Question and Answer ร่วมกิจกรรม Q&A ส่งคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือแพทยศาสตรศึกษา คำถามที่ถูกเลือกมาตอบใน SHEE Journal จะได้รับ 1 แต้ม สะสมครบตามจำนวนที่กำหนดรับของที่ระลึกของ SHEE คลิกที่นี่

สำหรับบุคลากรศิริราชที่ต้องการเก็บชั่วโมงพัฒนาอาจารย์ (CPD) สามารถอ่านวารสารออนไลน์ได้ที่ SHEE Online Course โดยผู้อ่าน SHEE Journal ผ่านระบบ SHEE Online Course นั้น จะได้ชั่วโมงการฝึกอบรม จำนวน 1 ชม. โดยสามารถนำไปรายงานตัวชี้วัดการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่องด้านการศึกษา (Continuous Professional Development : CPD) ตามเกณฑ์ที่คณะฯ กำหนดได้ ทั้งนี้ จะนับชั่วโมงให้เมื่อเรียนจบ Course และได้รับใบ Certificate เท่านั้น จึงจะถือว่าผ่านการอบรม จากนั้นทุกสิ้นเดือนเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จะส่งรายชื่อเพื่อยืนยันผู้ผ่านการอบรมให้กับต้นสังกัดทราบ และส่งข้อมูลให้กับฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อดำเนินการจัดเก็บจำนวนชั่วโมงการอบรมในระบบต่อไป

หน้าปก

SHEE วารสารฉบับที่ 3 ปี 2023 (Full Version)

TBL : team-based learning เป็นหนึ่งในการจัดการเรียนรู้แบบ active learning ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ ทำงานร่วมกันเป็นทีมฝึกทักษะการสื่อสาร และจัดเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ทรัพยากรไม่มาก จึงควรถูกส่งเสริมให้นำไปประยุกต์ใช้มากขึ้นในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ อย่างไรก็ตาม หากไม่เข้าใจในหลักการการออกแบบห้องเรียน team-based learning ที่เหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนไม่สามารถพัฒนาทักษะต่างๆได้อย่างเต็มที่

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “team-based learning” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการจัดห้องเรียน team-based learning ตั้งแต่เหตุผลในการนำมาใช้ การจัดกลุ่มผู้เรียน การสร้างแบบทดสอบ การประเมินผล รวมถึงการบริหารจัดการ เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบชั้นเรียน team-based learning ให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่งไป

Author: SHEE
Downloads: 426

Download

Rating:
(115 votes)
3_2023 Journal_Page_004

Issue3/2023-01 Executive talk

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพในปัจจุบัน ควรเป็นการเรียนแบบ active learning มากขึ้น เนื่องจาก เป็นรูปแบบการเรียนที่มีประสิทธิผลสูงกว่า passive learning การสอน active learning สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แต่หนึ่งในรูปแบบการเรียนรู้ที่สนุก ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดี และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คือการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ ทำงานเป็นทีม (Team-based learning หรือ TBL) ในวารสารฉบับนี้ทางทีมงาน SHEE journal จึงนำเสนอวารสารใน theme “Team-based learning” โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะส่งเสริมให้อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ รู้จักการเรียนรูปแบบนี้มากขึ้น และนำไปใช้สอนนักศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่ดีขึ้น สามารถนำาเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยได้อย่างมั่นใจ

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 173

Download

Rating:
(56 votes)
3_2023 Journal_Page_006

Issue3/2023-02 เหตุใดควรใช้ Team-Based Learning

ประมาณ 110 ปีก่อน ได้เริ่มมีการรณรงค์ให้นักศึกษาแพทย์ มีความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างเพียงพอก่อนที่จะเรียนรู้ผ่านการดูแลผู้ป่วย และต่อมาได้มีการส่งเสริมให้จัดการสอนที่เน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ผลของปรากฏการณ์ดังกล่าวที่สำคัญ คือ การเรียนการสอนรูปแบบ problem-based learning (PBL) ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 50 ปี อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของ PBL ที่ต้องการ facilitator จำนวนมากในขณะหนึ่ง ๆ ทำให้เกิดปัญหา facilitator ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในหลักสูตรที่มีนักศึกษาจำนวนมาก วิธีการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบ active อีกรูปแบบจึงเริ่ม เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกำลังเป็นที่นิยมในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ team-based learning (TBL)

Author: ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ
Downloads: 102

Download

Rating:
(10 votes)
3_2023 Journal_Page_012

Issue3/2023-03 การสร้าง Team ใน Team-Based Learning

การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team-based learning หรือ TBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้พลังของทีมส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ นอกจากนี้การสอนในรูปแบบ TBL เป็นการสอนคุณค่าของการทำงานเป็นทีม (teamwork) ซึ่งเป็นการทำงานที่สำคัญยิ่งสำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพทางสุขภาพ (healthcare professional) ซึ่งผู้เรียนจะได้ทำงานในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษา การเกิดการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพนั้น คงไม่สามารถเกิดขึ้นเพียงแค่การรวมกลุ่มตามธรรมชาติ แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการออกแบบการสอนที่ดี และความทุ่มเทพยายามของผู้สอนให้เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาและคงไว้ของการทำางานเป็นทีม ดังนั้น การสร้างทีม (Team formation) จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญและเป็นขั้นตอนในช่วงแรกของ TBL เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกันในกิจกรรมการเรียนรูปแบบ TBL โดยเฉพาะกิจกรรมแบบทดสอบในช่วง readiness assurance test และ application exercises

Author: รศ. นพ.โกสินทร์ วิระษร
Downloads: 366

Download

Rating:
(11 votes)
3_2023 Journal_Page_020

Issue3/2023-04 Facilitation ใน Team-Based Learning

การเรียนรู้แบบเป็นทีม (team-based learning) นั้น เป็นหนึ่งในรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบ active learning ที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้ “ค้นพบ” ความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการอภิปรายภายในกลุ่มและในชั้นเรียน ดังนั้น บทบาทของอาจารย์ผู้สอนจึงเปลี่ยนจากผู้ “ป้อน” ความรู้ไปเป็นผู้ “ประคอง” กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สามารถบรรลุผลการเรียนรู้ของชั่วโมงเรียนด้วยตัวเอง ผ่านกระบวนการ facilitation โดยอาจารย์ทำหน้าที่เป็น facilitator

ใน TBL นั้นบทบาทหลักของ facilitator จะอยู่ในช่วงการอภิปรายหลังจากการทำา gRAT และ application exercise เป็นหลักซึ่งประกอบไปด้วย 

  1. การทำให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ของชั่วโมงเรียน
  2. การกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ขั้นสูงตาม Bloom’s taxonomy
  3. ควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามกำหนด

Author: ผศ. ดร. นพ.ไอยฤทธิ์ ไทยพิสุทธิกุล
Downloads: 145

Download

Rating:
(10 votes)
3_2023 Journal_Page_026

Issue3/2023-05 Developing test items in Team-based Learning การสร้างโจทย์ข้อสอบในการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม

องค์ประกอบที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม (Team-based learning: TBL) คือ โจทย์ข้อสอบที่ให้นักศึกษาหาคำตอบในห้องเรียน ซึ่งจะมีข้อสอบสองชุดที่ต้องจัดเตรียมในการสอนแต่ละครั้ง ข้อสอบชุดแรก เป็นข้อสอบประเมินความพร้อมของผู้เรียน (Readiness Assurance Test) ส่วนข้อสอบชุดที่สอง เป็นข้อสอบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้หลังสอน (Application exercise) การจัดทำข้อสอบนี้ หากจัดทำได้ดีจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ความเห็นในกลุ่มนักศึกษาได้อย่างดี แต่แนวทางในการสร้างข้อสอบใน TBL นี้อาจไม่เหมือนกับการสร้างข้อสอบที่ใช้ในการประเมินผลปลายภาคเรียน (Summative assessment)

ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขออธิบายแนวทางในการพัฒนาข้อสอบที่จะใช้ในห้องเรียน TBL เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่สนุกและมีประสิทธิภาพ

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 227

Download

Rating:
(8 votes)
3_2023 Journal_Page_032

Issue3/2023-06 แนวทางการประเมินใน Team-based learning

การประเมินผลในการเรียน team-based learning เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำาคัญเพราะเป็น เสมือนการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับผู้เรียนถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในชั้นเรียนนั้น ๆ หากวิธีการประเมินผล ในห้องเรียน team-based learning ถูกออกแบบอย่างเหมาะสม เชื่อได้ว่าผู้เรียนจะมีโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้จากทุก ๆ กระบวนการที่จัดขึ้นใน team-based learning มากที่สุด ผ่านหลักการสำาคัญ 3 ประเด็นดังนี

Author: นพ.ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตรี
Downloads: 309

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_038

Issue3/2023-07 Administrative issues in TBL

ถ้าผมชวนท่านผู้อ่านมาจัดการเรียนการสอนแบบ team-based learning ร่วมกัน จัดเลยอาทิตย์หน้า ในรายวิชาที่ท่านกำลังสอนอยู่ ผมเดาว่าคงมีบางท่านคิดในใจว่าสบายมากพร้อมจัด แล้วก็มีหลายท่านเช่นกันที่อาจจะเหงื่อตกอยู่ไม่น้อย แต่เพื่อให้ท่านเข้าใจเนื้อหาของบทความนี้มากขึ้น ผมลองให้ท่านผู้อ่านทุกท่านลองตอบคำถามวัดความพร้อมด้วย individual readiness assurance test (iRAT) ปลายเปิด 4 ข้อนี้ ในใจดูครับ เพื่อประเมินว่าเรามีความพร้อมระดับใด ถ้าต้องจัด TBL เร็ว ๆ นี้เลย

Author: นพ.ปุญญภัทร มาประโพธิ์
Downloads: 98

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_048

Issue3/2023-08 Students’ voice

พบกันอีกครั้งกับบทความที่จะนำพาท่านผู้อ่านที่สนใจเกี่ยวกับการศึกษาได้เห็นมุมมอง และฟังเสียงโดยตรงจากนักศึกษาในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ กับบทความ ‘Students’ voice’ และในวารสารฉบับนี้ ทางทีมงานได้สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม หรือ Team-based learning ของนักศึกษาแพทย์ โดยมุ่งเน้นไปที่จุดเด่นและจุดพัฒนาของการเรียน Team-based learning ผ่านมุมมองผู้เรียนที่แตกต่างกัน

โดยตามหลักการเรียนรู้ Team-based learning มีองค์ประกอบหลากหลายขั้นตอน ตั้งแต่การศึกษาบทเรียนล่วงหน้า, การทำโจทย์ปัญหา iRAT, gRAT และ application exercise ในห้องเรียน รวมถึง บรรยากาศห้องเรียนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในแต่ละขั้นตอน ล้วนมีความท้าทายในการจัดการเรียนการสอนทั้งสิ้น

Author: นพ.คณิน ดาษถนิม
Downloads: 141

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_056

Issue3/2023-09 เชิด-ชู

กลับมาอีกครั้งกับบทความ ‘เชิด-ชู’  ที่จะพาทุกท่านมารับฟังมุมมองที่น่าสนใจทางการศึกษา จากอาจารย์แพทย์ที่มีความโดดเด่นในด้านความเป็นครู ในวารสารฉบับนี้ ทีมงานมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก รศ. พญ.พรพรรณ กู้มานะชัย แบบอย่างด้านความเป็นครู ผู้ซึ่งได้รับรางวัลครูแพทย์ดีเด่น ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปีการศึกษา 2565

Author: SHEE
Downloads: 67

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_062

Issue3/2023-10 สับ สรรพ ศัพท์

Socratic question คือ คำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดระดับสูง (higher-order thinking) ในการคิดเพื่อหาคำตอบ หากอ้างอิงตาม Bloom’s revised taxonomy ด้าน cognitive domain จะหมายถึง ระดับ analyze evaluate และ create ซึ่งต้อง อาศัยกระบวนการคิดที่ซับซ้อนในการหาคำตอบที่เหมาะสม Socratic question จึงเป็นคำถามที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความ สามารถทางความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Author: นพ.ภาสวุฒิ ศิริทองถาวร
Downloads: 55

Download

Rating:
(1 vote)
3_2023 Journal_Page_070

Issue3/2023-11 Educational movement

จากเนื้อหาที่ท่านผู้อ่านได้เห็นจากในบทความฉบับนี้ จะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ ทำงานเป็นทีม (Team-based learning: TBL) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ ทำได้ไม่ยากนัก และส่งผลดีอย่างมากต่อผู้เรียน ทิศทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพในปัจจุบัน และอนาคตพึงมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้มากขึ้น ในบทความนี้ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางที่โรงเรียน วิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถใช้วางแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ TBL ให้มีประสิทธิภาพในบริบทของโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 65

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_074

Issue3/2023-12 SHEE Sharing

การเรียนรู้แบบ team-based learning ได้รับการศึกษายืนยันจากหลายงานวิจัยแล้วว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำหรือเข้าใจเนื้อหาสาระ แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้ อย่างไรก็ตาม team-based learning ถือเป็นห้องเรียนที่มีหลายขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนเรียน การทำ readiness assurance test รวมถึง application exercise และในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่สามารถบอกได้ว่า ห้องเรียนแบบ team-based learning ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีขั้นตอนเหล่านี้ทุกขั้นตอนจริงหรือไม่

Author: พญ.พิมพ์มาดา สมรรคจันทร์
Downloads: 45

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_078

Issue3/2023-13 SHEE Research

นักวิจัยนิยมเลือกใช้การสังเกตก็ต่อเมื่อคำถามวิจัยต้องการรู้พฤติกรรมของคน การสังเกตนี้ถือว่าเป็นวิธีเก็บข้อมูลที่ดีที่สุด ตรงตามความเป็นจริง โดยเฉพาะถ้าได้ทำซ้ำ ๆ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือได้ แต่การสังเกต ถือเป็นทักษะขั้นสูงที่ต้องฝึกฝนกันพอสมควร เนื้อหาในบทความนี้ ผมจึงอยากชวนทุกคน มาลองเปิดประตูทำความรู้จักการสังเกตให้มากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจก่อนจะเลือกใช้วิธีการสังเกต  ตั้งแต่เตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเก็บข้อมูล เห็นทักษะจำเป็นที่จะใช้ร่วมกับการสังเกตและเข้าใจ

Author: ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Downloads: 56

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_084

Issue3/2023-14 Click & Go with technology

การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ Team-based Learning นั้น ผู้เรียนจะต้องทำการสอบด้วยตนเองซึ่งเราเรียกว่า iRAT (Individual Readiness Assurance Test) หลังจากนั้นจะเป็นการสอบแบบกลุ่ม ซึ่งเราเรียกว่า gRAT (group Readiness Assurance Test) ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยในการสร้างแบบทดสอบ ทั้ง iRAT และ gRAT ด้วย Google Form เพื่อช่วย อำนวยความสะดวกให้กับผู้สอน หลังจากผู้เรียนทำการทดสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้สอนก็จะทราบผลคะแนนของผู้เรียนแต่ละคน และผลคะแนนของการสอบแบบกลุ่ม

Author: ผศ. ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
Downloads: 241

Download

Rating:
(1 vote)
3_2023 Journal_Page_090

Issue3/2023-15 SHEE Podcast

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้จัดทํา SHEE Podcast ซึ่งรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ถ่ายทอดผ่านการพูดคุยในบรรยากาศสบาย ๆ เพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยเผยแพร่ทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน เวลา 20.00 น.

Author: SHEE
Downloads: 49

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_092

Issue3/2023-16 Upcoming events

ศูนย์ SHEE ขอเชิญชวนอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือผู้สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษาทุกท่าน เข้าร่วมอบรมในโครงการต่าง ๆ ที่กำลังจะจัดขึ้น มีทั้งรูปแบบการบรรยาย หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ และครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน หรือการประเมินผล รวมไปถึงการทำวิจัยทางการศึกษา

Author: SHEE
Downloads: 51

Download

Rating:
(0 votes)
3_2023 Journal_Page_094

Issue3/2023-17 Gallery

SHEE Journal Gallery. Pearls in Medical Education หัวข้อ ทิศทางแพทยศาสศึกษาในศตวรรษที่ 21 และโครงการอบรมเชิงปฎิบัติเรื่อง ความรู้พื้นฐานสำหรับครูแพทย์มือใหม่

Author: SHEE
Downloads: 46

Download

Rating:
(0 votes)

Question and Answer ร่วมกิจกรรม Q&A ส่งคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือแพทยศาสตรศึกษา คำถามที่ถูกเลือกมาตอบใน SHEE Journal จะได้รับ 1 แต้ม สะสมครบตามจำนวนที่กำหนดรับของที่ระลึกของ SHEE คลิกที่นี่





ท่านสามารถเก็บคะแนน CPD / CME ได้จากระบบ SHEE Online Course โดยสามารถ Click ที่ปุ่มด้านล่างนี้เพื่อเข้าสู่ระบบ

 

Free Joomla! templates by Engine Templates