Page 44 - 3_2023_journal
P. 44

•  Peer evaluation
               o   กระบวนการในการประเมินผู้เรียน ถึงแม้ว่าในบางหลักสูตรโดยเฉพาะในผู้เรียนปีแรก ๆ อาจไม่ได้
           ้
        ให้นำาหนักคะแนนส่วนนี้เยอะมากนัก  แต่เป็นคะแนนที่มีความสำาคัญอย่างมากกับการเรียน  TBL  เพราะ
        ทำาให้ผู้เรียนมีการพัฒนาและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมกลุ่ม  และเป็นทักษะที่สำาคัญที่ผู้เรียนจะต้องพัฒนาต่อ
        ในระดับชั้นที่สูงขึ้นไปในอนาคต ปัญหาที่มักพบโดยเฉพาะในผู้เรียนที่เพิ่งรู้จักกัน คือผู้เรียนมักให้คะแนน

        ช่วยเพื่อน หรือไม่ได้ให้คะแนนตามความเป็นจริง ทำาให้ไม่สามารถแยกแยะได้  มีกลวิธีหลายอย่าง
        ที่แนะนำาเพื่อสนับสนุนไม่ให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น  โดยเริ่มได้จากการกำาหนดกติกาในช่วงปฐมนิเทศอย่างชัดเจนว่า

        คะแนนนี้มีความสำาคัญอย่างไร และแนะนำาการให้คะแนนเป็นลักษณะการตัดแบ่งเป็นส่วน เช่น หากผู้เรียน
        ทุกคนให้คะแนนสูงเท่า ๆ กันหมด ทุกคนในกลุ่มก็จะได้คะแนนเฉลี่ยจากคะแนนก้อนใหญ่ไป ซึ่งก็จะทำาให้
        ผู้เรียนให้ความสำาคัญกับการให้คะแนนตามความเป็นจริงมากขึ้น  และส่วนสุดท้ายคือการให้คะแนน

        แบบ private เช่น การให้คะแนนประเมินเพื่อนในระบบ online ที่ทำาให้ผู้เรียนมีความสบายใจที่จะให้
        คะแนนเพื่อนมากกว่ารูปแบบกระดาษท้ายคาบการเรียน

               o   นอกจากนั้น ยังมีการประยุกต์รูปแบบการให้คะแนนหลายรูปแบบ เช่น ในบางคลาสการเรียน
        การสอนที่ผู้เรียนอาจจะยังไม่คุ้นชินกับระบบการประเมินเพื่อนมากนัก อาจจะเริ่มให้ผู้เรียนได้ฝึกประเมิน
        เพื่อนในกลุ่มในลักษณะของการเสนอรายชื่อของเพื่อน 3 คนที่ “ฉันชื่นชมเธออย่างมาก” และเพื่อน 2-3 คน

        ที่ “ฉันเชื่อว่าเธอมีศักยภาพและเธอพัฒนาได้อีก” ซึ่งสามารถประเมินได้ง่ายกว่าการให้เป็นคะแนน และ
        เมื่อผู้เรียนเริ่มคุ้นเคยแล้ว จึงค่อยพัฒนาเป็นการประเมินที่มี rubric ประกอบต่อไป

                                       ประเด็นที่น่าสนใจของ assessment สำาหรับ TBL คือการทำาให้
                               ผู้เรียนต้องรับผิดชอบกับการเตรียมตัวของตนเอง  มีส่วนร่วมกับกิจกรรมกลุ่ม
                               ได้มากขึ้น ทดสอบความเข้าใจท้ายบทเรียน หรือสามารถนำาคะแนนไปตัดสิน

                               ประเมินผลการเรียนได้  แต่ขณะเดียวกันท่านผู้อ่านอาจจะมีความกังวลว่า
                               เด็กที่เก่งจะรู้สึกเสียเปรียบหรือถูกฉุดคะแนนหรือไม่  หรือเด็กที่ไม่เก่งจะ
                                                                        ้
                               ไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร หรือมือไม่พาย เอาเท้ารานำาหรือเปล่า หากทำาตามวิธี
                               การของ TBL จะพบเองว่ารูปแบบมีความสำาคัญและ iRAT เป็นส่วนหนึ่งของ
                               กระบวนการสร้างความรับผิดชอบต่อการเตรียมตัวของผู้เรียนก่อนมาเข้า
                               ร่วมเรียนหรือ accountability และยังมีกระบวนการ peer evaluation ที่มา

                               เสริมส่วนนี้อีกด้วย นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาวิจัยพบว่าคะแนน iRAT และ
                               gRAT และ peer evaluation สามารถนำามาใช้ติดตาม (monitoring) สามารถ

                               นำาไป  evaluate  กลุ่มหรือทีมไหนกำาลังประสบปัญหาการเรียนเป็นทีมได้อีก
                               ด้วย เช่น การพบว่าในบางกลุ่มมีคะแนน iRAT ที่ดี แต่กลับมีคะแนน gRAT
                               ที่ไม่ดีนัก อาจสะท้อนถึงภาพรวม performance ของกลุ่มมีปัญหา ซึ่งสามารถ

                               นำามาปรับใช้เป็นการ intervention กลุ่มของผู้เรียนว่าอาจจะมีปัญหาที่เกิด
                               ขึ้นภายในกลุ่ม 3



                                                  41
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49