Page 52 - 3_2023_journal
P. 52
“กระตุ้นทักษะการค้นคว้าหาความรู้
ได้ดีมาก ๆ คิดว่าเป็นแนวทางที่ดี
ในการปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต
(Lifelong Learning)”
- พญ. อรณิชา -
“Traditional lecture ที่เป็นการโปรย
ความรู้กว้าง ๆ ในขณะที่การเรียนแบบ
Question-based learning จะช่วย
ทำาให้นักศึกษาจับประเด็นที่สำาคัญ
ได้มากขึ้นและกระตุ้นให้นักศึกษา
ได้ลองคิดร่วมกับเพื่อน ๆ”
- นศพ. ธนกฤต -
4. ความคิดเห็นต่อผู้สอนที่เปลี่ยนจาก Lecturer เป็นการ Facilitator
บทบาทของผู้สอนที่เปลี่ยนไปถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำาคัญที่เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนแบบ
Team-based learning นักศึกษามีมุมมองไปในทิศทางใกล้เคียงกันถึงบทบาท Facilitator ของผู้สอน
ทำาให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนมากขึ้น ทำาให้เกิดการแบ่งปันความรู้กันในห้องเรียนได้มากขึ้น
ส่งผลให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาที่ลึกซึ้งขึ้น
“แล้วการเป็น Facilitator ที่ดีควรทำาอย่างไร?” จากบทสัมภาษณ์มีนักศึกษาแพทย์ท่านหนึ่ง
นำาเสนอมุมมองว่าลักษณะของ Facilitator ที่ดี คือการส่งเสริมทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับหรือ
Feedback Skill กล่าวคือ หากบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนข้อมูลมีการให้ Feedback ที่ตรงประเด็น
และเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนได้ จะทำาให้เพิ่มแรงกระตุ้นภายในให้กับผู้เรียนได้ ส่งผลต่อการเรียนรู้
ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนด้วยตนเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้
49