Page 15 - 3_2023_journal
P. 15
การจัดการทีม (Team management)
การกำาหนดสมาชิกในแต่ละทีม เป็นปัจจัยสำาคัญเพื่อให้แต่ละทีมมีสมาชิก
ที่หลากหลายและมีระดับพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน โดยการพิจารณาปัจจัยในการสร้าง
ทีม (wealth factor) เช่น ขนาดของห้องเรียน เป้าประสงค์ของรายวิชา ความ
เหมือน (homogeneous) หรือความแตกต่าง (diversity) ของผู้เรียนในห้องเรียน
ค่านิยมหรือสมรรถนะของวิชาชีพและสถาบัน ซึ่งผู้สอนเป็นคนกำาหนดกระจายปัจจัย
ต่าง ๆ ในแต่ละทีม แนวทางในการสร้างทีมโดยอาศัยปัจจัยที่ใช้กระจายในแต่ละทีม
มี 3 แนวทางโดยอาศัยปัจจัยที่สำาคัญ ได้แก่
1.การกระจายโดยใช้วัตถุประสงค์ของรายวิชา
และความรู้ของตัวแปรตามข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน
โดยมีการส่งแบบสอบถามให้ผู้เรียนก่อนเริ่มคาบเรียน แบบสอบถามดังกล่าวประกอบด้วย
คำาถามสำาคัญที่เป็นปัจจัยในการกระจายไปในแต่ละทีม เช่น เพศ ประสบการณ์ในการทำางานหรือการ
เรียนรู้ก่อนที่จะมาเรียนในคาบหรือรายวิชานี้ ความสามารถในการพูดภาษา ภูมิลำาเนา เช่น คาบเรียน
มีวัตถุประสงค์ในการให้ผู้เรียนตระหนักถึงการทำางานร่วมกันในสหสาขาวิชาชีพ ในมุมมองที่บริบท
แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ก็ควรมีสมาชิกที่มาจากอาชีพที่แตกต่าง รวมทั้งภูมิลำาเนาที่แตกต่าง เพื่อ
ให้เกิดการอภิปรายในบริบทของสมาชิกในแต่พื้นที่ ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้มุมมองการทำางานที่แตก
ต่างกันในแต่ละอาชีพและในแต่ละท้องที่
2. การกระจายโดยการสุ่ม
เป็นการสุ่มผู้เข้าเรียนในแต่ละทีม อาจจะเป็นการนับเลขแล้วแบ่งทีม ซึ่งรูปแบบนี้เหมาะ
สำาหรับคาบเรียนที่เพิ่งรู้จักสมาชิกคนอื่นในทีม และบรรยากาศในการเรียนรู้ไม่ได้ตึงเครียดหรือไม่ได้
อยู่ในบรรยากาศการแข่งขัน
3. กระจายตามเนื้อหาหรือองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐาน
เช่นในรายวิชาชีวเคมีสำาหรับนักศึกษาหลังปริญญาที่ประกอบด้วยผู้เรียนที่มาจากหลายสาขา
วิชาในระดับก่อนปริญญา เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา จุลชีววิทยา ดังนั้นในคาบเรียนแรกมีการ
แบ่งกลุ่มโดยในแต่ละกลุ่มจะมีผู้เรียนในสาขาชีวเคมีในจำานวนที่ใกล้เคียงกัน
“อย่างไรก็ตามสองสิ่งที่สำาคัญในการสร้างทีมคือ
1. ไม่อนุญาตให้ผู้เรียนสร้างทีมขึ้นมาเอง และ
2. กระบวนการในการจัดทำาต้องมีความโปร่งใส”
12