หลักการและเหตุผล
การวัดและประเมินผลทางการศึกษานั้นมีการวัดและประเมินผลในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็น วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา คุณลักษณะทางจิตวิทยา หรือแม้แต่ทักษะการปฏิบัติ ซึ่งการวัดและประเมินผลในแต่ละมิตินั้นมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป ในการประเมินผลชั้นสูงนั้นมักต้องการการประเมินผลเพื่อยินยันว่าผู้เรียนมีศักยภาพเหมาะสมโดยต้องการประเมินผู้เรียนให้ได้ถึงระดับการปฏิบัติ ได้แก่ shows how และ does ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือที่ใช้วัดและผู้ประเมินที่เหมาะสมเพื่อสร้างการวัดผลให้มีประสิทธิภาพนั้น ดังนั้น อาจารย์ผู้ดูแลการจัดสอบหรือประเมินผลในระดับการปฏิบัติ จึงจำเป็นจะต้องมีความรู้ที่จำเป็นต่อการวัดและประเมินผลเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถวัดผลได้เที่ยงตรงและน่าเชื่อถือได้ทั้งในสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง
ศูนย์ปฏิบัติการฝึกทักษะระบบจำลอง (SiMSET) ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) จึงได้กำหนดจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง " Performance Assessment in Health Science Education: From simulation to workplace” เพื่อใหความรู้หลักการฝึกหัดผู้ประเมินทักษะการปฏิบัติ พัฒนาการจัดสอบ และประเมินผลด้วยสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง โดยมีเป้าหมายให้อาจารย์ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด หรือนำประยุกต์ใช้ภายในหน่วยงานและสถาบันของตนเองต่อไปในอนาคต
วัตถุประสงค์
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว ผู้เรียนสามารถ :
- อธิบายลักษณะทั่วไปและความสำคัญของการประเมินทักษะการปฏิบัติ
- สร้างเกณฑ์การให้คะแนนและพัฒนาเครื่องมือ checklist, rating scale และ rubric
- บอกปัจจัยที่มีผลต่อ Validity & Reliability ของ assessment tools ได้
- ฝึก rater ได้ตามมาตรฐานเพื่อประเมินผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้ simulation ในการประเมินได้อย่างเหมาะสม เช่น OSCE (Summative/formative)
- ประเมินการปฏิบัติงานแบบ Workplace-based ได้
- ประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับการประเมินผู้เรียนมาใช้ในการออกแบบแบบประเมินได้อย่างเหมาะสม(Environment/ threat/tools)
- ลักษณะทั่วไปและความสำคัญของการประเมินทักษะการปฏิบัติ
- การสร้างเกณฑ์การให้คะแนนและพัฒนาเครื่องมือ
- Validity & Reliability ของ Assessment tools
- Rater training
- How we facilitate the assessment scenario?
- แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ
เป็นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ มีทั้งการบรรยาย และฝึกปฏิบัติ
อาจารย์แพทย์ แพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางสาขาต่าง ๆ อาจารย์แพทย์ พยาบาล บุคลากรสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีหน้าที่ในการสอนโดยการใช้ simulation