เข้าสู่ระบบ
Login เพื่อเข้าดู SHEE Streaming & VDO ย้อนหลัง
Username *
Password *
โปรดอ่าน
  • ระบบนี้ไม่ใช่ระบบสำหรับสมัครเข้าร่วมการอบรม Workshop
  • ระบบนี้ใช้สำหรับดูการถ่ายทอดสด Streaming และ ดูบันทึกการอบรมย้อนหลังเท่านั้น
  • หากต้องการสมัคร/รีเซ็ทรหัสผ่าน สำหรับสมัครเข้าอบรม Workshop โปรดคลิกที่ปุ่ม Register ในแต่ละโครงการเพื่อไปยังเว็บไซต์การประชุมวิชาการ Sirirajconferene เพื่อทำการสมัคร/รีเซ็ทรหัสผ่าน โดย คลิกที่เมนู โครงการอบรม > เลือกโครงการ > กดปุ่ม Register
  • หรือ ท่านสามารถอบรมผ่าน SHEE Online เพื่อเก็บ CPD ได้

การพัฒนาข้อสอบปรนัยเพื่อประเมินความรู้ทางการแพทย์ - MCQ

วันที่ 27 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ณ ห้องบรรยาย 3A01 ชั้น 3A อาคารศรีสวรินทิรา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

 

 

หลักการและเหตุผล

         การวัดและการประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและการประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดำเนินการสอนเป็นไปตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี สำหรับข้อสอบแบบปรนัย (multiple-choice question) เป็นรูปแบบการประเมินผลประเภทหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการแพทยศาสตรศึกษาทั้งในระดับชั้นปรีคลินิก และระดับชั้นคลินิก เนื่องด้วยมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ ได้แก่ ประสิทธิภาพในการประเมินความรู้ของผู้เรียนปริมาณมากโดยใช้ระยะเวลาอันสั้น, ผลการประเมินผู้เรียนที่จะไม่มีผลกระทบจากความรู้สึกส่วนตัวของผู้ตรวจให้คะแนน, คะแนนที่มีความเที่ยงสูง โดยมีผลการวิจัยจำนวนมากที่สนับสนุนความถูกต้องของผลการประเมินผลด้วยข้อสอบปรนัย 

การสร้างและพัฒนาข้อสอบปรนัยในโรงเรียนแพทย์เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาแพทย์นั้น “อาจารย์แพทย์” ที่ทำหน้าสอนมีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการดังกล่าว แต่ยังพบว่าในโรงเรียนแพทย์มีอาจารย์แพทย์ผู้สอนจำนวนไม่น้อยมีปัญหาเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาข้อสอบปรนัย โดยข้อสอบปรนัยที่สร้างและพัฒนาขึ้นอย่างดีและถูกวิธีนั้น สามารถวัดความรู้ได้ทั้งระดับการจดจำ การทำความเข้าใจ และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในการดูแลคนไข้ แต่หากข้อสอบปรนัยที่ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นอย่างไม่ถูกหลักการจะส่งผลเสียหลายอย่าง เช่น ทำให้ข้อสอบยากขึ้นโดยไม่จำเป็น, ทำให้ผู้สอบเกิดความสับสน, ทำให้ผู้สอบบางกลุ่มเสียเปรียบผู้สอบคนอื่น, ทำให้การตัดสินผลสอบผิดพลาด เป็นต้น ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่อาจารย์แพทย์ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับขั้นตอนและแนวทางการสร้างข้อสอบปรนัย ข้อควรระวังในการสร้างข้อสอบปรนัย การวิเคราะห์ข้อสอบ (Item analysis) และการตั้งเกณฑ์ผ่านการสอบ (Passing standard) เพื่อให้ได้ข้อสอบปรนัยที่ดีมีคุณภาพ ตลอดจนมีความรู้ในการจัดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และการจัดทำคลังข้อสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ในการนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ฝ่ายการศึกษา  จึงเห็นสมควรจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติเรื่อง “การพัฒนาข้อสอบปรนัยเพื่อประเมินความรู้ทางการแพทย์” ให้แก่อาจารย์แพทย์ระดับปรีคลินิกและคลินิกภายในคณะฯ รวมทั้งอาจารย์ภายนอกคณะฯ ที่มีความสนใจเข้าร่วมอบรมดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อให้ความรู้และฝึกทักษะในการสร้างข้อสอบปรนัย อันจะนำไปสู่การพัฒนาข้อสอบปรนัยที่มีคุณภาพต่อไป

 

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการร่วมอบรม

  1. มีความรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานและแนวทางในการสร้างข้อสอบปรนัย
  2. มีความรู้ในการสร้างโจทย์และตัวเลือกข้อสอบปรนัย
  3. มีความรู้เกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย และตั้งเกณฑ์ผ่านการสอบ
  4. มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้อสอบ การจัดสอบ และการจัดทำคลังข้อสอบ

 

เนื้อหาโดยสังเขป

        เป็นการบรรยายความรู้ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของข้อสอบปรนัย การวางแผนและจัดทำตารางกำหนดเนื้อหาข้อสอบ การสร้างโจทย์และตัวเลือกข้อสอบปรนัย การผลิตข้อสอบ การจัดสอบ การตรวจและวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย การตั้งเกณฑ์ผ่านการสอบ การจัดทำคลังข้อสอบ รวมถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการสร้างข้อสอบปรนัย อีกทั้งยังเป็นการต่อยอดทักษะความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมอบรม  โดยการจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ร่วมกันพิจารณาข้อสอบ

 

กิจกรรมในการดำเนินงาน

กิจกรรมบรรยายทางวิชาการและฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 วัน โดยวิทยากรเป็นคณาจารย์จากภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ะหว่างวันที่ 27 - 28  มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท 

  1. SHEE Face-to-face training ห้องบรรยาย 3A01 ชั้น 3A อาคารศรีสวรินทิรา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ
  2. SHEE streaming ฟังบรรยายถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ รับสมัครทั้งบุคลากรภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และภายนอกคณะฯ ไม่จำกัดจำนวน

 

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้ารับการอบรมเป็น ทั้งบุคลากรภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และภายนอกคณะฯ ได้แก่ โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลร่วมสอน และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก และผู้ที่สนใจ จำนวน 45 ท่าน