Page 46 - 3_2023_journal
P. 46

Future of TBL administration

              ในปัจจุบัน มีการปรับรูปแบบกิจกรรมจาก traditional TBL เช่น Case-based Collaborative

       Learning (CBCL) ซึ่งปรับโดย Harvard Medical School ซึ่งทำาการประยุกต์และพัฒนาต่อยอดจาก
       TBL โดยการตัดยก iRAT ให้อยู่ใน pre-class requisite ที่ผู้เรียนต้อง submit ก่อนเข้า class และมี
       การเพิ่ม open-ended question ระหว่างการเรียนมากขึ้น รวมไปถึงกลุ่มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือจะเป็น

       TeamLEAD ของ Duke-NUS สิงค์โปร ที่เน้น Collaboration มากยิ่งขึ้น และมีการสร้าง TBL theater
       ขึ้นมาโดยเฉพาะสำาหรับจัดการเรียนการสอน TeamLEAD อย่างไรก็ตามการจัดยังมีความท้าทายในผู้เรียน
       กลุ่มขนาดเล็กมาก  หรือผู้เรียนที่มีตารางเวลาไม่ตรงกัน  เช่น  แพทย์ประจำาบ้าน  ยังคงเป็นความท้าทาย

       ในการจัด TBL อยู่พอสมควร ดังนั้นจึงเห็นว่าปัจจุบัน TBL ยังมีการศึกษาอยู่เฉพาะในการเรียนการสอน
       หลักสูตรก่อนปริญญาเป็นหลัก  โดยอาจจะมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าก็สามารถใช้จัดการเรียนการสอน
       หลังปริญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน  เช่น  การสอนระดับปริญญาโทเป็นต้น ซึ่งในอนาคตที่สามารถ

       จัด online ปัญหาเรื่องผู้เรียนกลุ่มเล็ก หรือเวลาที่สะดวกไม่ตรงกันก็อาจลดลงและได้เห็นการจัดใน
       แพทย์ประจำาบ้าน ผู้เรียนระดับชั้นคลินิกหรือมีการจัดแบบสหสาขาวิชาชีพมากขึ้น
             Conclusion


              เชื่อว่าถึงจุดนี้คำาถามที่ตั้งไว้ในใจของผู้อ่าน คงได้คำาตอบไปพอสมควร และน่าจะช่วยให้ผู้อ่าน
       มีความมั่นใจมากขึ้นในการจัด  TBL  ในอนาคต  ท่านผู้อ่านคงพอเห็นแล้วว่าข้อดีของการเรียน
       การสอน TBL คือสามารถสอนผู้เรียนกลุ่มใหญ่ได้ดี ผู้เรียนได้ฝึกกระบวนการกลุ่มและการทำางานเป็นทีม
       ใช้ปริมาณอาจารย์ในการดำาเนินการกลุ่มไม่มากนัก  แนวทางในการประเมินผลได้ชัดเจน  เป็นรูปแบบ

       การเรียนที่มีประสิทธิภาพการเรียนรู้สูง  แต่จะเห็นว่ามีขั้นตอนในการเตรียมตัวก่อนจัดคาบเรียนของทั้ง
       ผู้เรียนและผู้สอน  เตรียมสถานที่  และต้องอาศัยพลังแรงใจในการเรียนของผู้เรียนที่จะต้องมีส่วนร่วมกับ

       กิจกรรมตลอดช่วง ดังนั้นในส่วนสุดท้ายนี้จึงอยากสรุปประเด็นที่สำาคัญที่สุดของการจัด TBL คือ การจัด TBL
       ด้วยปริมาณที่เหมาะสม ไม่ถี่จนเกินไป และไม่นานจนเกินไป จัดสรรเวลาให้เพียงพอกับการเตรียมการ
       ในการจัด เหมาะสมต่อการทำางานของทีมคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และเหมาะสมกับทรัพยากร ห้องเรียนที่มี
       อยู่ในสถาบันการศึกษา สำาหรับบริบทของไทยเอง ยังถือว่าการจัด TBL ยังไม่แพร่หลาย และยังมีการจัด

       ไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น ผมจึงอยากเชิญชวนผู้อ่านทุกท่านให้จัดการเรียนการสอนแบบ TBL ในหลักสูตร
       ให้มากขึ้น   ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถหาแนวทางที่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ
       วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ทรัพยากรของโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพของไทย และตอบโจทย์แก่ผู้เรียน

       ในโรงเรียนแพทย์ของประเทศไทยให้มากขึ้นต่อไป
       References
       1. Thompson BM, Haidet P, Borges NJ, Carchedi LR, Roman BJ, Townsend MH, Butler AP, Swanson DB, Anderson MP, Levine RE. Team cohesiveness,
       team size and team performance in team-based learning teams. Medical education. 2015 Apr;49(4):379-85.
       2. Palsolé S, Awalt C. Team-based learning in asynchronous online settings. New Directions for Teaching and Learning. 2008 Dec;2008(116):87-95.
       3. Koh YY, Schmidt HG, Low-Beer N, Rotgans JI. Team-based learning analytics: An empirical case study. Academic Medicine. 2020 Jun;95(6):872.
       4. Clark MC, Merrick LC, Styron JL, Dolowitz AR. Orientation principles for online team-based learning courses. New Directions for Teaching and Learn-
       ing. 2021 Mar;2021(165):11-23.


                                                  43
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51