Notification {loadmoduleid 141}{loadmoduleid 142}

Info {loadmoduleid 143}{loadmoduleid 144}

Front_cover

SHEE วารสารฉบับที่ 1 ปี 2024 (Full Version) HOT

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ทางทีมงานจึงจัดทำใน theme “Multiple Mini-Interview in health science schools” เพื่อจะช่วยสร้างความเข้าใจในการใช้ MMI ให้อาจารย์ผู้เกี่ยวข้อง นำไปสู่การจัดสอบที่มีประสิทธิภาพ สามารถคัดเลือกผู้เข้าศึกษาได้ตรงตามที่หลักสูตรต้องการ ทางทีมงานได้เชิญชวนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการจัดสอบ MMI หลายต่อหลายท่านมาเล่าประเด็นสำคัญในการจัดสอบ MMI ตั้งแต่ หลักการพื้นฐานของการสอบ MMI การออกแบบ MMI ให้เหมาะสม แนวทางการบริหารจัดการสอบ MMI การใช้เทคโนโลยีมาสนับสนุนการสอบ MMI  

Author:
Downloads: 2,111

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_04

Issue1/2024-01 Executive talk

ส่วนหนึ่งของกระบวนการคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพคือการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งการสัมภาษณ์แบบดั้งเดิม (Traditional interview) ที่เปิดโอกาสให้กรรมการสัมภาษณ์สอบถามได้อย่างอิสระ มีการใช้คำถามที่ต่างกันไปในแต่ละครั้ง ผู้เข้าสอบสัมภาษณ์พบกรรมการสอบเพียงไม่กี่ท่าน และผู้สอบสัมภาษณ์ได้รับการประเมินโดยกรรมการต่างชุดกัน ด้วยเกณฑ์ในการให้คะแนนที่เปิดกว้างให้กรรมการใช้ดุลยพินิจในการตัดสิน นำไปสู่ผลการสอบสัมภาษณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ และหลายสถาบันก็ไม่กล้าที่จะใช้คะแนนสอบสัมภาษณ์ในการคัดผู้เข้าศึกษา  

Author:
Downloads: 65

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_06

Issue1/2024-02 Concepts of MMI

การคัดเลือกเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพในปัจจุบันมีการพัฒนาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น โดยวิธีที่เป็นที่นิยมและมีการศึกษาสนับสนุนมากในปัจจุบัน คือการสอบสัมภาษณ์แบบหลายสถานีย่อย (Multiple Mini-Interviews: MMI) ซึ่งคิดค้นครั้งแรกจากมหาวิทยาลัย McMaster ในปี ค.ศ.2002 และพัฒนาจนเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ในอดีตการคัดเลือกเข้าทั้งระดับก่อนปริญญาและหลังปริญญา มักใช้การสอบเพื่อวัดความรู้ ร่วมกับการสัมภาษณ์ต่อหน้ากรรมการหลายคน (panel board interview) ซึ่งเป็นวิธีที่มี validity และ reliability ค่อนข้างต่ำ มีเวลาต่อผู้เข้าสัมภาษณ์แต่ละคนจำกัด การสัมภาษณ์ทำรวมในห้องเดียวต่อหน้ากรรมการหลายคน บางครั้งมีกรรมการที่ชี้นำกรรมการคนอื่น ทำให้เกิดอคติในการให้คะแนน กำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ไม่ค่อยได้ และควบคุมให้ทำซ้ำแล้วได้ผลลัพธ์เหมือนเดิมค่อนข้างยาก ส่วน MMI คือการจัดสัมภาษณ์สถานีย่อยที่มีกรรมการประจำสถานี แต่ละสถานีมีวัตถุประสงค์ กิจกรรม และข้อคำถามที่แตกต่างกันไป โดยผู้เข้าสัมภาษณ์จะผ่านทีละสถานี และหมุนเวียนจนครบตามลำดับลักษณะคล้ายการสอบ OSCE โดยเป็นการสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้างชัดเจนเป็นรูปธรรม ประกอบไปด้วยสถานีสัมภาษณ์ 6-12 สถานี แต่ละสถานีใช้เวลา 5-15 นาที และมีกรรมการประจำสถานี 1-2 คน กรรมการสอบสามารถออกแบบสมรรถนะที่ต้องการวัด แจกแจงตามความรู้ ทักษะ และทักษะ non-technical ที่หลากหลาย เพื่อกำหนดเป็นข้อคำถามหรือกิจกรรมในแต่ละสถานี เตัวอย่างสถานีที่อาจประเมินใน MMI เช่น ทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มีทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม มีความยืดหยุ่น กิจกรรมในสถานีอาจเป็นการสัมภาษณ์ การแก้ปัญหากรณีศึกษา การแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ตัวอย่าง การแสดงบทบาทสมมติเพื่อแก้ไขสถานการณ์ การแสดงทักษะกับหุ่นจำลอง และการเขียนรายงาน เป็นต้น 
 
 

Author:
Downloads: 67

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_10

Issue1/2024-03 แนวทางการออกแบบ MMI ที่มีประสิทธิภาพ

การจัดการสอบสัมภาษณ์แบบหลายสถานี (Multiple Mini-Interview: MMI) เป็นแนวทางการสัมภาษณ์ที่มีประโยชน์ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหรือฝึกอบรม แต่การจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ ผู้จัดการสอบก็ต้องวางแผนการจัดให้เหมาะสมด้วย เพื่อนำไปสู่การคัดเลือกที่ได้ผลถูกต้องตรงตามเป้าหมาย นั่นคือการทำให้มี Validity (ความถูกต้อง) ของการวัดผลนั่นเอง การจะออกแบบการสอบสัมภาษณ์แบบ MMI ให้เป็นการประเมินที่ valid ตามมาตรฐานการวัดผลทางการศึกษาและจิตวิทยา (ตามข้อกำหนดของ American Educational Research Association, American Psychological Association และ National Council on Measurement in Education, 2014) จะอาศัยการตรวจสอบหลักฐานในห้ามิติ ได้แก่ เนื้อหา (Content), กระบวนการตอบสนอง (Response process), โครงสร้างคะแนนสอบ (Internal structure), ความสัมพันธ์กับตัวแปรอื่น (Relations to other variables), และ ผลตามมาของการสอบ (Consequences) 

Author:
Downloads: 61

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_16

Issue1/2024-04 การบริหารจัดการ Multiple Mini-Interview

การบริหารจัดการ Multiple Mini-Interview (MMI) สามารถแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการสถานีในภาพรวม การเตรียมการภายในสถานี การบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับกรรมการ และการบริหารจัดการผู้เข้าสอบ 

  1. การบริหารจัดการสถานีในภาพรวม 

ในการเตรียมการจัด MMI ผู้จัดควรนำข้อมูลจำนวนผู้เข้าสอบ จำนวนสถานี เวลาที่ใช้ในแต่ละสถานี ตลอดจนความพร้อม/ข้อจำกัดด้านกรรมการสัมภาษณ์และด้านกายภาพของหน่วยงานมาพิจารณา เช่น ในการจัด MMI ที่มีข้อสอบ 5 ข้อ และหน่วยงานสามารถจัดสอบได้มากที่สุดพร้อมกัน 3 วง วงละ 3 รอบ หากมีผู้มีสิทธิ์เข้าสัมภาษณ์ จำนวน 50 คน ควรจัดสถานีพัก 1 สถานี/วง (6 สถานี x 3 วง x 3 รอบ = 54 คน) และจัดแบ่งผู้เข้าสอบในรอบที่ 1-3 เป็น 18, 16 และ 16 คน ตามลำดับ ทั้งนี้การจัดผู้เข้าสอบให้ครบทุกสถานีในรอบแรกจะช่วยลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการ เนื่องจากการจัดสอบรอบแรกจะมีโอกาสเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดได้มากกว่ารอบอื่น ๆ จากนั้นในการจัดสอบรอบที่ 2 และ 3 ให้เตรียมป้ายข้อความติดให้กับผู้เข้าสอบ (2 ราย/รอบ) เพื่อสื่อสารกับกรรมการประจำสถานีว่า “ไม่มีผู้เข้าสอบหลังผู้เข้าสอบคนนี้” 

Author:
Downloads: 58

Download

Rating:
(1 vote)
Journal 1-2024_Page_20

Issue1/2024-05 Virtual MMI และการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการจัดสอบ MMI

Multiple Mini-Interview (MMI) ในอดีตมักจะจัดเฉพาะในสถานที่ตั้ง (on site) ซึ่งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ ต้องเดินทางมาในสถานที่เดียวกัน ซึ่งอาจเป็นปัญหาในสถานการณ์ที่ผู้สัมภาษณ์หรือผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่สามารถเดินทางมาได้ เช่น ในสถานการณ์โรคระบาด  อย่างไรก็ดี ความแพร่หลายของเทคโนโลยี teleconferencing ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ (hardware) และซอฟต์แวร์ (software) ช่วยเปิดโอกาสให้การจัด MMI สามารถกระทำได้ผ่านระบบเสมือน (virtual)  

Author:
Downloads: 403

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_26

Issue1/2024-06 Students' voice: What are your perspectives on Multiple Mini-Interview (MMI)?

ในบทความ Students' voices เล่มนี้ ผู้เขียนจะนำทุกท่านไปพบกับมุมมองของนิสิต-นักศึกษาแพทย์ต่อการสอบสัมภาษณ์รูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า Multiple Mini- Interview หรือที่มักเรียกสั้นๆว่าMMI การสอบ MMI นั้นเริ่มถือว่าเป็นการสอบที่ยังไม่แพร่หลายมากนักในบริบทของโรงเรียนแพทย์ หากเทียบกับการสอบรูปแบบอื่น ๆ ผู้เขียนจึงได้สัมภาษณ์นักศึกษาแพทย์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากนักศึกษาแพทย์ที่เคยผ่านการสอบ MMI เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ตรง หลากหลายและครอบคลุมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ติดตามกันในบทความนี้ โดยผู้เขียนได้รวบรวมประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับ MMI ซึ่งแบ่งออกได้เป็นประเด็นดังนี้

  1. ความรู้สึกและความพร้อมเมื่อรู้ว่าต้องสอบ MMI
  2. ข้อมูลที่อยากทราบจากโรงเรียนแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ
  3. ความประทับใจในฐานการสอบ MMI
  4. มุมมองของนักศึกษาต่อฐานการสอบ MMI ในอนาคต

Author:
Downloads: 48

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_32

Issue1/2024-07 เชิด-ชู

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกันอีกครั้งกับบทความ ‘เชิด-ชู’ ในวันนี้ทีมงานได้รับเกียรติเป็นอย่างสูงจาก ศ.(กิตติคุณ) นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายสภามหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์แพทย์ดีเด่นผู้ซึ่งได้รับรางวัล ‘ครูแพทย์แห่งชาติ’ ประจำปีพุทธศักราช 2566 จากแพทยสภา ในการแบ่งเป็นข้อคิดและบทเรียนตลอดการเป็นครูแพทย์ของอาจารย์ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเป็นครูแพทย์ให้แก่ผู้อ่านทุกท่านครับ 

Author:
Downloads: 56

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_38

Issue1/2024-08 สับ สรรพ ศัพท์

Construct validity

ความตรงเชิงภาวะสันนิษฐาน หรือความตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) คือความตรงตามทฤษฎีที่เครื่องมือสามารถวัดค่าของสิ่งหนึ่งๆได้ตรงตามที่ตั้งเป้าไว้

Rater errors

Rater errors คือ ข้อผิดพลาดการให้คะแนนของผู้ประเมินอย่างเป็นระบบ เมื่อผู้ประเมินแต่ละคนสังเกตและตัดสินผู้อื่น ซึ่งข้อผิดพลาดในการให้คะแนนนี้ส่งผลเสียต่อความตรงและความเที่ยงของคะแนนการประเมิน และอาจทำให้ส่งผลต่อการตัดสินผลทางการศึกษาของผู้สอบ โดยหากเป็นข้อผิดพลาดการให้คะแนนในการสอบที่สำคัญต่อชีวิตผู้สอบ (high stake examination) ก็อาจทำให้มีผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตของผู้สอบ อาทิ การสอบเข้าศึกษาต่อ การสอบขอรับวุฒิบัตรแพทย์เฉพาะทาง เป็นต้น

Author:
Downloads: 63

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_42

Issue1/2024-09 Education movement: Implementing Multiple-Mini Interview in Thai health science schools

จากเนื้อหาที่ท่านผู้อ่านได้รับทราบจากในวารสารฉบับนี้ คงจะทำให้ผู้อ่านทุกท่านเข้าใจหลักการพื้นฐานของการคัดเลือกผู้เรียนด้วยกระบวนการ Multiple-Mini Interview (MMI) และเห็นถึงประโยชน์ของกระบวนการนี้ที่น่าจะนำไปสู่การคัดเลือกผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการศึกษาในหลักสูตรได้ดีกว่าการสอบสัมภาษณ์แบบดั้งเดิม  ในบทความนี้ผมจะขอเสนอแนะแนวทางการประยุกต์ใช้ MMI อย่างมีประสิทธิภาพในบริบทของการคัดเลือกนักศึกษาเข้าในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพในประเทศไทยว่าควรดำเนินการอย่างไร โดยอิงจากข้อมูลเชิงวิชาการร่วมกับประสบการณ์ของผู้เขียน ซึ่งผมขอนำเสนอห้ากระบวนการที่สำคัญ ดังนี้ 

Author:
Downloads: 55

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_48

Issue1/2024-10 SHEE Sharing

ในบทความนี้ผู้เขียนได้เลือกบทความ Comparison of the Multiple Mini-Interview and the Traditional Interview in Medical School Admission : Lessons Learned Using a Hybrid Model at One Institution โดย Madeline Abrams และคณะ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Academic Medicine ปี 2023 มานำเสนอให้ทุกท่าน โดยการศึกษานี้จัดทำขึ้น ณ โรงเรียนแพทย์ Donald and Barbara Zucker School of Medicine (Zucker SOM) เมือง New York ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนำผลการสัมภาษณ์สอบเข้าโรงเรียนแพทย์ย้อนหลัง 3 ปี คือ การสัมภาษณ์ TI ในปี 2017-2018 และการสัมภาษณ์ผสม (TI-MMI) คือมีการสัมภาษณ์ TI คู่กับ MMI ในปี 2018-2019 และ 2019-2020 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนและความแตกต่างจากข้อมูลที่ได้จากการสอบ TI และ MMI รวมถึงศึกษาการสัมภาษณ์ผสมสามารถทำให้ได้ผู้สมัครที่มีความหลากหลายขึ้นหรือไม่

Author:
Downloads: 64

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_52

Issue1/2024-11 SHEE Research การตรวจสอบสามเส้า... หัวใจของการตรวจสอบข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ

ผู้อ่านเคยได้ยินสำนวนฝรั่งว่า Don’t judge a book by its cover กันไหมครับ  ถ้าแปลตรงตัวก็จะหมายความว่า อย่าตัดสินหนังสือจากหน้าปก (ให้ดูที่เนื้อหาข้างในหนังสือจะดีกว่า) วิจัยเชิงคุณภาพก็เจอปัญหาแบบนี้เช่นเดียวกันครับเพราะคนที่ถนัดวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติเป็นตัวตัดสินผล พอมาเจอวิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ไม่คุ้นเคย ก็ลังเลว่าทำแบบนี้วิจัยจะน่าเชื่อถือเหรอ ผลวิจัยอาจมีอคติของผู้วิจัยได้ ผมในฐานะคนกลางที่รู้ทั้งวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพก็จะบอกว่า ใช่ครับ วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพมีความเสี่ยงที่ผู้วิจัยจะมีอคติและส่งผลต่องานวิจัยได้ แต่นักวิจัยเชิงคุณภาพเอง เขาก็รู้เรื่องนี้ดีและเตรียมวิธีการรับมือไว้ครับ  วันนี้ผมจะชวนผู้อ่านทุกคนมารู้จักเนื้อหาด้านในหนังสือของวิธีการตรวจสอบข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (และวิธีที่ผมแนะนำ) ผมมั่นใจว่าเมื่อผู้อ่านรู้จักแล้วจะรู้ว่าวิจัยเชิงคุณภาพ แม้ไม่ใช่ตัวเลขไม่ใช่สถิติ แต่ก็มีความน่าเชื่อถือ ผู้อ่านโปรดมั่นใจและสามารถนำไปใช้งานได้ครับ

Author:
Downloads: 85

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_56

Issue1/2024-12 Click&Go with technology : Edpuzzle

Edpuzzle เป็นเว็บแอพพลิเคชั่นที่ช่วยให้ผู้สอนใช้ในการสร้างวิดีโอ interactive ผู้สอนสามารถใช้ในการบันทึกการสอน สอดแทรกคำถามลงไปในวิดีโอ ซึ่งมีทั้งคำถามแบบตัวเลือก (Multiple-choice question) คำถามแบบปลายเปิด (Open-ended question) และเพิ่มคำอธิบาย (Note) ลงไปในวิดีโอได้ อีกทั้งยังสามารถอัปโหลดวิดีโอได้ทั้งรูปแบบ AVI, MOV และ MP4 รวมถึงเลือกใช้ลิงก์วิดีโอจาก YouTube ได้ นอกจากนี้ Edpuzzle ยังรองรับการกำหนดจำนวนครั้ง (Attempts) ที่ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรม และรายงานผลคะแนนของผู้เรียนในรูปแบบไฟล์ CSV ได้ ในการใช้งาน Edpuzzle แบบฟรีนั้นจะมีพื้นที่ในการจัดเก็บ 20 วิดีโอ/บัญชี และอัปโหลดวิดีโอได้ไม่เกิน 1 GB/วิดีโอ ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสื่อวิดีโอการสอน เช่น วิดีโอแนะนำแนวทางการจัดสอบแบบ MMI วิดีโอแนะนำระเบียบวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าสอบศึกษาด้วยตนเองมาล่วงหน้าได้ เป็นต้น เล่ามาถึงตรงนี้แล้ว มาเริ่มต้นสร้างกันเลยนะคะ

Author:
Downloads: 65

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_64

Issue1/2024-13 SHEE Podcast

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้จัดทำ SHEE Podcast ซึ่งรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ถ่ายทอดผ่านการพูดคุยในบรรยากาศสบายๆเพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้นโดยเผยแพร่ทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือนเวลา 20.00 น. ในปัจจุบันได้เผยแพร่ออกมาทั้งหมด 6 series ได้แก่

Series1: Disruptive education ไม่ขยับ ไม่ปรับตัว ไม่ทันแน่

Series2: Successful teaching strategies กลเม็ดเคล็ด(ไม่)ลับ เพื่อยกระดับการสอนให้ประสบความสำเร็จ

Series 3: Effective Assessment Methods การประเมินผลด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

Series 4: Enhancing transferable skills ยกระดับทักษะรอบด้านพัฒนาความเชี่ยวชาญที่มากกว่าความรู้

Series 5: Creating active learning strategies สร้างการเรียนเชิงรุก ปลุกความอยากรู้ในตัวผู้เรียน

Series 6: Mastering performance assessment การประเมินผลภาคปฏิบัติ วัดความสามารถผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

Author:
Downloads: 70

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_72

Issue1/2024-15 Gallery

Author:
Downloads: 46

Download

Rating:
(0 votes)
Journal 1-2024_Page_76

Issue1/2024-16 Contributors

Author:
Downloads: 54

Download

Rating:
(0 votes)

Notification {loadmoduleid 141}{loadmoduleid 142}





ท่านสามารถเก็บคะแนน CPD / CME ได้จากระบบ SHEE Online Course โดยสามารถ Click ที่ปุ่มด้านล่างนี้เพื่อเข้าสู่ระบบ

 

Free Joomla! templates by Engine Templates