านอาจไม่เคยรู้จักมาก่อนซึ่งเป็นแนวทางการวิจัยเพื่อคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดในอนาคตบนพื้นฐานข้อมูลที่มีเพื่อให้อาจารย์สามารถวางแผนรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้นสำหรับคอลัมน์ Click & Go with technology ฉบับนี้จะเป็นการสอนการใช้งาน function Cite While You Write ของ EndNote ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับอาจารย์ที่ต้องการเขียน reference citation ให้กับบทความวิชาการของตนเองครับ
Author: SHEE Admin
Downloads: 42
Issue4/2024-01 Executive talk
การทำงานดูแลรักษาผู้ป่วยในปัจจุบันต้องอาศัยความร่วมมือกันของบุคลากรหลายสาขาวิชากล่าวได้ว่าแทบไม่มีบริบทการทำงานใดเลยที่แพทย์ทำงานดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือหรือสนับสนุนจากบุคลากรคนอื่นการออกแบบระบบการจัดการศึกษาก็พึงจัดให้กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแนวทางการจัดการสอนแบบดั้งเดิมมักเป็นการสอนแยกวิชาชีพต่างคนต่างเรียนรู้เฉพาะเรื่องของตนเอง (uniprofessional education) เป็นวิธีการที่ประสบปัญหาบัณฑิตแพทย์และบัณฑิตจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่นๆจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจว่าบุคลากรวิชาชีพอื่นทำงานอย่างไรจะประสานความร่วมมืออย่างไรให้มีประสิทธิภาพเกิดปัญหาความไม่เข้าใจกันส่งผลไปถึงความปลอดภัยของคนไข้พัฒนาการที่วงการศึกษาออกแบบในช่วงแรกเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวทำโดยการจัดการสอนที่หลักสูตรจัดให้มีเวลาที่ผู้เรียนได้มีโอกาสรับฟังทำความเข้าใจวิธีคิดวิธีทำงานของวิชาชีพที่หลากหลาย (multiprofessional education) ทำให้บัณฑิตแพทย์เริ่มตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการร่วมมือและช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่มเพื่อนต่างวิชาชีพแต่อย่างไรก็ตามหลักสูตรลักษณะดังกล่าวยังไม่ได้พัฒนาทักษะในการทำงานร่วมกันระหว่างวิชาชีพแนวทางการจัดการศึกษาที่จะตอบโจทย์การทำงานร่วมกันของสหสาขาวิชาชีพคือ Interprofessional education ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันกับเพื่อนต่างวิชาชีพ
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน
Downloads: 3
Issue4/2024-02 Core Competencies for Interprofessional Collaborative Practice
การจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพนอกจากต้องครอบคลุมด้าน basic science และ clinical science แล้ว ยังต้องมุ่งเน้นอีกด้านหนึ่งที่สำคัญคือ health systems science ซึ่งจะครอบคลุมถึงเรื่องของ patient safety, rational drug use, quality improvement, interprofessional teamwork, leadership ด้วย จากการที่ระบบสุขภาพในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้นและบางส่วนยังคงไม่เชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ (fragmented health system) จึงเพิ่มโอกาสของการเกิดความผิดพลาดทางการแพทย์ (medical errors) ซึ่งได้เห็นข่าวกันอยู่บ่อย ๆ โดยมีสาเหตุที่สำคัญคือ การสื่อสารผิดพลาด (miscommunication) พบว่าหนึ่งในมาตรการที่สามารถช่วยป้องกันหรือลดความผิดพลาดทางการแพทย์และทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้น คือการให้บริการทางแบบองค์รวมโดยสหสาชาวิชาชีพ
Author: ผศ.ดร.ภญ.ณัฐาศิริ ฐานะวุฑฒ์
Downloads: 4
Issue4/2024- 03 Teaching IPE Through Community-based Medicine
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลที่มาจาก 2 สาขาวิชาชีพหรือมากกว่า ได้เรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ตัดสินใจร่วมกันโดยใช้ข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกฝ่าย และรับผิดชอบจากผลของการตัดสินนั้นร่วมกัน เป็นลักษณะของ interprofessional education (IPE) หากไม่ครบองค์ประกอบ เช่น มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แต่ขาดการตัดสินใจร่วมกัน ผู้ที่มีบทบาทหรืออำนาจยังเป็นผู้ตัดสินใจหลักก็ยังเป็นเพียงการทำงานหรือการเรียนแบบ multiprofessional ซึ่งจะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของ IPE ในการสร้างสมรรถนะของการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างเคารพในบทบาทหน้าที่ของทุกฝ่ายโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
Author: ผศ. ดร. พญ.มยุรี หอมสนิท
Downloads: 5
Issue4/2024- 04 Simulation-based learning for effective interprofessional education
การเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ หรือ Interprofessional Education (IPE) มีความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ต้องทำงานร่วมกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพในสภาพแวดล้อมแบบทีม เมื่อนำมาออกแบบสู่บทเรียนด้วยการสอนด้วยสถานการณ์จำลอง (Simulation-Based Learning) ซึ่งเป็นแนวทางการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ส่งเสริมการสอนโดยสร้างสถานการณ์ทางคลินิกที่สมจริงในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ ให้เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มาจากหลากหลายสหสาขาวิชาชีพอย่างน้อย 2 สาขา ตามทฤษฎีการเรียนรู้ต่างๆที่ศึกษาเกี่ยวกับข้อได้เปรียบของการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพและการสอนด้วยสถานการณ์จำลองอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ในด้านข้อจำกัดของการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพด้วยสถานการณ์จำลอง เช่น การจัดเวลาร่วมกันจากทีมสหสาขาวิชาชีพเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องนำมาวางแผนและพัฒนาให้เกิดรูปแบบการเรียนที่ทรงประสิทธิภาพนี้ให้เกิดขึ้นจริงได้ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดด้วยกระบวนการคิดที่แตกต่างจากการเรียนการสอนอื่นๆ
Author: พว.พัชชา ห่อตระกูล
Downloads: 3
Issue4/2024- 05 Assessment of Interprofessional Competencies in Health Science Schools
จากบทความก่อนหน้านี้ ทุกท่านคงได้เห็นความสำคัญของการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (Interprofessional Education: IPE) ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานร่วมกันในระบบสาธารณสุขแบบองค์รวม โดยกรอบแนวคิดสากลของ IPEC (Interprofessional Education Collaborative) ได้กำหนดสมรรถนะหลัก 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ จริยธรรมและค่านิยมร่วมกัน (Values/Ethics), บทบาทและความรับผิดชอบ (Roles/Responsibilities), การสื่อสาร (Communication), และการทำงานเป็นทีม (Teams/Teamwork) ซึ่งแต่ละด้านล้วนมีความสำคัญในการสร้างความพร้อมให้กับนักศึกษาสำหรับการทำงานในทีมสุขภาพ การประเมิน IPE ที่สมบูรณ์พึงครอบคลุมสมรรถนะทั้งสี่ด้าน ในบทความนี้ ผู้เขียนจะเสนอแนะแนวทางในการประเมินสิ่งเหล่านี้ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Author: รศ.ดร.นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์, นพ.คณิน ดาษถนิม
Downloads: 5
Issue4/2024- 06 Message from Deputy Dean
สวัสดีครับ หลายเดือนที่ผ่านมามีกิจกรรมด้านการศึกษามากมายเกิดขึ้นและมีหลายเหตุการณ์ที่น่าสนใจ ซึ่งผมจะได้มาเล่าให้ทุกท่านฟังถึงความก้าวหน้าทางการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในช่วงที่ผ่านมา
หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงท่านอธิการบดี ทำให้นโยบายด้านการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทีมบริหารคณะฯ จึงได้มีการทบทวนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาอีกครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา และมีบทสรุปกลยุทธ์ด้านการศึกษาออกมา 3 ข้อ ได้แก่
1) ความเป็นเลิศด้านการจัดการการศึกษา คณะฯ มีเป้าหมายสมัครเข้าร่วมการตัดสินรางวัล ASPIRE award ซึ่งเป็นรางวัลระดับนานาชาติ 4 สาขา ได้แก่ curriculum development, faculty development, simulation และ student engagement ในการประชุมวิชาการแพทยศาสตรศึกษานานาชาติ AMEE 2025
2) ความเป็นเลิศด้านหลักสูตร ทั้งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) และโครงการ Pi-shape excellence ที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
3) ความเป็นเลิศด้านความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ ผ่านการพัฒนาหลักสูตรหลังปริญญา ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ภายใต้การทำงานร่วมกับคู่ความร่วมมือที่ได้ทำ MOU กับศิริราช
Author: รศ. นพ.ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์
Downloads: 3
Issue4/2024- 07 Students' voice
ในบทความ Students’ voice นี้ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมาจากตัวแทนผู้เรียนจากหลากหลายคณะสหวิชาชีพและสถาบัน เพื่อให้ผู้อ่านทุกท่านมีความเข้าใจถึงมุมมองของผู้เรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ อีกทั้งเพื่อให้ผู้อ่านนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นผ่านการสอบถามประเด็นคำถาม ดังนี้
- ประสบการณ์การเรียนรู้แบบสหวิชาชีพที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง
- คิดว่าการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพมีความสำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานในอนาคตอย่างไร
- นักศึกษาสามารถเรียนรู้อะไรได้บ้างจากการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ
- รูปแบบการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพที่ต้องการเป็นอย่างไร
- อุปสรรคใดบ้างทำให้การเรียนรู้แบบสหวิชาชีพไม่มีประสิทธิภาพในมุมมองของนักศึกษา
Author: พญ.ภควรรณ ลีลาธุวานนท์
Downloads: 3
Issue4/2024- 08 เชิด-ชู
กลับมาอีกครั้งกับบทความเชิดชู ในวารสารฉบับนี้ทางทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ อาจารย์ศิริรัตน์ เส้งเอียด อาจารย์ประจำโรงเรียนกายอุปกรณ์สิรินธร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SSPO) มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีการจัดการเรียนการสอนด้านกายอุปกรณ์ ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจารย์ศิริรัตน์ เส้งเอียดได้รับ รางวัลอาจารย์ดีเด่นของสภาอาจารย์ศิริราช ประจำปี 2566 ‘รางวัลอาจารย์ดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ’ในวันที่ 27 กันยายน 2567 อาจารย์ศิริรัตน์เป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นและความเป็นเลิศในบทบาทการสอน รวมถึงการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย เราได้พูดคุยกับอาจารย์ในหลายประเด็นที่สะท้อนถึงประสบการณ์ มุมมอง และแรงบันดาลใจในการเป็นอาจารย์
Author: นพ.คณิน ดาษถนิม
Downloads: 7
Issue4/2024- 09 สับ สรรพ ศัพท์
Social Determinants of health
หนึ่งในปัญหาของระบบสาธารณสุขที่สำคัญในปัจจุบันคือปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพ ซึ่งเบื้องหลังของปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสุขภาพเกิดขึ้นจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและระบบที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตไปจนถึงกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ ซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ปัจจัยเหล่านั้นเรียกว่า ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) .......
Cultural Humility
Cultural Humility หรือ ความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม เป็นกระบวนการที่เรียนรู้ผ่านวิธีการสะท้อนคิด (self -reflection) และพิจารณาตัวเองอย่างลึกซึ้งเพื่อทำความเข้าใจความเชื่อ อคติและค่านิยมของตนเอง ก่อนที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้อื่น ความนอบน้อมต่อวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสำคัญของทีมสุขภาพทุกระดับในการเรียนรู้เพื่อยอมรับและเข้าใจวิถีวัฒนธรรม ในความแตกต่างของบุคคลในแต่ละองค์กร........
DEIB (Diversity, Equity, Inclusion and Belongings)
ในการทำงานในหน่วยงานหรือองค์กรหนึ่ง บุคคลในองค์กรนั้นๆล้วนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น เพศ รสนิยมทางเพศ ภูมิหลังทางชาติพันธุ์ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ แนวคิด มุมมอง ทัศนคติ ความสนใจ ฯลฯ แนวคิด DEIB เป็นแนวคิดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำให้องค์กรที่ประกอบด้วยความหลากหลาย สามารถทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนา สร้างสรรค์ และทำงานอย่างเท่าเทียม ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้กับการศึกษาแบบสหวิชาชีพ (Interprofessional Education: IPE) ที่ประกอบด้วยผู้เรียนจากหลากหลายสาขาวิชา ให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างเคารพ ให้เกียรติ และทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม โดย DEIB ประกอบด้วย D:Diversity E:Equity I:Inclusion และ B: Belonging..........
Active listening
การฟังเป็นทักษะหนึ่งที่มีความสำคัญในกระบวนการสื่อสารเป็นอย่างมาก การฟังอย่างตั้งใจ หรือ Active listening คือการฟังที่พยายามเข้าใจมุมมองของผู้พูด แสดงความสนใจอย่างจริงจังในสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อออกมา ซึ่งมีความแตกต่างกับการฟังด้วยความตั้งใจที่จะพูด การฟังลักษณะนี้คือการฟังที่สนใจในสิ่งที่ตัวเองจะพูดต่อไป มากกว่าจะตั้งใจฟังในสิ่งที่อีกฝ่ายพูด วิธีการฟังแบบนี้มุ่งเน้นไปที่การแสดงความคิดเห็นของตัวเองมากกว่าการพยายามเข้าใจมุมมองของอีกฝ่าย ทั้งนี้การฟังอย่างตั้งใจย่อมเกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารมากกว่าการฟังแบบทั่วไป โดยการฟังอย่างตั้งใจ (Active listening) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ..........
Author: นพ.ธนภัทร ประกายรุ้งทอง
Downloads: 3
Issue4/2024- 10 Education movement
ในวารสารฉบับนี้ผมและผู้เขียนหลายท่านได้ชักชวนให้ผู้อ่านทุกท่านเห็นความสำคัญของการสอน Interprofessional Education นอกจากนี้ผู้เขียนหลายท่านยังได้อธิบายหลักการในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้พัฒนา Interprofessional competencies ได้อย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับว่าการดำเนินการเพื่อให้เกิดการเรียนการสอน Interprofessional Education อย่างเป็นรูปธรรมในบริบทของโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพไทยเป็นเรื่องที่ท้าท้ายเพราะต้องมีการปรับเปลี่ยนเยอะมากและต้องประสานงานกับคนจำนวนมากจากหลายหลักสูตรในบทความนี้ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางที่โรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพไทยสามารถใช้วางแผนการปรับเปลี่ยนเพื่อส่งเสริม Interprofessional Education
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 3
Issue4/2024- 11 SHEE Sharing
จากบทความที่ผ่านมาหลายท่านคงได้ทราบถึงความสำคัญของการเรียนรู้แบบ สหวิชาชีพ แง่มุมต่างๆของอาจารย์และนักศึกษาต่อการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ บทความนี้ผู้เขียนได้คัดเลือกบทความ “We just did it as a team”: Learning and working on a paediatric interprofessional training ward improves interprofessional competencies in the short- and in the long-term โดย Sebastian F.N. Bode และคณะ ตีพิมพ์ในวารสาร Medical teacher ปี 2023 มานำเสนอให้ทุกท่าน การศึกษานี้จัดทำขึ้น ณ โรงเรียนแพทย์ Freiburg ประเทศเยอรมนี
Author: นพ.ฌาณ จิตรนำทรัพย์
Downloads: 3
Issue4/2024- 12 SHEE Research
วิจัยเชิงอนาคต (หรือ อนาคตศึกษา) คือ วิธีคาดการณ์เหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลตัวเลขสถิติและความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำนายว่าสิ่งใดจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่คาดหวัง แล้วเราจะรับมือกับมันอย่างไร(ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต) เราจะเลือกใช้วิจัยเชิงอนาคต เมื่อวัตถุประสงค์การวิจัยเกี่ยวกับอย่างน้อย 1 ใน 3 หัวข้อนี้ ต่อไปนี้
1) อยากรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้น หรืออยากให้เกิดขึ้นในอนาคต เช่น เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์การปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต
2) ค้นหาสิ่งที่เหตุปัจจัย หรือตัวแปรที่ทำให้เปลี่ยนแปลง เช่น เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวโน้มจากปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อระบบการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3) บอกถึงทางเลือกของเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคตอย่างหลากหลาย (ทางเลือกดีที่สุด ทางเลือกเป็นไปได้ ทางเลือกเลวร้ายที่สุด) เช่น เพื่อสังเคราะห์ฉากทัศน์ความเป็นไปได้ของระบบการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพในอีก 10 ปีข้างหน้า
Author: ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Downloads: 3
Issue4/2024- 13 Click&Go with Technology
Endnote เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการบรรณานุกรม โดยจะทำหน้าที่ในการจัดเก็บ รวบรวมและนำเข้าข้อมูลบรรณานุกรมที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยการป้อนเอง หรือนำเข้าจากฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถดึงบรรณานุกรมจากโปรแกรม Endnote ไปใช้ในการสร้างเอกสารบรรณานุกรมในรูปแบบตามที่วารสารต่างๆ กำหนดในโปรแกรม Microsoft Word ได้อีกด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย ในการเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดึงบรรณานุกรมจากโปรแกรม Endnote ไปใช้ในการสร้างเอกสารบรรณานุกรมในโปรแกรม Microsoft Word เท่านั้น เล่ามาถึงตรงนี้แล้ว มาเริ่มต้นสร้างกันเลยนะคะ
Author: ผศ. ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
Downloads: 4
Issue4/2024- 14 SHEE Podcast
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้นำเสนอ SHEE Podcast รายการที่รวบรวมสาระน่ารู้ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ผ่านการสนทนาที่เป็นกันเอง มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าถึงความรู้ทางด้านการศึกษาได้สะดวกและเข้าใจง่าย ในทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของเดือน เวลา 20.00 น. ผ่านทางช่องทางต่างๆของศูนย์ SHEE
โดย series ใหม่ในปีนี้มาพร้อมแนวคิดใหม่ สำหรับทุกท่านที่ต้องการประยุกต์ใช้ความรู้จากศาสตร์อื่นๆมาช่วยให้เทคนิคการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่การอ่านหนังสือเล่มหนึ่งก็ใช้เวลามาก หรือจะใช้ศึกษาจิตวิทยาการเรียนรู้ด้วยตัวเองก็อาจต้องใช้ความพยายามระดับหนึ่ง SHEE Podcast ใน series 7 และ 8 ได้นำเสนอเรื่องราวเหล่านี้ผ่านการพูดคุยที่เข้าใจง่าย และยกตัวอย่างการนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ
Author: นพ.คณิน ดาษถนิม
Downloads: 5
Issue4/2024 - Q&A
ร่วมกิจกรรม Q&A ส่งคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือแพทยศาสตรศึกษา
Author: SHEE Admin
Downloads: 5