SHEE วารสารฉบับที่ 2 ปี 2023 (Full Version)
ข้อสอบปรนัย เป็นหนึ่งในรูปแบบการสอบที่ถูกนำมาใช้มากที่สุด ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องด้วยข้อดีหลายประการ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อสอบปรนัยที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมเป็นสิ่งที่ยังพบได้อยู่มาก และทำให้เกิดปัญหาการวัดผลที่ไม่แม่นยำและทำผู้สอนไม่สามารถแยกผู้เรียนในระดับความสามารถต่างๆออกจากกันได้ ดังนั้น การปรับปรุงให้ข้อสอบปรนัยมีคุณภาพที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญเป็นอย่างยิ่งและควรทำให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด
วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “High quality MCQs for health science education” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในจัดทำข้อสอบปรนัย ตั้งแต่เหตุผลในการใช้ การสร้างข้อสอบ จนถึงการวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อเป็นแนวทางการประเมินผลให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
Author: SHEE
Downloads: 405
Issue2/2023-01 Executive talk
การสอบ รูปแบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในระบบการศึกษาของประเทศไทย รวมถึงในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วยคือ ข้อสอบปรนัย กว่าที่บัณฑิตจะจบหลักสูตรจะผ่านการทำข้อสอบปรนัยเป็นพันข้อ คุณภาพของข้อสอบปรนัยที่ดี จึงเป็นประสบการณ์ทางการศึกษาที่มีส่วนสำคัญไม่น้อยในระบบการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การที่ข้อสอบปรนัยมีการใช้กันอย่างมากเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าการวัดผลในรูปแบบนี้มีข้อดีอยู่มาก ข้อสอบปรนัยสามารถวัดความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้าสอบได้ครอบคลุมเนื้อหาปริมาณมากโดยใช้เวลาไม่มากนัก กระบวนการจัดสอบสามารถทำได้ไม่ยาก ใช้ทรัพยากรน้อย สามารถวางระบบให้เกิดการสอบที่เป็นธรรม ผู้สอบทุกคน ได้รับการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ คะแนนสอบมีความเที่ยงสูง นำไปสู่การตัดสินผลสอบที่มีความผิดพลาดน้อย อย่างไรก็ดีการสอบปรนัยที่ดำเนินการไม่ดี ก็สร้างปัญหาได้ไม่น้อย ข้อสอบที่ไม่ดีมักส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนแบบท่องจำแบบไม่เข้าใจ สอบเสร็จแล้วก็ลืม ข้อสอบที่มีความกำกวมบางครั้งนำไปสู่ การร้องเรียนจากผู้เข้าสอบที่รู้สึกว่าตนไม่ควรเสียคะแนน เนื่องจากข้อสอบไม่มีคุณภาพ นำไปสู่ความวุ่นวายในการปรับเปลี่ยนเฉลย แก้คะแนน สร้างความไม่น่าเชื่อถือให้กับผู้ดูแลการสอบ
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 172
Issue2/2023-02 ทำไมเราควรใช้ข้อสอบ MCQ ในการวัดความรู้
ถ้าจะพููดถึงประสิทธิภาพของข้อสอบปรนัยนั้น ส่วนที่สำคัญคือ สามารถนำมาวัดความรู้ของผูู้เรียนได้หลากหลายและลึกซึ้ง จากข้อคำถามที่วัดได้ ครอบคลุมพฤติกรรมที่ต้องการวัด ไม่เฉพาะระดับความจำ กรณีการออกข้อสอบปรนัยทำได้ดีและมีคุณภาพ อาจใช้วัดความรู้ผู้เรียนไปได้ถึงการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการปฏิบัติจริง ผู้สอนสามารถสุ่มตัวอย่างสถานการณ์ทางคลินิกมาออกสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อสอบปรนัยจึงสามารถชี้วัดความรู้ปริมาณมากได้ในเวลาน้อย การสอบด้วยข้อสอบปรนัยทำให้การวัดผลมีความเป็นไปได้สะดวกรวดเร็วและประหยัดในการจัดสอบ สามารถจัดได้พร้อมกันในหลายศูนย์การทดสอบ การทดสอบมีความเป็นปรนัยจากข้อคำถามที่ชัดเจน ทำให้ผู้สอบเข้าใจความหมายได้ถูกต้องตรงกัน รวมไปถึงการตรวจและการแปลผลคะแนน ซึ่งในการตรวจให้คะแนนไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือเครื่องตรวจให้คะแนนอัติโนมัติผลคะแนนมักจะตรงกัน ผู้สอบทราบผลคะแนนเร็ว คะแนนจากการสอบด้วยข้อสอบปรนัยมีความเที่ยงสูงจากการที่ผลจากการวัดสม่ำเสมอ หรือคงเส้นคงวา คะแนนจากการสอบยังช่วยขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และคะแนนจากข้อสอบปรนัยยังมีความสัมพันธ์สูงกับการตอบข้อสอบแบบเติมคำ
Author: ดร.ปาริชาต อภิเดชากุล
Downloads: 308
Issue2/2023-03 การเขียนโจทย์ข้อสอบ MCQ ที่ดี
MCQ เป็นรูปแบบการประเมินผลการเรียนรู้ ใช้วัดความรู้ในระดับสูงในเรื่องการตัดสิน และการแก้ปัญหาของผู้เรียนได้ กระบวนการสร้างข้อสอบปรนัย (MCQ) ที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้ออกข้อสอบต้องเขียนข้อสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของข้อนั้น ๆ ฝึกฝนทักษะการเขียนข้อสอบ วิพากษ์ข้อสอบร่วมกันเป็นทีม ทั้งนี้ข้อผิดพลาดในการสร้างข้อสอบปรนัย (MCQ) อาจเกิดขึ้นจากขาดการฝึกฝนอบรม และเวลาที่จำกัดของผู้ออกข้อสอบ เนื่องจากภาระหน้าที่ทางวิชาการอื่น ๆ การมีคำแนะนำการเขียนข้อสอบปรนัย (MCQ) ที่ดี จักช่วยให้ผู้ออกข้อสอบทำงานได้ง่ายขึ้น
Author: พญ.ศิริพร ฐิติสกุลวงศ์
Downloads: 1,065
Issue2/2023-04 การเขียนตัวเลือกข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
ข้อสอบปรนัยชนิดเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด (Multiple choice question) เป็นข้อสอบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายระดับการสอบ และหลากหลายสาขาวิชา เนื่องจากเป็นข้อสอบที่สามารถประเมิน ความรู้ได้กว้าง สามารถบริหารจัดการการสอบได้ง่าย ข้อสอบจะประกอบไปด้วย คำถามหรือโจทย์ และตัวเลือก (options) ซึ่งผู้ออกข้อสอบจะเป็นผู้นำเสนอให้ผู้สอบเลือกตอบ โดยประกอบไปด้วย ตัวเลือกที่ถูกต้อง (correct option) และตัวลวง (distractors) ตัวเลือกที่ถูกต้องควรมีเพียงตัวเลือกเดียวในข้อสอบข้อนั้น ๆ ส่วนตัวลวงเป็นคำตอบที่ผิด หรือไม่เหมาะสมที่จะเลือกตอบในข้อสอบข้อนั้น ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นข้อความที่ผิดทั้งหมด ปัจจัยที่มีผลต่อตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ จำนวนของตัวเลือก และลักษณะของตัวเลือก
Author: ผศ.(พิเศษ) พญ.จิติมา ติยายน
Downloads: 764
Issue2/2023-05 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการสร้างข้อสอบปรนัย
ข้อสอบปรนัยเป็นข้อสอบที่นิยมนำมาใช้ในการประเมินนักศึกษาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องจากเป็นชนิดของข้อสอบที่มีความเที่ยงและความตรงสูง สมรรถวัดศักยภาพของผู้เรียนในด้าน ความรู้ได้ดี ถึงกระนั้นการพัฒนาข้อสอบปรนัยก็มีข้อผิดพลาดบางประการที่อาจส่งผลให้คุณภาพข้อสอบลดลง โดยทั่วไปความผิดพลาดในการออกข้อสอบปรนัยสามารถแบ่งได้เป็น ความผิดพลาดในเชิงเนื้อหาข้อสอบ และความผิดพลาดในตัวข้อสอบ ในบทความนี้ได้เรียบเรียงข้อผิดพลาดชนิดในตัวข้อสอบที่พบบ่อยในการสร้างข้อสอบปรนัย รวมถึงข้อสอบตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณา โดยสังเขป
Author: รศ. นพ.ทศ หาญรุ่งโรจน์
Downloads: 77
Issue2/2023-06 Item analysis of Multiple-choice questions
การวิเคราะห์ข้อสอบ (item analysis) เป็นการใช้วิธีการทางสถิติเพื่อวิเคราะห์คำตอบที่ผู้เข้าสอบ ตอบเพื่อประเมินคุณสมบัติของข้อสอบ ว่าทำงานได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 และมีการเสนอเทคนิคใหม่ออกมาเป็นระยะ ๆ เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่ลึกซึ้งขึ้นของข้อสอบ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเทคนิคที่มีการใช้งานในวงการแพทยศาสตรศึกษากันอย่างกว้างขวางกันในปัจจุบัน เป็นการวิเคราะห์ข้อสอบแบบพื้นฐาน ด้วยแนวคิด ของ Classical test theory ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคการวิเคราะห์ข้อสอบ ตาม Classical test theory เท่านั้น เพื่อมุ่งหวังให้ผู้อ่านทุกท่านสามารถแปลผลรายงานการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัยที่ใช้กันทั่วไปในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพไทย และนำไปสู่การพัฒนาการสอบปรนัยในปัจจุบันได้
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 364
Issue2/2023-07 Students’ voice
ในฉบับนี้ทางทีมงานได้สำารวจความคิดเห็นของผู้เรียนในหัวข้อ “ข้อสอบปรนัยที่ดีควรมีลักษณะเป็นอย่างไร” ซึ่งในกลุ่มผู้เรียนที่ได้มาแสดงความคิดเห็นนั้น ทางทีมงานได้คัดเลือกจากกลุ่มนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 และแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 1 ซึ่งผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่มนี้ ถือเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ดี เนื่องจากเป็นผู้เรียนที่ได้ผ่านประสบการณ์การวัดประเมินผลความรู้ด้วยรูปแบบข้อสอบปรนัยมาอย่างมากมายทั้งการสอบภายใน สถาบันตนเอง และการสอบวัดมาตรฐานระดับประเทศ ทั้งในระดับชั้นปรีคลินิกและคลินิก
Author: นพ.ศรัณย์ชัย แพเจริญชัย
Downloads: 101
Issue2/2023-08 เชิด-ชู
ในบทความ “เชิด-ชู” ฉบับนี้ ทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ รศ. ดร. พญ. ฉันทชา สิทธิจรูญ ครูแพทย์ซึ่งมีประสบการณ์ทั้งการสอนนักศึกษาแพทย์และร่วมพัฒนาการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นเวลานาน จนเป็นที่ยอมรับจากทั้งอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้มาซึ่งรางวัลในด้านความเป็นครูมากมาย เช่น ได้รับพระราชทานทุนส่งเสริมบัณฑิต มูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2562 รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับปริญญาโทสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ปี 2562 ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นระดับปรีคลินิก “ทุนเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี” ประจำปีการศึกษา 2564 ได้รับการรับรองให้เป็น Senior Fellowship of the Higher Education Academy (SFHEA) จาก the United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ได้รับการรับรองว่าผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 3 และได้รับการรับรองว่าผ่านการประเมินระดับมาตรฐานอาจารย์ด้านการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระดับที่ 4 จึงขอนำข้อคิดและแรงบันดาลใจในการเป็นครูแพทย์ที่ดีมาฝากทุกท่าน
Author: SHEE
Downloads: 186
Issue2/2023-09 สับ สรรพ ศัพท์
Table of specifications หรือ test blueprint หมายถึง ตารางที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning outcomes) และข้อสอบทั้งลักษณะและจำนวน เพื่อทำให้เกิดความสอดคล้องซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบในการเขียน table of specifications มี 3 องค์ประกอบ หลัก ได้แก่
- วัตถุประสงค์การเรียนรู้/เนื้อหา โดยเน้นเนื้อหา must know และไม่ควรมีเนื้อหากลุ่ม nice to know
- ระดับความซับซ้อนของข้อสอบ ควรเน้นที่ระดับอย่างน้อยคือ apply หรือ understand มากกว่า remember
- จำนวนข้อสอบ เมื่อออกแบบ table of specifications สำหรับการสอบครั้งนั้นแล้ว สิ่งที่สำาคัญคือการจัดทำข้อสอบให้มีสัดส่วนของเนื้อหาและระดับความซับซ้อนตรงกับตารางที่ได้วางแผนไว้ และตรวจสอบชุดข้อสอบที่ได้อีกครั้งว่ามีความถูกต้องตรงกับ table of specifications หรือไม่
Author: นพ.ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตรี
Downloads: 93
Issue2/2023-10 Educational movement
การสอบวัดความรู้ความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยข้อสอบปรนัยเป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานาน และผู้เขียนเชื่อว่าข้อสอบปรนัย ก็จะยังคงเป็นรูปแบบการวัดผลที่จะยังคงใช้ต่อไปอีกนาน เนื่องด้วยความสามารถในการวัดความรู้ที่ครอบคลุมหลายประเด็น โดยใช้เวลาไม่มากนัก คะแนนสอบที่ได้มามักมีความเที่ยงสูง กระบวนการตรวจให้คะแนนปราศจากอคติ และกระบวนการในการจัดสอบไม่ซับซ้อนมาก ทั้งผู้เข้าสอบและผู้จัดสอบยอมรับกระบวนการ และผลสอบว่ามีความยุติธรรม อย่างไรก็ดีแนวทางการจัดสอบด้วยข้อสอบปรนัย สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ในหลายด้าน
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 71
Issue2/2023-11 SHEE Sharing
Peer review improves the psychometric characteristics of multiple-choice questions ข้อสอบปรนัยที่่ดี ไม่เพียงแต่สามารถประเมินผลระดับความรู้ได้สูงถึงการประยุกต์ใช้ แต่สามารถประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และให้เหตุผลได้ด้วย อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ข้อสอบปรนัยที่่คุณภาพไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่่พบได้บ่อย จึงนำไปสู่การประเมินผลที่่ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน เท่าที่ควร กระบวนการพัฒนาข้อสอบปรนัยจึงเป็นสิ่งที่่ต้องให้ความสำคัญ
Author: นพ.ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตรี
Downloads: 169
Issue2/2023-12 SHEE Research
การประยุกต์ใช้วิจัยเชิงสหสัมพันธ์์ (Correlational Research) ในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นหนึ่งในวิธีการค้นหาความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัว (หรือมากกว่า) ในกลุ่มประชากรเดียวกัน หรือหาความสัมพันธ์ในตัวแปรเดียวกัน แต่มาจากประชากรหลายกลุ่ม ข้อดีของวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ คือไม่ต้องควบคุมตัวแปรเหมือนวิจัยเชิงทดลอง และวิเคราะห์ตัวแปรได้หลายตัวในครั้งเดียว ซึ่งหากทำวิจัยเชิงทดลอง ต้องควบคุมแปรแทรกซ้อน ใช้ทรัพยากรทั้งคน เวลา และเงินทุนมากกว่า
Author: ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Downloads: 322
Issue2/2023-13 Click & Go with technology
บทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยในการจัดสอบปรนัย (MCQ) บนระบบออนไลน์ โดยในส่วนแรกผู้เขียนจะนำเสนอเกี่ยวกับการสร้างข้อสอบปรนัยด้วย Microsoft Form และส่วนที่ 2 จะนำเสนอเกี่ยวกับการจัดสอบ ผ่าน Microsoft Classroom
Author: ผศ. ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
Downloads: 97
Issue2/2023-14 SHEE Podcast
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้จัดทํา SHEE Podcast ซึ่งรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ถ่ายทอดผ่านการพูดคุยในบรรยากาศสบาย ๆ เพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยเผยแพร่ทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน เวลา 20.00 น.
Author: SHEE
Downloads: 65
Issue2/2023-15 Upcoming Events
ศูนย์ SHEE ขอเชิญชวนอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือผู้สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษาทุกท่าน เข้าร่วมอบรมในโครงการต่าง ๆ ที่กำลังจะจัดขึ้น มีทั้งรูปแบบการบรรยาย หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ และครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน หรือการประเมินผล รวมไปถึงการทำวิจัยทางการศึกษา
Author: SHEE
Downloads: 65
Issue2/2023-16 Gallery
Pearls in medical education, เทคนิคการเขียนโครงร่างวิจัยทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, โครงการพัฒนาผู้ป่วยมาตรฐาน หลักสูตร Instructor training, Team-based learning: A way to energise medical curriculum 1/66
Author: SHEE
Downloads: 50