Page 35 - 3_2023_journal
P. 35
เกิด assessment for learning มากขึ้น
3 กระบวนการ formative feedback ควบคู่ไปด้วย แม้ว่าในการเรียนรู้รูปแบบ team-
การประเมินผลในแต่ละจุดจะเกิดประโยชน์กับผู้เรียนได้ยิ่งขึ้นเมื่อเกิด
based learning จะมีส่วนประกอบของ feedback อยู่หลายขั้นตอน เช่น immediate
feedback assessment technique ในขั้นตอน gRAT หรือ กระบวนการ application exercise ที่
ให้แสดงคำาตอบพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม สามารถเพิ่มส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ได้อีกดังนี้
3.1 ให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงคุณภาพมากขึ้น
หมายถึง มากกว่าการให้คะแนนเป็นตัวเลข เช่น
ไม่ควรให้การประเมินผลมีแค่ได้ 8 เต็ม 10 คะแนน
ควรออกแบบแนวทางการประเมินผลให้มีการเขียน
อธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การประเมินการมี
ส่วนร่วมกลุ่ม หากมีพื้นที่ให้เขียนเพิ่มเติม กลุ่มที่
ได้คะแนนเท่ากันอาจทราบว่า กลุ่มหนึ่งได้คะแนน
น้อย เพราะทั้งกลุ่มไม่ออกความเห็นอภิปรายกับ
ห้องเรียน ในขณะที่อีกกลุ่มได้คะแนนน้อยเพราะ
ทำางานไม่เป็นทีม แต่จับกลุ่มย่อยอภิปรายกัน
มากกว่า โดยเฉพาะการประเมิน
peer assessment ควรมีประเด็นเขียนเพิ่มเติมอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อมูลผ่านการสังเกตการทำางาน
ของเพื่อนในกลุ่ม มีรายละเอียดมากและไม่ควรจำากัดให้เหลือเพียงการให้ตัวเลขเท่านั้น การประเมินใน
ลักษณะเช่นนี้ จะช่วยให้ผู้ถูกประเมินทราบจุดพัฒนาและปรับแก้ข้อผิดพลาดได้ดียิ่งขึ้น
3.2 เก็บผลการประเมินไว้ทบทวนระยะยาว หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้ในรูปแบบ team-
based learning ในหลายชั้นปี มีโอกาสได้เปลี่ยนสมาชิกในกลุ่มตลอดที่ได้เรียนและเลื่อนชั้นปี ผล
การประเมินที่เก็บสะสม โดยเฉพาะข้อมูลเชิงคุณภาพหรือการประเมินผลเกี่ยวกับ soft skills
ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการประเมินและจะไม่เน้นคะแนนจากแบบทดสอบหรือเกรดที่ได้รับ ควรถูกเก็บ
สะสมเพื่อให้ทั้งผู้เรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถเห็นการพัฒนาในระยะยาวของผู้เรียนคนหนึ่งได้
ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาต่อไปให้สามารถมีคุณลักษณะที่เหมาะสมของบัณฑิตได้
เช่น รวบรวมผลการประเมินทักษะการสื่อสารจาก peer assessment ไว้ และแสดงให้ผู้เรียนเห็น
เป็นราย 6 เดือน หรือรายปี หรืออาจจัดทำารวมใน portfolio ก็จะยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น
32