Page 80 - 3_2023_journal
P. 80

เรื่องที่ 3 ปรับตัวจากคนนอกสู่คนใน


        เนื่องจากผลการสังเกตจะน่าเชื่อถือหรือไม่ขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัย คือ

                1) ความไว้วางใจ การยอมรับให้เป็น “สมาชิก” ในพื้นที่นั้นๆ
        ถ้าคนในพื้นที่ยอมรับแล้วก็เป็นเรื่องปกติที่จะแสดงพฤติกรรมจริง
        ออกมาให้เห็น ซึ่งถ้าหากผู้วิจัยเป็นคนในพื้นที่ คุ้นเคยมาก่อนหน้า

        แล้วก็ไม่ต้องเสียเวลาทำาความรู้จัก ปรับจูนกัน เมื่อกล่าวถึงเรื่องนี้มักมี
        คำาถามต่อมาว่า เราควรบอกให้ทุกคนรู้ไหมว่าเรามาสังเกตเพื่อทำาวิจัย

        คำาตอบนี้อภิปรายกันได้หลากหลาย คนที่ตอบว่า ไม่ควรบอกเพราะ
        ควรปกปิดสถานะที่แท้จริงเพื่อให้คนในพื้นที่ไม่แตกตื่น ถ้าบอกแล้ว
        คนในพื้นที่จะมองเราเป็นคนแปลกหน้า จะไม่แสดงธาตุแท้ออกมา

        ให้เห็น เก็บข้อมูลวิจัยให้เสร็จก่อนค่อยมาเฉลย ก็ตอบได้ครับ (และ
        ก็ต้องไปตอบกับ IRB ในสถาบันของผู้อ่านด้วยว่า มันไม่มีทางเลือก
        อื่นจริงๆ จึงต้องทำาแบบนั้น) แต่ผมอาจมองต่างไป ก็บอกไปเลยครับ

        ว่าจะมาทำาวิจัย แล้วถ้าคนในพื้นที่นั้นทำาอะไร เราก็ไปช่วยเขาทำางาน
        ให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์  ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์
        คน ค่อยๆ รู้จักกันไปให้คนในพื้นที่เปลี่ยนสถานะจากคนนอกมาเป็น

        สมาชิกคนในเอง แบบนี้ยั่งยืนกว่าครับ แต่ถ้าผู้อ่านบอกว่า เฮ้ย ! ฉัน
        ไม่ได้มีเวลามากขนาดนั้น เราก็มีวิธีการที่จะช่วยลดเวลาทำางานได้ครับ

        เช่น ลองเก็บข้อมูลจากบุคคลแวดล้อมหลายคน ใช้ผู้วิจัยที่มาจากหลาย
        ภาควิชา หรือใช้วิธีเก็บข้อมูลที่มากกว่าหนึ่งวิธี แล้วนำาผลมาเปรียบ
        เทียบกัน ก็ช่วยทำาให้งานวิจัยน่าเชื่อถือได้ครับ แถมไม่เสียความรู้สึก

        เมื่อต้องจากลากันไปครับ
               2) ความเข้าใจในวัฒนธรรม เราคงต้องยอมรับว่าในทุกพื้นที่
        มีค่านิยม  วิธีคิดที่แตกต่างกัน  ส่งผลต่อพฤติกรรมและวิธีปฏิบัติของ

        คนด้วย เช่น ผมทำางานที่ศูนย์ SHEE ที่นี่เจ้านายไม่บังคับว่าจะต้องมาที่
        ทำางานทุกวัน  ขอให้งานมีผลลัพธ์ที่ดีก็พอ  แต่วิธีปฏิบัตินี้ไม่เหมือนกับที่

        ภาควิชาคลินิก  เพราะภาควิชามีงานบริการ  มีผู้ป่วยต้องดูแล  คนที่
        ทำางานในภาควิชาคลินิกจึงจำาเป็นต้องมาที่ทำางานทุกวัน  หรือถ้ามีเหตุ
        ฉุกเฉินโทรเรียกก็ต้องมา  ความแตกต่างแบบนี้  ถ้าผมจะไปสังเกตที่

        ภาควิชาคลินิก  ผมก็คือคนนอกที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยแม้จะทำางานอยู่
        ในคณะเดียวกัน  หน้าที่ผมนอกจากจะไปสิงอยู่ในพื้นที่ให้คนยอมรับ

        ผมต้องอธิบายสิ่งที่เห็นให้ตรงกับมุมมอง  วิธีคิดของคนในภาควิชา
        คลินิกแสดงออกมาด้วย ผลจึงจะน่าเชื่อถือครับ

                                                  77
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85