SHEE Journal No. 2 2023 (Full Version)
In this issue, the team has focused on the theme: "High-Quality MCQs for Health Science Education". Multiple-choice questions (MCQs) are among the most widely used forms of assessment, from basic education to health science education, due to their many advantages. However, issues related to poorly constructed MCQs are still prevalent, leading to inaccurate measurements and preventing instructors from distinguishing between students of different levels of competence. Therefore, improving the quality of MCQs is crucial and should be addressed as soon as possible.
This issue of SHEE Journal presents key insights into creating high-quality MCQs, including:
- The rationale for using MCQs in assessments.
- Best practices for designing effective MCQs.
- Methods for analyzing MCQs to ensure their quality.
The content provides valuable guidelines for health science educators on how to develop and analyze MCQs. It includes articles from faculty members and physicians from the Siriraj Health science Education Excellence center, Siriraj Medical School, and external experts. This comprehensive approach aims to assist educators in creating more effective assessments and improving learning outcomes in health science education.
Issue2/2023-01 Executive talk
การสอบ รูปแบบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในระบบการศึกษาของประเทศไทย รวมถึงในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพด้วยคือ ข้อสอบปรนัย กว่าที่บัณฑิตจะจบหลักสูตรจะผ่านการทำข้อสอบปรนัยเป็นพันข้อ คุณภาพของข้อสอบปรนัยที่ดี จึงเป็นประสบการณ์ทางการศึกษาที่มีส่วนสำคัญไม่น้อยในระบบการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ การที่ข้อสอบปรนัยมีการใช้กันอย่างมากเช่นนี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันว่าการวัดผลในรูปแบบนี้มีข้อดีอยู่มาก ข้อสอบปรนัยสามารถวัดความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้าสอบได้ครอบคลุมเนื้อหาปริมาณมากโดยใช้เวลาไม่มากนัก กระบวนการจัดสอบสามารถทำได้ไม่ยาก ใช้ทรัพยากรน้อย สามารถวางระบบให้เกิดการสอบที่เป็นธรรม ผู้สอบทุกคน ได้รับการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ คะแนนสอบมีความเที่ยงสูง นำไปสู่การตัดสินผลสอบที่มีความผิดพลาดน้อย อย่างไรก็ดีการสอบปรนัยที่ดำเนินการไม่ดี ก็สร้างปัญหาได้ไม่น้อย ข้อสอบที่ไม่ดีมักส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนแบบท่องจำแบบไม่เข้าใจ สอบเสร็จแล้วก็ลืม ข้อสอบที่มีความกำกวมบางครั้งนำไปสู่ การร้องเรียนจากผู้เข้าสอบที่รู้สึกว่าตนไม่ควรเสียคะแนน เนื่องจากข้อสอบไม่มีคุณภาพ นำไปสู่ความวุ่นวายในการปรับเปลี่ยนเฉลย แก้คะแนน สร้างความไม่น่าเชื่อถือให้กับผู้ดูแลการสอบ
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 197
Issue2/2023-02 ทำไมเราควรใช้ข้อสอบ MCQ ในการวัดความรู้
ถ้าจะพููดถึงประสิทธิภาพของข้อสอบปรนัยนั้น ส่วนที่สำคัญคือ สามารถนำมาวัดความรู้ของผูู้เรียนได้หลากหลายและลึกซึ้ง จากข้อคำถามที่วัดได้ ครอบคลุมพฤติกรรมที่ต้องการวัด ไม่เฉพาะระดับความจำ กรณีการออกข้อสอบปรนัยทำได้ดีและมีคุณภาพ อาจใช้วัดความรู้ผู้เรียนไปได้ถึงการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการปฏิบัติจริง ผู้สอนสามารถสุ่มตัวอย่างสถานการณ์ทางคลินิกมาออกสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อสอบปรนัยจึงสามารถชี้วัดความรู้ปริมาณมากได้ในเวลาน้อย การสอบด้วยข้อสอบปรนัยทำให้การวัดผลมีความเป็นไปได้สะดวกรวดเร็วและประหยัดในการจัดสอบ สามารถจัดได้พร้อมกันในหลายศูนย์การทดสอบ การทดสอบมีความเป็นปรนัยจากข้อคำถามที่ชัดเจน ทำให้ผู้สอบเข้าใจความหมายได้ถูกต้องตรงกัน รวมไปถึงการตรวจและการแปลผลคะแนน ซึ่งในการตรวจให้คะแนนไม่ว่าจะเป็นบุคคล หรือเครื่องตรวจให้คะแนนอัติโนมัติผลคะแนนมักจะตรงกัน ผู้สอบทราบผลคะแนนเร็ว คะแนนจากการสอบด้วยข้อสอบปรนัยมีความเที่ยงสูงจากการที่ผลจากการวัดสม่ำเสมอ หรือคงเส้นคงวา คะแนนจากการสอบยังช่วยขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน และคะแนนจากข้อสอบปรนัยยังมีความสัมพันธ์สูงกับการตอบข้อสอบแบบเติมคำ
Author: ดร.ปาริชาต อภิเดชากุล
Downloads: 346
Issue2/2023-03 การเขียนโจทย์ข้อสอบ MCQ ที่ดี
MCQ เป็นรูปแบบการประเมินผลการเรียนรู้ ใช้วัดความรู้ในระดับสูงในเรื่องการตัดสิน และการแก้ปัญหาของผู้เรียนได้ กระบวนการสร้างข้อสอบปรนัย (MCQ) ที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้ออกข้อสอบต้องเขียนข้อสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของข้อนั้น ๆ ฝึกฝนทักษะการเขียนข้อสอบ วิพากษ์ข้อสอบร่วมกันเป็นทีม ทั้งนี้ข้อผิดพลาดในการสร้างข้อสอบปรนัย (MCQ) อาจเกิดขึ้นจากขาดการฝึกฝนอบรม และเวลาที่จำกัดของผู้ออกข้อสอบ เนื่องจากภาระหน้าที่ทางวิชาการอื่น ๆ การมีคำแนะนำการเขียนข้อสอบปรนัย (MCQ) ที่ดี จักช่วยให้ผู้ออกข้อสอบทำงานได้ง่ายขึ้น
Author: พญ.ศิริพร ฐิติสกุลวงศ์
Downloads: 1,133
Issue2/2023-04 การเขียนตัวเลือกข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด
ข้อสอบปรนัยชนิดเลือกคำตอบที่ถูกที่สุด (Multiple choice question) เป็นข้อสอบที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในหลายระดับการสอบ และหลากหลายสาขาวิชา เนื่องจากเป็นข้อสอบที่สามารถประเมิน ความรู้ได้กว้าง สามารถบริหารจัดการการสอบได้ง่าย ข้อสอบจะประกอบไปด้วย คำถามหรือโจทย์ และตัวเลือก (options) ซึ่งผู้ออกข้อสอบจะเป็นผู้นำเสนอให้ผู้สอบเลือกตอบ โดยประกอบไปด้วย ตัวเลือกที่ถูกต้อง (correct option) และตัวลวง (distractors) ตัวเลือกที่ถูกต้องควรมีเพียงตัวเลือกเดียวในข้อสอบข้อนั้น ๆ ส่วนตัวลวงเป็นคำตอบที่ผิด หรือไม่เหมาะสมที่จะเลือกตอบในข้อสอบข้อนั้น ซึ่งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นข้อความที่ผิดทั้งหมด ปัจจัยที่มีผลต่อตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพมีประเด็นสำคัญ ได้แก่ จำนวนของตัวเลือก และลักษณะของตัวเลือก
Author: ผศ.(พิเศษ) พญ.จิติมา ติยายน
Downloads: 814
Issue2/2023-05 ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการสร้างข้อสอบปรนัย
ข้อสอบปรนัยเป็นข้อสอบที่นิยมนำมาใช้ในการประเมินนักศึกษาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื่องจากเป็นชนิดของข้อสอบที่มีความเที่ยงและความตรงสูง สมรรถวัดศักยภาพของผู้เรียนในด้าน ความรู้ได้ดี ถึงกระนั้นการพัฒนาข้อสอบปรนัยก็มีข้อผิดพลาดบางประการที่อาจส่งผลให้คุณภาพข้อสอบลดลง โดยทั่วไปความผิดพลาดในการออกข้อสอบปรนัยสามารถแบ่งได้เป็น ความผิดพลาดในเชิงเนื้อหาข้อสอบ และความผิดพลาดในตัวข้อสอบ ในบทความนี้ได้เรียบเรียงข้อผิดพลาดชนิดในตัวข้อสอบที่พบบ่อยในการสร้างข้อสอบปรนัย รวมถึงข้อสอบตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณา โดยสังเขป
Author: รศ. นพ.ทศ หาญรุ่งโรจน์
Downloads: 100
Issue2/2023-06 Item analysis of Multiple-choice questions
การวิเคราะห์ข้อสอบ (item analysis) เป็นการใช้วิธีการทางสถิติเพื่อวิเคราะห์คำตอบที่ผู้เข้าสอบ ตอบเพื่อประเมินคุณสมบัติของข้อสอบ ว่าทำงานได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 และมีการเสนอเทคนิคใหม่ออกมาเป็นระยะ ๆ เพื่อศึกษาคุณสมบัติที่ลึกซึ้งขึ้นของข้อสอบ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเทคนิคที่มีการใช้งานในวงการแพทยศาสตรศึกษากันอย่างกว้างขวางกันในปัจจุบัน เป็นการวิเคราะห์ข้อสอบแบบพื้นฐาน ด้วยแนวคิด ของ Classical test theory ในบทความนี้ ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะเทคนิคการวิเคราะห์ข้อสอบ ตาม Classical test theory เท่านั้น เพื่อมุ่งหวังให้ผู้อ่านทุกท่านสามารถแปลผลรายงานการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัยที่ใช้กันทั่วไปในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพไทย และนำไปสู่การพัฒนาการสอบปรนัยในปัจจุบันได้
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 415
Issue2/2023-07 Students’ voice
ในฉบับนี้ทางทีมงานได้สำารวจความคิดเห็นของผู้เรียนในหัวข้อ “ข้อสอบปรนัยที่ดีควรมีลักษณะเป็นอย่างไร” ซึ่งในกลุ่มผู้เรียนที่ได้มาแสดงความคิดเห็นนั้น ทางทีมงานได้คัดเลือกจากกลุ่มนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 3 และแพทย์ใช้ทุนชั้นปีที่ 1 ซึ่งผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่มนี้ ถือเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ดี เนื่องจากเป็นผู้เรียนที่ได้ผ่านประสบการณ์การวัดประเมินผลความรู้ด้วยรูปแบบข้อสอบปรนัยมาอย่างมากมายทั้งการสอบภายใน สถาบันตนเอง และการสอบวัดมาตรฐานระดับประเทศ ทั้งในระดับชั้นปรีคลินิกและคลินิก
Issue2/2023-08 เชิด-ชู
ในบทความ “เชิด-ชู” ฉบับนี้ ทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ รศ. ดร. พญ. ฉันทชา สิทธิจรูญ ครูแพทย์ซึ่งมีประสบการณ์ทั้งการสอนนักศึกษาแพทย์และร่วมพัฒนาการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นเวลานาน จนเป็นที่ยอมรับจากทั้งอาจารย์และนักศึกษา ทำให้ได้มาซึ่งรางวัลในด้านความเป็นครูมากมาย เช่น ได้รับพระราชทานทุนส่งเสริมบัณฑิต มูลนิธิอานันทมหิดล ประจำปี พ.ศ. 2558 และ พ.ศ. 2562 รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นระดับปริญญาโทสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ปี 2562 ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นระดับปรีคลินิก “ทุนเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี” ประจำปีการศึกษา 2564 ได้รับการรับรองให้เป็น Senior Fellowship of the Higher Education Academy (SFHEA) จาก the United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ได้รับการรับรองว่าผ่านการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ระดับที่ 3 และได้รับการรับรองว่าผ่านการประเมินระดับมาตรฐานอาจารย์ด้านการศึกษาของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระดับที่ 4 จึงขอนำข้อคิดและแรงบันดาลใจในการเป็นครูแพทย์ที่ดีมาฝากทุกท่าน
Author: SHEE
Downloads: 207
Issue2/2023-09 สับ สรรพ ศัพท์
Table of specifications หรือ test blueprint หมายถึง ตารางที่แสดงความเชื่อมโยงระหว่างวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (Learning outcomes) และข้อสอบทั้งลักษณะและจำนวน เพื่อทำให้เกิดความสอดคล้องซึ่งกันและกัน
องค์ประกอบในการเขียน table of specifications มี 3 องค์ประกอบ หลัก ได้แก่
- วัตถุประสงค์การเรียนรู้/เนื้อหา โดยเน้นเนื้อหา must know และไม่ควรมีเนื้อหากลุ่ม nice to know
- ระดับความซับซ้อนของข้อสอบ ควรเน้นที่ระดับอย่างน้อยคือ apply หรือ understand มากกว่า remember
- จำนวนข้อสอบ เมื่อออกแบบ table of specifications สำหรับการสอบครั้งนั้นแล้ว สิ่งที่สำาคัญคือการจัดทำข้อสอบให้มีสัดส่วนของเนื้อหาและระดับความซับซ้อนตรงกับตารางที่ได้วางแผนไว้ และตรวจสอบชุดข้อสอบที่ได้อีกครั้งว่ามีความถูกต้องตรงกับ table of specifications หรือไม่
Author: นพ.ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตรี
Downloads: 110
Issue2/2023-10 Educational movement
การสอบวัดความรู้ความสามารถของบุคลากรทางการแพทย์ ด้วยข้อสอบปรนัยเป็นสิ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานาน และผู้เขียนเชื่อว่าข้อสอบปรนัย ก็จะยังคงเป็นรูปแบบการวัดผลที่จะยังคงใช้ต่อไปอีกนาน เนื่องด้วยความสามารถในการวัดความรู้ที่ครอบคลุมหลายประเด็น โดยใช้เวลาไม่มากนัก คะแนนสอบที่ได้มามักมีความเที่ยงสูง กระบวนการตรวจให้คะแนนปราศจากอคติ และกระบวนการในการจัดสอบไม่ซับซ้อนมาก ทั้งผู้เข้าสอบและผู้จัดสอบยอมรับกระบวนการ และผลสอบว่ามีความยุติธรรม อย่างไรก็ดีแนวทางการจัดสอบด้วยข้อสอบปรนัย สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ในหลายด้าน
Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 89
Issue2/2023-11 SHEE Sharing
Peer review improves the psychometric characteristics of multiple-choice questions ข้อสอบปรนัยที่่ดี ไม่เพียงแต่สามารถประเมินผลระดับความรู้ได้สูงถึงการประยุกต์ใช้ แต่สามารถประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ และให้เหตุผลได้ด้วย อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ข้อสอบปรนัยที่่คุณภาพไม่เหมาะสมเป็นปัญหาที่่พบได้บ่อย จึงนำไปสู่การประเมินผลที่่ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียน เท่าที่ควร กระบวนการพัฒนาข้อสอบปรนัยจึงเป็นสิ่งที่่ต้องให้ความสำคัญ
Author: นพ.ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตรี
Downloads: 185
Issue2/2023-12 SHEE Research
การประยุกต์ใช้วิจัยเชิงสหสัมพันธ์์ (Correlational Research) ในการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นหนึ่งในวิธีการค้นหาความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัว (หรือมากกว่า) ในกลุ่มประชากรเดียวกัน หรือหาความสัมพันธ์ในตัวแปรเดียวกัน แต่มาจากประชากรหลายกลุ่ม ข้อดีของวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ คือไม่ต้องควบคุมตัวแปรเหมือนวิจัยเชิงทดลอง และวิเคราะห์ตัวแปรได้หลายตัวในครั้งเดียว ซึ่งหากทำวิจัยเชิงทดลอง ต้องควบคุมแปรแทรกซ้อน ใช้ทรัพยากรทั้งคน เวลา และเงินทุนมากกว่า
Author: ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Downloads: 413
Issue2/2023-13 Click & Go with technology
บทความนี้ผู้เขียนจะนำเสนอโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยในการจัดสอบปรนัย (MCQ) บนระบบออนไลน์ โดยในส่วนแรกผู้เขียนจะนำเสนอเกี่ยวกับการสร้างข้อสอบปรนัยด้วย Microsoft Form และส่วนที่ 2 จะนำเสนอเกี่ยวกับการจัดสอบ ผ่าน Microsoft Classroom
Author: ผศ. ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
Downloads: 116
Issue2/2023-14 SHEE Podcast
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้จัดทํา SHEE Podcast ซึ่งรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ถ่ายทอดผ่านการพูดคุยในบรรยากาศสบาย ๆ เพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยเผยแพร่ทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน เวลา 20.00 น.
Author: SHEE
Downloads: 86
Issue2/2023-15 Upcoming Events
ศูนย์ SHEE ขอเชิญชวนอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือผู้สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษาทุกท่าน เข้าร่วมอบรมในโครงการต่าง ๆ ที่กำลังจะจัดขึ้น มีทั้งรูปแบบการบรรยาย หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ และครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน หรือการประเมินผล รวมไปถึงการทำวิจัยทางการศึกษา
Author: SHEE
Downloads: 89
Issue2/2023-16 Gallery
Pearls in medical education, เทคนิคการเขียนโครงร่างวิจัยทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, โครงการพัฒนาผู้ป่วยมาตรฐาน หลักสูตร Instructor training, Team-based learning: A way to energise medical curriculum 1/66
Author: SHEE
Downloads: 65