SHEE วารสารฉบับที่ 3 ปี 2023 (Full Version)
In this issue, the team has focused on the theme of "Team-Based Learning (TBL)". TBL is a form of active learning that helps students practice critical thinking, teamwork, and communication skills while being an efficient teaching method that requires fewer resources. It should be promoted for broader application in health science schools. However, without a proper understanding of the principles behind designing an effective team-based learning classroom, students may not fully develop the skills intended.
This issue of SHEE Journal presents important insights into implementing TBL, including:
- The rationale for using TBL.
- How to organize student groups effectively.
- Designing assessments and evaluations.
- Classroom management and facilitation.
The content provides valuable guidance for health science educators on how to design and implement TBL classrooms. It includes articles from faculty members and physicians from the Siriraj Health science Education Excellence center, Siriraj Medical School, and external experts. This comprehensive approach is intended to be highly beneficial for readers seeking to enhance their TBL practices in health science education.
Author: SHEE
Downloads: 451
Issue3/2023-01 Executive talk
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพในปัจจุบัน ควรเป็นการเรียนแบบ active learning มากขึ้น เนื่องจาก เป็นรูปแบบการเรียนที่มีประสิทธิผลสูงกว่า passive learning การสอน active learning สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ แต่หนึ่งในรูปแบบการเรียนรู้ที่สนุก ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดี และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คือการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ ทำงานเป็นทีม (Team-based learning หรือ TBL) ในวารสารฉบับนี้ทางทีมงาน SHEE journal จึงนำเสนอวารสารใน theme “Team-based learning” โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะส่งเสริมให้อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ รู้จักการเรียนรูปแบบนี้มากขึ้น และนำไปใช้สอนนักศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ มากขึ้น ส่งผลให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาที่ดีขึ้น สามารถนำาเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาให้กับผู้ป่วยได้อย่างมั่นใจ
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 201
Issue3/2023-02 เหตุใดควรใช้ Team-Based Learning
ประมาณ 110 ปีก่อน ได้เริ่มมีการรณรงค์ให้นักศึกษาแพทย์ มีความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานอย่างเพียงพอก่อนที่จะเรียนรู้ผ่านการดูแลผู้ป่วย และต่อมาได้มีการส่งเสริมให้จัดการสอนที่เน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ผลของปรากฏการณ์ดังกล่าวที่สำคัญ คือ การเรียนการสอนรูปแบบ problem-based learning (PBL) ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องมาเกือบ 50 ปี อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของ PBL ที่ต้องการ facilitator จำนวนมากในขณะหนึ่ง ๆ ทำให้เกิดปัญหา facilitator ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในหลักสูตรที่มีนักศึกษาจำนวนมาก วิธีการจัดประสบการณ์เรียนรู้แบบ active อีกรูปแบบจึงเริ่ม เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ และกำลังเป็นที่นิยมในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ team-based learning (TBL)
Author: ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ
Downloads: 136
Issue3/2023-03 การสร้าง Team ใน Team-Based Learning
การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน (Team-based learning หรือ TBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้โดยผู้เรียนใช้พลังของทีมส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ นอกจากนี้การสอนในรูปแบบ TBL เป็นการสอนคุณค่าของการทำงานเป็นทีม (teamwork) ซึ่งเป็นการทำงานที่สำคัญยิ่งสำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพทางสุขภาพ (healthcare professional) ซึ่งผู้เรียนจะได้ทำงานในอนาคตเมื่อสำเร็จการศึกษา การเกิดการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพนั้น คงไม่สามารถเกิดขึ้นเพียงแค่การรวมกลุ่มตามธรรมชาติ แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการออกแบบการสอนที่ดี และความทุ่มเทพยายามของผู้สอนให้เกิดขึ้น เพื่อพัฒนาและคงไว้ของการทำางานเป็นทีม ดังนั้น การสร้างทีม (Team formation) จึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญและเป็นขั้นตอนในช่วงแรกของ TBL เพื่อใช้ในการทำงานร่วมกันในกิจกรรมการเรียนรูปแบบ TBL โดยเฉพาะกิจกรรมแบบทดสอบในช่วง readiness assurance test และ application exercises
Author: รศ. นพ.โกสินทร์ วิระษร
Downloads: 384
Issue3/2023-04 Facilitation ใน Team-Based Learning
การเรียนรู้แบบเป็นทีม (team-based learning) นั้น เป็นหนึ่งในรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนแบบ active learning ที่มุ่งให้ผู้เรียนเป็นผู้ “ค้นพบ” ความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการอภิปรายภายในกลุ่มและในชั้นเรียน ดังนั้น บทบาทของอาจารย์ผู้สอนจึงเปลี่ยนจากผู้ “ป้อน” ความรู้ไปเป็นผู้ “ประคอง” กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้สามารถบรรลุผลการเรียนรู้ของชั่วโมงเรียนด้วยตัวเอง ผ่านกระบวนการ facilitation โดยอาจารย์ทำหน้าที่เป็น facilitator
ใน TBL นั้นบทบาทหลักของ facilitator จะอยู่ในช่วงการอภิปรายหลังจากการทำา gRAT และ application exercise เป็นหลักซึ่งประกอบไปด้วย
- การทำให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนรู้ของชั่วโมงเรียน
- การกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ขั้นสูงตาม Bloom’s taxonomy
- ควบคุมกิจกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามกำหนด
Author: ผศ. ดร. นพ.ไอยฤทธิ์ ไทยพิสุทธิกุล
Downloads: 178
Issue3/2023-05 Developing test items in Team-based Learning การสร้างโจทย์ข้อสอบในการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม
องค์ประกอบที่สำคัญมากส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม (Team-based learning: TBL) คือ โจทย์ข้อสอบที่ให้นักศึกษาหาคำตอบในห้องเรียน ซึ่งจะมีข้อสอบสองชุดที่ต้องจัดเตรียมในการสอนแต่ละครั้ง ข้อสอบชุดแรก เป็นข้อสอบประเมินความพร้อมของผู้เรียน (Readiness Assurance Test) ส่วนข้อสอบชุดที่สอง เป็นข้อสอบประเมินความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้หลังสอน (Application exercise) การจัดทำข้อสอบนี้ หากจัดทำได้ดีจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ความเห็นในกลุ่มนักศึกษาได้อย่างดี แต่แนวทางในการสร้างข้อสอบใน TBL นี้อาจไม่เหมือนกับการสร้างข้อสอบที่ใช้ในการประเมินผลปลายภาคเรียน (Summative assessment)
ในบทความนี้ ผู้เขียนจึงขออธิบายแนวทางในการพัฒนาข้อสอบที่จะใช้ในห้องเรียน TBL เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่สนุกและมีประสิทธิภาพ
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 259
Issue3/2023-06 แนวทางการประเมินใน Team-based learning
การประเมินผลในการเรียน team-based learning เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่มีความสำาคัญเพราะเป็น เสมือนการสื่อสารระหว่างอาจารย์กับผู้เรียนถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในชั้นเรียนนั้น ๆ หากวิธีการประเมินผล ในห้องเรียน team-based learning ถูกออกแบบอย่างเหมาะสม เชื่อได้ว่าผู้เรียนจะมีโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้จากทุก ๆ กระบวนการที่จัดขึ้นใน team-based learning มากที่สุด ผ่านหลักการสำาคัญ 3 ประเด็นดังนี
Author: นพ.ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตรี
Downloads: 334
Issue3/2023-07 Administrative issues in TBL
ถ้าผมชวนท่านผู้อ่านมาจัดการเรียนการสอนแบบ team-based learning ร่วมกัน จัดเลยอาทิตย์หน้า ในรายวิชาที่ท่านกำลังสอนอยู่ ผมเดาว่าคงมีบางท่านคิดในใจว่าสบายมากพร้อมจัด แล้วก็มีหลายท่านเช่นกันที่อาจจะเหงื่อตกอยู่ไม่น้อย แต่เพื่อให้ท่านเข้าใจเนื้อหาของบทความนี้มากขึ้น ผมลองให้ท่านผู้อ่านทุกท่านลองตอบคำถามวัดความพร้อมด้วย individual readiness assurance test (iRAT) ปลายเปิด 4 ข้อนี้ ในใจดูครับ เพื่อประเมินว่าเรามีความพร้อมระดับใด ถ้าต้องจัด TBL เร็ว ๆ นี้เลย
Author: นพ.ปุญญภัทร มาประโพธิ์
Downloads: 118
Issue3/2023-08 Students’ voice
พบกันอีกครั้งกับบทความที่จะนำพาท่านผู้อ่านที่สนใจเกี่ยวกับการศึกษาได้เห็นมุมมอง และฟังเสียงโดยตรงจากนักศึกษาในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ กับบทความ ‘Students’ voice’ และในวารสารฉบับนี้ ทางทีมงานได้สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทำงานเป็นทีม หรือ Team-based learning ของนักศึกษาแพทย์ โดยมุ่งเน้นไปที่จุดเด่นและจุดพัฒนาของการเรียน Team-based learning ผ่านมุมมองผู้เรียนที่แตกต่างกัน
โดยตามหลักการเรียนรู้ Team-based learning มีองค์ประกอบหลากหลายขั้นตอน ตั้งแต่การศึกษาบทเรียนล่วงหน้า, การทำโจทย์ปัญหา iRAT, gRAT และ application exercise ในห้องเรียน รวมถึง บรรยากาศห้องเรียนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในแต่ละขั้นตอน ล้วนมีความท้าทายในการจัดการเรียนการสอนทั้งสิ้น
Author: นพ.คณิน ดาษถนิม
Downloads: 169
Issue3/2023-09 เชิด-ชู
กลับมาอีกครั้งกับบทความ ‘เชิด-ชู’ ที่จะพาทุกท่านมารับฟังมุมมองที่น่าสนใจทางการศึกษา จากอาจารย์แพทย์ที่มีความโดดเด่นในด้านความเป็นครู ในวารสารฉบับนี้ ทีมงานมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก รศ. พญ.พรพรรณ กู้มานะชัย แบบอย่างด้านความเป็นครู ผู้ซึ่งได้รับรางวัลครูแพทย์ดีเด่น ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ประจำปีการศึกษา 2565
Author: SHEE
Downloads: 88
Issue3/2023-10 สับ สรรพ ศัพท์
Socratic question คือ คำถามที่กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้ความคิดระดับสูง (higher-order thinking) ในการคิดเพื่อหาคำตอบ หากอ้างอิงตาม Bloom’s revised taxonomy ด้าน cognitive domain จะหมายถึง ระดับ analyze evaluate และ create ซึ่งต้อง อาศัยกระบวนการคิดที่ซับซ้อนในการหาคำตอบที่เหมาะสม Socratic question จึงเป็นคำถามที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการพัฒนาความ สามารถทางความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Author: นพ.ภาสวุฒิ ศิริทองถาวร
Downloads: 76
Issue3/2023-11 Educational movement
จากเนื้อหาที่ท่านผู้อ่านได้เห็นจากในบทความฉบับนี้ จะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ ทำงานเป็นทีม (Team-based learning: TBL) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประโยชน์ ทำได้ไม่ยากนัก และส่งผลดีอย่างมากต่อผู้เรียน ทิศทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพในปัจจุบัน และอนาคตพึงมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบนี้มากขึ้น ในบทความนี้ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางที่โรงเรียน วิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถใช้วางแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ TBL ให้มีประสิทธิภาพในบริบทของโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 87
Issue3/2023-12 SHEE Sharing
การเรียนรู้แบบ team-based learning ได้รับการศึกษายืนยันจากหลายงานวิจัยแล้วว่าเป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนไม่เพียงแต่จดจำหรือเข้าใจเนื้อหาสาระ แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้ อย่างไรก็ตาม team-based learning ถือเป็นห้องเรียนที่มีหลายขั้นตอนตั้งแต่การเตรียมตัวก่อนเรียน การทำ readiness assurance test รวมถึง application exercise และในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่สามารถบอกได้ว่า ห้องเรียนแบบ team-based learning ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมีขั้นตอนเหล่านี้ทุกขั้นตอนจริงหรือไม่
Author: พญ.พิมพ์มาดา สมรรคจันทร์
Downloads: 66
Issue3/2023-13 SHEE Research
นักวิจัยนิยมเลือกใช้การสังเกตก็ต่อเมื่อคำถามวิจัยต้องการรู้พฤติกรรมของคน การสังเกตนี้ถือว่าเป็นวิธีเก็บข้อมูลที่ดีที่สุด ตรงตามความเป็นจริง โดยเฉพาะถ้าได้ทำซ้ำ ๆ ก็ยิ่งช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือได้ แต่การสังเกต ถือเป็นทักษะขั้นสูงที่ต้องฝึกฝนกันพอสมควร เนื้อหาในบทความนี้ ผมจึงอยากชวนทุกคน มาลองเปิดประตูทำความรู้จักการสังเกตให้มากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจก่อนจะเลือกใช้วิธีการสังเกต ตั้งแต่เตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเก็บข้อมูล เห็นทักษะจำเป็นที่จะใช้ร่วมกับการสังเกตและเข้าใจ
Author: ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Downloads: 74
Issue3/2023-14 Click & Go with technology
การจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ Team-based Learning นั้น ผู้เรียนจะต้องทำการสอบด้วยตนเองซึ่งเราเรียกว่า iRAT (Individual Readiness Assurance Test) หลังจากนั้นจะเป็นการสอบแบบกลุ่ม ซึ่งเราเรียกว่า gRAT (group Readiness Assurance Test) ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยในการสร้างแบบทดสอบ ทั้ง iRAT และ gRAT ด้วย Google Form เพื่อช่วย อำนวยความสะดวกให้กับผู้สอน หลังจากผู้เรียนทำการทดสอบเรียบร้อยแล้ว ผู้สอนก็จะทราบผลคะแนนของผู้เรียนแต่ละคน และผลคะแนนของการสอบแบบกลุ่ม
Author: ผศ. ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
Downloads: 265
Issue3/2023-15 SHEE Podcast
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้จัดทํา SHEE Podcast ซึ่งรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ถ่ายทอดผ่านการพูดคุยในบรรยากาศสบาย ๆ เพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยเผยแพร่ทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน เวลา 20.00 น.
Author: SHEE
Downloads: 69
Issue3/2023-16 Upcoming events
ศูนย์ SHEE ขอเชิญชวนอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือผู้สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษาทุกท่าน เข้าร่วมอบรมในโครงการต่าง ๆ ที่กำลังจะจัดขึ้น มีทั้งรูปแบบการบรรยาย หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ และครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน หรือการประเมินผล รวมไปถึงการทำวิจัยทางการศึกษา
Author: SHEE
Downloads: 71
Issue3/2023-17 Gallery
SHEE Journal Gallery. Pearls in Medical Education หัวข้อ ทิศทางแพทยศาสศึกษาในศตวรรษที่ 21 และโครงการอบรมเชิงปฎิบัติเรื่อง ความรู้พื้นฐานสำหรับครูแพทย์มือใหม่
Author: SHEE
Downloads: 65