Notification {loadmoduleid 141}{loadmoduleid 142}

Info {loadmoduleid 143}{loadmoduleid 144}

4-2023 Full version V.7_Page_001

SHEE วารสารฉบับที่ 4 ปี 2023 (Full Version) HOT

Workplace-based assessment เป็นเครื่องมือประเมินผลที่มีความสำคัญอย่างมากโดยเฉพาะนักเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพชั้นคลินิก ที่จะต้องพัฒนาตนเองให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ในสถานการณ์จริง แม้ว่าจะมีการใช้ในประเทศไทยเป็นเวลานานและในหลากหลักสูตร ในปัจจุบันยังพบปัญหาความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนำไปสู่ภาระที่มากเกินความจำเป็นสำหรับอาจารย์ และประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ไม่ดีเท่าไหร่ หากมีความเข้าใจเครื่องมือเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลักสูตรฝึกอบรม อาจารย์ในหลักสูตร ผู้เรียนทุกคน รวมไปถึงผู้ป่วยในอนาคตที่ผู้เรียนจะได้ดูแลรักษาต่อไป

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “workpace-based assessment” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการประเมินผลด้วย workplace-based assessment ตั้งแต่ความสำคัญ​ของการประเมิน การเลือกใช้เครื่องมือ ความสัมพันธ์กับ EPAs รายละเอียดของแต่ละเครื่องมือ ไปจนกระทั่งการสนับสนุนด้วย technology เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบระบบการใช้ workplace-based assessment ให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่งไป

Author: SHEE
Downloads: 730

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.7_Page_005

Issue4/2023-01 Executive talk

เครื่องมือประเมินผลที่มีการใช้งานในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาคือการประเมินในสถานที่ปฏิบัติงานจริง (Workplace-based assessment) ถึงแม้จะมีการจัดอบรมเรื่องนี้ในหลายบริบท มีการนำเครื่องมือกลุ่มนี้มาใช้งานจริงทั้งในระดับก่อนและหลังปริญญา มาระยะหนึ่งแล้วก็ตาม เราก็ยังพบว่า อาจารย์และนักวิชาการการศึกษาจำนวนมากยังมีความกังวลใจในการประเมินด้วยเครื่องมือกลุ่มนี้ และมีความเข้าใจผิดอยู่พอสมควร ในวารสาร SHEE Journal ในฉบับนี้ทางทีมงานของศูนย์ SHEE จึงขอนำเสนอวารสารใน theme “Workplace-based Assessment” โดยมุ่งหวังว่าเนื้อหาที่นำเสนอนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับที่มา ที่ไป ความจำเป็นของการประเมินด้วยวิธีการในกลุ่มนี้ ได้เห็นตัวอย่างเครื่องมือที่มีการใช้กันบ่อยๆในการประเมินนักศึกษาชั้นคลินิก ซึ่งน่าจะทำให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องกับการประเมินด้วย workplace-based assessment สบายใจและสุขใจที่จะทำการประเมินผู้เรียนด้วยวิธีการนี้ได้มากขึ้นครับ

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 98

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.7_Page_009

Issue4/2023-02 เหตุใดควรใช้ Workplace-Based Assessment

การประเมินผลการเรียนรู้ (assessment) ทางแพทยศาสตรศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระดับ หากใช้กรอบความคิดของมิลเลอร์ (Miller framework) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภท1 จะพบว่าการประเมินผลในระดับสูงสุดหรือมีคุณค่ามากที่สุด คือการประเมินให้ถึงระดับที่นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้เอง (does) ในสถานที่ทำงานจริง (workplace) หรือ  workplace-based assessment อย่างไรก็ดี การประเมินในระดับข้างต้นมีความซับซ้อนและข้อจำกัดหลายประการ จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับผู้ออกแบบวิธีประเมินและผู้ประเมินที่จะต้องพยายามลดปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความถูกต้อง ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของผลการประเมินที่จะเกิดขึ้น ในบทความนี้ จึงจะขอกล่าวถึง คำจำกัดความ ประโยชน์ ข้อจำกัด และหลักเกณฑ์การประเมิน กระบวนการประเมินได้ชัดเจนมากขึ้น และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ประเมินผู้เรียนในสถาบันของตนตามบริบทที่มีได้ดีขึ้น 

Author: ผศ. พญ.อุษาพรรณ สุรเบญจวงศ์
Downloads: 91

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_017

Issue4/2023-03 จาก Workplace-Based Assessment (WPBA) สู่ Entrustable Professional Activity (EPA)

การประเมินด้วย workplace-based assessment ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญในการประเมินเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (formative assessment) อย่างไรก็ตามอีกบทบาทหนึ่งที่ workplace-based assessment ที่มีความสำคัญเช่นกัน คือการตัดสินว่าผู้เรียนได้บรรลุสมรรถนะ (competency) ตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้แล้วหรือไม่ (summative assessment) ซึ่ง Entrustable professional activities (EPAs) เป็นแนวคิดสำคัญที่จะช่วยทำให้เกิดการประเมิน summative assessment ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเข้าใจความสัมพันธ์ของ workplace-based assessment และ EPAs จะทำให้ผู้เรียนที่มีความพร้อมได้รับภาระงานที่พัฒนาขึ้นไปตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน แต่หากเข้าใจหลักการคลาดเคลื่อน อาจทำให้เกิดความไว้วางใจในผู้เรียนที่ไม่พร้อมนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วยได้ บทความนี้จึงขอนำเสนอ แนวคิดเกี่ยวกับ EPAs และแนวทางการใช้ข้อมูลจาก workplace-based assessment เพื่อทำให้เกิดการประเมิน EPAs ที่ถูกต้อง 

Author: นพ. ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตร
Downloads: 356

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_023

Issue4/2023-04 หลากหลายเครื่องมือ workplace-based assessment เลือกอย่างไร

ปัจจัยสำคัญลำดับต้นที่ส่งผลต่อคุณภาพการประเมิน workplace-based assessment คือ การเลือกใช้เครื่องมือการประเมินที่เหมาะสม สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการประเมิน ผู้เขียนขอเรียบเรียงลักษณะสำคัญรวมถึงทักษะการประเมินที่เหมาะสม ของ workplace-based assessment แต่ละเครื่องมือ ดังสรุปในตาราง เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจเลือกใช้เครื่องมือ workplace-based assessment ในการประเมินทักษะทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพของนักศึกษาได้ดียิ่งขึ้น 

Author: รศ. นพ.ทศ หาญรุ่งโรจน์
Downloads: 112

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_027

Issue4/2023-05 DOPS: Direct Observation of Procedural Skills

ทักษะหัตถการเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ที่สำคัญมากในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ โรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกแห่งต้องให้ความสนใจกับการฝึกสอนและประเมินผู้เรียนในทักษะหัตถการเพื่อให้มั่นใจว่าบัณฑิตที่ผลิตออกไปทุกคนสามารถทำทักษะหัตถการได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ สร้างความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย และนำไปสู่ผลลัพธ์การรักษาพยาบาลที่ดี ในยุคดั้งเดิมการตรวจสอบว่าผู้เรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะหัตถการมักใช้ระบบ logbook เป็นสำคัญ หลักสูตรส่วนใหญ่มีการกำหนดว่าผู้เรียนแต่ละคนจะต้องทำหัตถการนี้จำนวนกี่ครั้งก่อนจบหลักสูตร หลายที่มีการกำหนดคะแนนด้วยว่าหากทำหัตถการครบตามจำนวนจะให้กี่คะแนน อย่างไรก็ตาม การใช้ logbook มีข้อจำกัดอยู่พอสมควร เนื่องจากสามารถประเมินได้เพียงปริมาณว่าผู้เรียนได้ทำจำนวนกี่ครั้ง แต่ไม่ได้มีรายละเอียดในเชิงคุณภาพว่า ในแต่ละรายที่ทำนั้น ทำหัตถการได้ดีเพียงใด ซึ่งไม่สอดคล้องกับทิศทางการจัดการศึกษาตามหลัก competency-based curriculum ซึ่งอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรต้องรับรองได้ว่าผู้เรียนที่จบจากหลักสูตรมีความสามารถ และทักษะตามมาตรฐานวิชาชีพ ดังนั้นแนวทางการประเมินทักษะหัตถการในปัจจุบันพึงต้องมีมาตรวัดที่แสดงรายละเอียดเชิงคุณภาพของการทำด้วย 

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน
Downloads: 177

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_035

Issue4/2023-06 Enhancing Clinical Competency Assessment: The Mini-Clinical Evaluation Exercise (mini-CEX) HOT

ในการเรียนการสอนทางการแพทย์ การประเมินทักษะทางคลินิกเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้มั่นใจว่าผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับการทำเวชปฏิบัติในสถานการณ์จริง การประเมินผลการเรียนการสอนแบบ Mini-Clinical Evaluation Exercise (mini-CEX) หรือ การประเมินผลการเรียนการสอนทางคลินิกระหว่างการปฏิบัติงานจริง เป็นวิธีประเมินความรู้และความสามารถทางคลินิกของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในมิติต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการประเมินทักษะการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง พร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างทันท่วงที mini-CEX ถือเป็นการประเมินอิงสถานที่ทำงาน (workplace-based assessment: WPBA) รูปแบบหนึ่ง และสามารถประเมินผู้เรียนในระดับ “Does” ตามพีระมิดการเรียนรู้ของมิลเลอร์ (Miller’s pyramid) ซึ่งจัดอยู่ในระดับสูงสุดด้วย โดยในบทความนี้จะขอกล่าวถึงข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินแบบ mini-CEX และการนำ mini-CEX ไปใช้ประเมินผลผู้เรียนพร้อมให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างมีประสิทธิภาพ 

Author: ว่าที่ พ.ต.ท. นพ.ดลวัฒน์ แสงพานิชย์
Downloads: 940

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_041

Issue4/2023-07 Cased-based Discussion

ในการประเมินทักษะด้วย Workplace-based assessment (WPBA) ไม่ได้ประเมินเพียงทักษะหัตถการหรือทักษะการสื่อสาร แต่ยังสามารถประเมินทักษะการให้เหตุผลทางคลินิก (clinical reasoning skills) โดยผ่านเครื่องมือที่มีชื่อว่า Cased-based Discussion (CbD) ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอเกี่ยวกับความหมายของ CbD แนวทางการนำ CbD ไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงบทบาทของผู้เรียนและผู้สอนที่สำคัญในการทำให้ CbD เกิดการเรียนรู้

Author: นพ. ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตร
Downloads: 256

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_047

Issue4/2023-08 5 คำถาม กับการประเมินแบบ 360 องศา

การประเมิน 360 องศา หรือ multisource feedback (MSF) เป็นการประเมินพฤติกรรมของนักศึกษาในระหว่างการปฏิบัติงานช่วงนั้นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ข้อมูลสะท้อนกลับในเรื่องของพฤติกรรมการทำงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 

1. ทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในที่ทำงานของแต่ละบุคคลแบบรอบด้านผ่านแบบสอบถาม 

2. เก็บข้อมูลโดยไม่เปิดเผยตัวตนและรักษาความลับ 

3. นักศึกษาได้รับรายงานถึงข้อมูลต่างๆ ที่ถูกประเมิน  

4. อาจารย์ที่ปรึกษารับทราบข้อมูล ให้การชื่นชมหรือวางแผนร่วมกันในจุดที่ต้องพัฒนา 

Author: ผศ. พญ.เพียงบุหลัน  ยาปาน 
Downloads: 308

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_051

Issue4/2023-09 การบริหารจัดการ Workplace-Based Assessment ด้วยเทคโนโลยี 

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมาใช้ช่วยในการบริหารจัดการ WPBA มากขึ้น เพื่อให้การประเมินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด คือให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน หลักสูตรนำไปติดตามพัฒนาการของผู้เรียน และบริหารจัดการเชิงระบบได้ อุปกรณ์สำคัญที่จะเป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้ช่วยใน WPBA ได้นั้นคือ smartphone ข้อได้เปรียบของ  smartphone ในปัจจุบันคือ ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินทุกคนมีใช้เป็นของส่วนตัว พกไปทุกที่ และสัญญาณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพมีอย่างเพียงพอ ใช้ได้ง่ายทุกคนคุ้นเคยเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ของตนเอง สามารถหยิบขึ้นมาใช้ได้ตลอดเวลา จึงทำให้การลงข้อมูล WPBA นั้นทันท่วงที ผู้เรียนได้รับข้อมูลป้อนกลับอย่างทันกาล และหากข้อมูลในระบบ WPBA ถูกรวบรวมเข้าระบบ portfolio โดยอัตโนมัติ จะยิ่งช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และทำให้การบริหารจัดการของหลักสูตรง่ายขึ้นไปอีก   

Author: รศ. พญ.กษณา รักษมณี 
Downloads: 76

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_055

Issue4/2023-10 Student voice

พบกันอีกเช่นเคยกับบทความ Students’ voice ซึ่งตามวารสารฉบับนี้ก็เป็นเรื่องของ workplace-based assessment (WPBA) นั่นเอง โดยจะขอนำผู้อ่านทุกท่านไปสัมผัสกับความเข้าใจและมุมมองของผู้เรียนเกี่ยวกับการประเมินในรูปแบบนี้กัน เพื่อให้ได้มุมมองที่หลากหลายประยุกต์ใช้ได้กับผู้เรียนในหลายระดับผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมาจากตัวแทนผู้เรียนจากหลากหลายคณะ ทั้งผู้เรียนในระดับก่อนปริญญาและหลังปริญญา  

ในบทความนี้ได้สอบถามประเด็นสำคัญ 3 ด้านที่เกี่ยวข้องกับ WPBA ดังนี้ 

  1. ความสำคัญของการประเมินผลด้วย WPBA 
  2. อุปสรรคต่อการประเมิน WPBA 
  3. แนวทางการเพิ่มโอกาสเรียนรู้จากการประเมิน WPBA

Author:
Downloads: 165

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_063

Issue4/2023-11 เชิด-ชู

ในวารสาร SHEE journal ฉบับนี้ทีมงานมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก รศ. นพ.ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์ อาจารย์แพทย์ซึ่งมีความโดดเด่นด้านการเป็นครู ผู้ซึ่งได้รับรางวัลอาจารย์แพทย์ดีเด่นระดับคลินิก "ทุนเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี" ประจำปีการศึกษา 2563 มามอบมุมมองที่น่าสนใจให้ในบทความ ‘เชิด-ชู’ จึงขอนำข้อคิดและแรงบันดาลใจในการเป็นครูแพทย์ที่ดีมาฝากทุกท่านครับ 

Author: รศ. นพ.ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์
Downloads: 71

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_067

Issue4/2023-12 สับ สรรพ ศัพท์

Validity เป็น หนึ่งในคุณสมบัติของการประเมินผล โดย validity หมายถึง การประเมินค่าของข้อสอบและสามารถนำผลของการประเมินไปใช้ต่อได้ กล่าวคือ การประเมินที่มี validity สูง คือการประเมินที่สามารถวัดผลสิ่งที่ผู้ประเมินต้องการได้ตามวัตถุประสงค์ 

Validity Threats คือ ปัจจัยใดก็ตามที่เข้ามารบกวนและส่งผลให้การประเมินไม่สามารถวัดผลได้ตามวัตถุประสงค์ โดยในการสอบสามารถแบ่ง validity threats ได้ 2 ประเภท ดังนี้ 

  1. Construct under-representation คือ การประเมินที่ไม่สามารถวัดผลสิ่งที่ต้องการได้อย่างครอบคลุมเพียงพอ ส่งผลให้ผลของการประเมินไม่สามารถบ่งบอกศักยภาพของผู้ถูกประเมินได้ เช่น ข้อสอบครอบคลุมวัตถุประสงค์เพียง 2 ข้อจากวัตถุประสงค์รายวิชาทั้งหมด 5 ข้อ ผู้ประเมินจะไม่สามารถสรุปได้ว่านักศึกษาที่สอบตกไม่มีความรู้ของรายวิชา A  หรือเพียงไม่มีความรู้ใน 2 วัตถุประสงค์ที่อยู่ในข้อสอบ จึงไม่สามารถนำผลประเมินมาใช้ได้จริง
  2. Construct-irrelevant variance คือ ปัจจัยภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับศักยภาพของผู้ถูกประเมินแต่ส่งผลต่อคะแนนการประเมิน ปัจจัยภายนอกที่ส่งผล เช่น ข้อสอบ ผู้คุมสอบ ผู้ให้คะแนนสอบ หรือ วิธีการให้คะแนน เป็นต้น

Author: นพ. คณิน ดาษถนิม
Downloads: 130

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_071

Issue4/2023-13 Education movement: Implementing Workplace-based Assessment in Thailand

จากเนื้อหาที่ท่านผู้อ่านได้เห็นจากในบทความฉบับนี้ จะเห็นได้ว่าการประเมินในสถานที่ปฏิบัติงานจริง (Workplace-based assessment: WPBA) เป็นรูปแบบการประเมินที่ควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการทำกันมากขึ้นในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างทักษะในการทำงานทางการแพทย์ในผู้เรียนได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับหลักการเรียนรู้ตามทฤษฎี Situated cognition และ Ecological psychology และลดความกดดันต่อนักศึกษาจากการประเมินใน high stakes standardized testing ได้ด้วย ในบทความนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนะแนวทางที่โรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถใช้วางแนวทางในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ workplace-based assessment อย่างมีประสิทธิภาพในบริบทของโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทย 

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 86

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_075

Issue4/2023-14 SHEE Sharing: A randomized controlled trial of feedback to improve patient satisfaction and consultation skills in medical students

การประเมินสมรรถนะ (performance assessment) ในที่ทำงานบางสมรรถนะมีความซับซ้อนเนื่องจากไม่สามารถประเมินได้โดยตรงในช่วงเวลาเพียงช่วงเดียวหรือจากผู้ประเมินเพียงคนเดียว การประเมินรอบด้าน (multi-source feedback) เป็นเครื่องมือที่สำคัญทำให้สามารถประเมินสมรรถนะอย่างครอบคลุมและส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (assessment for learning)  

Author: นพ.ภาสวุฒิ ศิริทองถาวร
Downloads: 140

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_079

Issue4/2023-15 SHEE research - ความตรงในเครื่องมือการวิจัยนั้นสำคัญไฉน… แล้วทำอย่างไร

คุณเคยสั่งอาหารอย่างแต่ได้อีกอย่างไหมครับ ผมเคยสั่งข้าวผัดหมูใส่ไข่ดาวสุก แต่ได้ ข้าวผัดพริกแกงปลาดุก แบบนี้ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ได้อาหารไม่ตรงตามที่สั่ง  บางคนก็สั่งของจากร้านค้าออนไลน์ พอของมาส่งก็ได้ของไม่ตรงตามลงโฆษณาไว้ ก็เรียกว่า ได้ของไม่ตรงปก ถ้าเป็นอาหาร ไม่เอาก็เสียเวลาทำใหม่ สินค้าออนไลน์ก็ต้องทวงผู้ขายหรือฟ้อง สคบ. ต่อไป  การได้ของไม่ตรงสเปกที่ต้องการส่งผลเสียมากบ้างน้อยบ้าง ในการทำงานวิจัยก็มีปัญหาเกี่ยวกับความตรงแบบนี้เหมือนกันครับ แต่ส่งผลเสียมากมายครับ  วันนี้ผมจึงจะชวนให้ผู้อ่านทุกคนรู้จักความตรง เห็นความสำคัญของความตรงและรู้จักวิธีการตรวจสอบความตรงกันครับ 

Author: ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Downloads: 144

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_083

Issue4/2023-16 Click & Go with technology: การสร้าง PDF Portfolio ด้วย Adobe Acrobat Professional

การประเมินผู้เรียนตามแนวทาง workplace-based assessment (WPBA) ซึ่งเป็นการประเมินจากสถานที่ปฏิบัติงาน สามารถประเมินได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การประเมินทางคลินิกในสภาพการณ์และการปฏิบัติงานจริง (mini-clinical evaluation exercise; Mini-CEX) จากการสังเกตโดยตรงจากทักษะกระบวนการ (directly observed procedural skills; DOPs) ซึ่งมักจะใช้แบบประเมินในการประเมินและอาจต้องมีการประเมินผู้เรียนหลายครั้ง ดังนั้นการเก็บรวบรวมผลการประเมินของผู้เรียนแต่ละคน จึงจำเป็นต้องเก็บรวบรวมไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา ผู้เขียนจึงขอนำเสนอการใช้ PDF Portfolio ซึ่งเป็น Feature หนึ่งที่อยู่ในโปรแกรม Adobe Acrobat Professional โดยท่านสามารถสร้างไฟล์เอกสารใหม่ให้อยู่ในรูปแบบของ PDF Portfolio และทำการรวมไฟล์ผลการประเมินผู้เรียนต่างๆ ทั้งที่เก็บในรูปแบบของ pdf และไม่ใช่ pdf อาทิ ไฟล์เสียง ไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพและรูปแบบอื่นๆ ให้มาอยู่รวมในที่เดียวกัน แต่ไม่ใช่รวมเป็นไฟล์เดียวกัน ซึ่งทำให้ผู้สอนสามารถเปิดไฟล์เอกสารต่างๆ เหล่านี้ได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และไฟล์เอกสารต่างๆ ที่ไม่ใช่ไฟล์ pdf เมื่อมาอยู่ใน PDF Portfolio สามารถถูกสั่งแก้ไขด้วยโปรแกรมที่เปิดอ่านไฟล์เอกสารนั้นได้ และเมื่อแก้ไขเสร็จจะถูกบันทึกใน PDF Portfolio ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้เมื่อท่านสร้าง PDF Portfolio เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านสามารถแชร์ Link ของไฟล์ดังกล่าวซึ่งจะถูกเก็บไว้ที่ Adobe Cloud Storage ให้กับผู้เรียน หรือผู้สอนท่านอื่นๆ ให้เข้ามาดูได้ โดยการดูผ่าน application ของโปรแกรม Adobe Acrobat Reader ที่อยู่บน Mobile phone หรือ tablet ได้ เล่ามาถึงตรงนี้แล้ว มาเริ่มต้นสร้าง PDF Portfolio กันเลยนะคะ

Author: ผศ. ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
Downloads: 106

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_089

Issue4/2023-17 Podcast

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้จัดทำ SHEE Podcast ซึ่งรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ถ่ายทอดผ่านการพูดคุยในบรรยากาศสบายๆเพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้นโดยเผยแพร่ทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือนเวลา 20.00 น. ในปัจจุบันได้เผยแพร่ออกมาทั้งหมด 6 series ได้แก่  

Series1: Disruptive education ไม่ขยับ ไม่ปรับตัว ไม่ทันแน่ 

Series2: Successful teaching strategies กลเม็ดเคล็ด (ไม่) ลับ เพื่อยกระดับการสอนให้ประสบความสำเร็จ 

Series 3: Effective Assessment Methods การประเมินผลด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 

Series 4: Enhancing transferable skills ยกระดับทักษะรอบด้านพัฒนาความเชี่ยวชาญที่มากกว่าความรู้ 

Series 5: Creating active learning strategies สร้างการเรียนเชิงรุก ปลุกความอยากรู้ในตัวผู้เรียน 

Series 6: Mastering performance assessment การประเมินผลภาคปฏิบัติ วัดความสามารถผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ในเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2566 ได้เผย episodes ที่น่าสนใจดังนี้ 

Author: นพ.ภาสวุฒิ ศิริทองถาวร, พญ.พิมพ์มาดา สมรรคจันทร์ 
Downloads: 67

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_091

Issue4/2023-18 Upcoming Events

Author:
Downloads: 68

Download

Rating:
(0 votes)
4-2023 Full version V.9_Page_093

Issue4/2023-19 Gallery

Author:
Downloads: 148

Download

Rating:
(0 votes)

Notification {loadmoduleid 141}{loadmoduleid 142}





ท่านสามารถเก็บคะแนน CPD / CME ได้จากระบบ SHEE Online Course โดยสามารถ Click ที่ปุ่มด้านล่างนี้เพื่อเข้าสู่ระบบ

 

Free Joomla! templates by Engine Templates