Notification {loadmoduleid 141}{loadmoduleid 142}

Info {loadmoduleid 143}{loadmoduleid 144}

journal-2023-01-cover

SHEE Journal No. 1 ปี 2023 (Full Version)

In this issue, the team focuses on the theme: "How to Teach Patient-Centered Care". Patients are essential members of the healthcare team, yet healthcare teams often neglect to actively involve patients in their care. This oversight can lead to issues between the medical team and patients, and the problem continues to escalate in modern times. To address this, future health science professionals must understand and implement patient-centered care in their practices.

This issue of SHEE Journal aims to provide insights into teaching students to involve patients as active participants in the healthcare team. It includes key strategies for educators on how to incorporate patient-centered care principles into teaching and assessment. The content presented in the journal includes articles from faculty members and medical residents from the Siriraj Health science Education Excellence center, Siriraj Medical School, and external experts. This comprehensive approach is designed to offer practical guidance for educators and to foster better collaboration between healthcare teams and patients, ultimately improving the patient experience and health outcomes.

Author: SHEE
Downloads: 390

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_030

Issue1/2023-01 Executive talk

การให้บริการทางสุขภาพแก่ผู้ป่วยในปัจจุบันมิได้มุ่งเน้นเพียงการรักษามาตรฐานเดียวกันในผู้ป่วยทุกคนเท่านั้น วงการแพทย์ในปัจจุบันตระหนักว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน บุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกคนต้องให้ความสนใจในความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ป่วยแต่ละคน และให้บริการที่ไม่เพียงถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ยังต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 87

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_050

Issue1/2023-02 Patient-centered Medicine

วัตถุประสงค์ ทักษะ และสมรรถนะ ที่โรงเรียนวิทยาศาสุตร์สุุขภาพให้ความสำคัญ ในบทความนี้จึงอยากชวนท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าใจองค์ประกอบสำคัญ ของ PCM และเห็นว่าการสอดแทรกองค์ประกอบทั้ง 6 ส่วนให้เป็นเนื้อเดียวกันในหลักสูตร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ผ่านมาอย่างไร ไปจนถึงว่า ในแต่ละระดับของการเรียนการสอน มีส่วนใดบ้างที่มีการปรับเพื่อตอบรับองค์ประกอบสำคัญทั้ง 6 ส่วน ตั้งแต่การพัฒนาหลักสูตร การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล

Author: นพ.ปุญญภัทร มาประโพธิ์, ร.ท. นพ.ภาณุภัท นราศุภรัฐ, ศ. พญ.สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์
Downloads: 193

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_120

Issue1/2023-03 Transformative Learning to promote humanized health care

การสอนให้แพทย์ดูแลผู้ป่วยด้วยความเป็นมนุษย์ (humanized health care) เป็นความท้าทายในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีปัญญาประดิษฐ์ที่อาจมาแทนที่มนุษย์ได้หลายด้าน และทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายในชีวิตแตกต่างกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม การดูแลทางด้านจิตใจที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยและญาติยังต้องการเสมอ เป็นเป้าหมายสำคัญที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนแพทย์

Author: ผศ. นพ. พนม เกตุมาน
Downloads: 102

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_190

Issue1/2023-04 Culture of respect: Cultivate humanities with the environment in medical schools

Culture of respect ในทางการแพทย์ คือ วัฒนธรรมแห่งความเคารพซึ่งกันและกัน ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุุขภาพ เป็นสถานที่ที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่มีความหลากหลายทั้งในด้านอายุและวิชาชีพการทำงาน ซึ่งการที่อาจารย์จะสอนให้ผู้เรียนดูแลผป่่วยด้วยความเป็นมนุษย์แล้วนั้น การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพซึ่งกันและกัน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้้ผู้้เรียนมีความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

Author: ผศ. พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล
Downloads: 487

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_220

Issue1/2023-05 How to develop patient-doctor communication skills

อย่างที่เราได้ทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า การสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากในการทำงานทางการแพทย์ และการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยและญาติเป็นการสื่อสารที่มีความจำเพาะ มีหลักการ และมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการรักษา ในบทความนี้ เราจะมาช่วยกันตอบคำถามต่อไปที่ว่าหากเรารู้ว่าการสื่อสารมีความสำคัญแล้วพวกเราจะพัฒนาสิ่งนี้ได้อย่างไร

Author: รศ. พญ.ธัชวรรณ จิระติวานนท์
Downloads: 123

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_240

Issue1/2023-06 เข้าใจมุมมองของผู้ป่วย ผ่านการเรียนรู้ด้วย Human simulation

“อัตตานัง อุปมัง กเร" คติพจน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้นตั้งแต่ยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งนับเป็นจุดกำเนิดของการเรียนการสอนในวิชาชีพแพทย์และวงการสาธารณสุขของประเทศไทย โดยมีความหมายว่า “พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง” หรือ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ดังนั้นความเข้าใจในมุมมองของผู้ป่วยจึงนับเป็นทักษะพื้นฐานของวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าใจในมิติของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้ ผมจึงชวนท่านผู้อ่านมารู้จักกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาความเข้าใจในมุมมองของผู้ป่วยให้แก่ผู้เรียน นั่นคือ การใช้สถานการณ์จำลองมนุษย์ (human simulation) กันนะครับ

Author: นพ.วุฒิภัทร เอี่ยมมีชัย
Downloads: 107

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_280

Issue1/2023-07 การเรียนรู้ผ่านความเข้าใจคนไข้ สู่การเป็นแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย

“ค่ายหมอนอกรั้วโรงเรียนแพทย์” เป็นค่ายที่เริ่มต้นมาจากความทุกข์ของทีมแพทย์จบใหม่ที่ไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลชุมชน ในปี 2555 ซึ่งในแต่ละพื้นที่ต่างมีข้อจำกัดและบริบทที่แตกต่างจากในรั้วโรงเรียนแพทย์อย่างสิ้นเชิง ทีมผู้ริเริ่มจึงมีแนวคิดร่วมกันว่า หนึ่งในวิธีที่จะช่วยลดความทุกข์นี้ คือ การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกได้มาเรียนรู้ประสบการณ์ผ่านชีวิตจริงของแพทย์และคนไข้ที่โรงพยาบาลชุมชน ทั้งในรั้วโรงพยาบาลและนอกรั้วโรงพยาบาล ผ่านการสัมผัสประสบการณ์ตรง (experiential learning) การเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered learning) การสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ภายใน (self-reflection) และหล่อหลอมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองภายใน (transformative learning) 

Author: พญ.ทักษิณา ครบตระกูลชัย, นพ.ศุภชัย ครบตระกูลชัย, นพ.อิทธิพล อุดตมะปัญญา ทีมผู้ริเริ่มค่ายหมอนอกรั้วโรงเรียนแพทย์
Downloads: 90

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_320

Issue1/2023-08 Students’ voice

ในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำทุกท่านไปพบกับมุมมองของนิสิต-นักศึกษาแพทย์ต่อการแพทย์ โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางหรือ Patient-centered medicine โดยทางผู้เขียนได้สัมภาษณ์นักศึกษาแพทย์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากนักศึกษาแพทย์ต่างสถาบันต่างชั้นปี เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย และครอบคลุม โดยนักศึกษาส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาที่เป็นตัวแทนของนักศึกษาที่สถาบันของตนเอง เช่น อุปนายกสโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช นายกสโมสรนิสิตแพทย์จุฬาฯ

Author: นพ.ภาสวุฒิ ศิริทองถาวร
Downloads: 121

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_370

Issue1/2023-09 เชิด-ชู

บทความเชิดชูในวารสารฉบับนี้ทางทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ศ. นพ. สุพจน์ พงศ์ประสบชัย ครูแพทย์ผู้มีประสบการณ์การสอนและดููแลนักศึกษามาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นครูแพทย์ที่เป็นต้นแบบให้กับอาจารย์แพทย์และนักศึกษาแพทย์หลายคน ซึ่งอาจารย์เพิ่งได้รับรางวัล อายุรแพทย์ดีเด่นด้านครูแพทย์ ประจำปี 2566 จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์จึงได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ดี ๆ ให้แก่ผู้อ่านทุกท่านในบทความนี้

Author: SHEE
Downloads: 109

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_400

Issue1/2023-10 สับ สรรพ ศัพท์

Shared decision making หมายถึง การวางแผนการรักษาหรือการสืบค้นเพิ่มเติม โดยอาศัยความคิดเห็นจากทั้งทีมแพทย์และผู้ป่วยเพื่อให้ได้แนวทางการรักษาที่ตั้งทั้งอยู่บนหลักการทางการแพทย์รวมไปถึงความต้องการของผู้ป่วยและญาติ

Author: นพ.ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตรี
Downloads: 302

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_430

Issue1/2023-11 Educational movement

การดูแลโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-centered care) ได้รับการนิยามโดย Institute of  Medicine ว่าเป็นการดูแลผู้ป่วยโดยให้เกียรติ และตอบสนองต่อความต้องการ ความชอบ และคุณค่าของผู้ป่วย และทำให้มั่นใจได้ว่าคุณค่าในชีวิตของผู้ป่วยจะเป็นสิ่งชี้แนะแนวทางการตัดสินใจทางคลินิก แนวทางการดูแลผู้ป่วยในลักษณะนี้ แสดงให้เห็นว่าการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย แม้เป็นโรคเดียวกัน ความรุนแรงเท่ากัน แต่บุคลากรที่ดูแลก็อาจปฏิบัติต่อผู้ป่วยแตกต่างกันได้

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 83

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_470

Issue1/2023-12 การสอนบรรยายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive lecture) HOT

การสอนบรรยาย (lecture) เป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  (learning activity) และเป็นรูปแบบหลักสำหรับการเรียนในช่วงปีแรก ๆ ของนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานตามสาขาวิชาชีพ การสอนบรรยายที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ สามารถส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียนในห้องเรียนกลุ่มใหญ่ (large classroom) ได้โดยอาจใช้ผู้บรรยายเพียงหนึ่งคน การสอนบรรยายจึงถือเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประหยัดทรัพยากรบุคคลอย่างมาก

Author: ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ
Downloads: 621

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_550

Issue1/2023-13 SHEE Sharing

ในบทความนี้ผู้เขียนได้เลือกผลงานวิจัยเรื่อง Attitudes and Habits of Highly Humanistic Surgeons: A Single-Institution, Mixed-Methods Study โดย Robert A. Swendiman และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Academic Medicine ปี 2019 มานำเสนอให้ผู้อ่านทุกท่าน

Author:
Downloads: 86

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_580

Issue1/2023-14 วิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic research)

วิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic research) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาวัฒนธรรม พฤติกรรม ค่านิยม ทัศนคติ การใช้ชีวิตประจำวันของกลุ่มคนผ่านการเล่าเรื่องอย่างละเอียดของนักวิจัยจากสิ่งที่ตัวเองได้สัมผัสให้ผู้อ่านฟัง

Author: อ. ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Downloads: 86

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_600

Issue1/2023-15 Click & Go with technology

การสร้าง E-Portfolio ด้วย WIX ในปัจจุบันการประเมินผลผู้เรียนนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ หนึ่งในรูปแบบที่เป็นที่นิยมใช้ซึ่งเป็นวิธีการประเมินผลโดยรวบรวมจากผลงานที่ผู้เรียนนั้นได้ทำหรือได้ปฏิบัติ นั่นคือ Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน ซึ่ึงสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นรูปเล่ม หรือเป็นชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำเว็บไซต์ที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนของท่านสามารถสร้าง e-portfolio ผ่านเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้งานได้สะดวก

Author: ผศ. ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
Downloads: 146

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2 620

Issue1/2023-16 SHEE Podcast

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้จัดทํา SHEE Podcast ซึ่งรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ถ่ายทอดผ่านการพูดคุยในบรรยากาศสบาย ๆ เพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยเผยแพร่ทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน เวลา 20.00 น.

Author: SHEE
Downloads: 72

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2 630

Issue1/2023-17 Upcoming Events

ศูนย์ SHEE ขอเชิญชวนอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือผู้สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษาทุกท่าน เข้าร่วมอบรมในโครงการต่าง ๆ ที่กำลังจะจัดขึ้น มีทั้งรูปแบบการบรรยาย หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ และครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน หรือการประเมินผล รวมไปถึงการทำวิจัยทางการศึกษา

Author: SHEE
Downloads: 78

Download

Rating:
(0 votes)

Notification {loadmoduleid 141}{loadmoduleid 142}





ท่านสามารถเก็บคะแนน CPD / CME ได้จากระบบ SHEE Online Course โดยสามารถ Click ที่ปุ่มด้านล่างนี้เพื่อเข้าสู่ระบบ

 

Free Joomla! templates by Engine Templates