Assessment workshop for clinical teachers ประจำปี 2567

  • ประเภท: Workshop
  • วันที่: ระหว่างวันที่ 27-29 มีนาคม 2566
Image
• เปิดรับสมัครทั้งแบบ Onsite และ Streaming
• ระยะเวลาการอบรม 3 วัน (21 ชม.)
• รับใบประกาศนียบัตรหลังจบการอบรม

Assessment คือ

การวัดและประเมินผลทางการศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นในการพิจารณาว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์และมาตรฐานการเรียนรู้ นอกจากนี้จะมีประโยชน์โดยตรงต่อผู้เรียนแล้วยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพการสอนของผู้สอน สะท้อนคุณภาพการการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาด้วย

หลักการและเหตุผล

              การวัดและประเมินผลทางการศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นในการพิจารณาว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์และมาตรฐานการเรียนรู้ นอกจากนี้จะมีประโยชน์โดยตรงต่อผู้เรียนแล้วยังสะท้อนถึงประสิทธิภาพการสอนของผู้สอน สะท้อนคุณภาพการการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาด้วย

              สำหรับการวัดและประเมินผลทางการศึกษาของผู้เรียนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมีความแตกต่างจากหลักสูตรอื่น ๆ โดยเฉพาะในระดับชั้นคลินิกเนื่องจากมีรูปแบบการวัดและประเมินที่หลากหลาย มีลักษณะเฉพาะ เช่น การสอบปรนัย (multiple-choice question), การสอบอัตนัย (Modified Essay Question), การสอบปากเปล่า, การสอบปฏิบัติทางคลินิกรายสั้นและยาว, การสอบปฏิบัติหลายสถานีทางคลินิก (Objective structured Clinical Examination), การประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมและการปฏิบัติงาน, การประเมินด้วยการสังเกตการทำงานเป็นกลุ่ม และการประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินการวัดและประเมินผลนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คือ อาจารย์แพทย์ แต่ปัจจุบันยังพบปัญหา คือ อาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลร่วมสอน และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกบางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการวัดและประเมินผลนักศึกษาแพทย์ระดับชั้นคลินิก นอกจากนี้ยังพบว่ามาตรฐานในการวัดและประเมินผลของอาจารย์แพทย์แต่ละท่านไม่เท่าเทียมกัน ดังนั้น อาจารย์แพทย์ที่ต้องทำหน้าที่ดังกล่าว จะต้องมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการพื้นฐาน วิธีการสร้าง การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสม สามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้เรียน สถาบัน รวมไปถึงผู้ใช้บัณฑิตต่อไป

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรม...

1. มีความเข้าใจหลักการและวิธีการสำคัญของการวัดประเมินผลนักศึกษาชั้นคลินิก

2. สามารถออกแบบการวัดผลและประเมินผลการศึกษาให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนในหัวข้อ/รายวิชาที่สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. นำความรู้ทางด้านการวัดและประเมินผลการเรียนระดับชั้นคลินิกไปขยายผลในหน่วยงานต่อไป

เนื้อหาโดยสังเขป

               เป็นการบรรยายความรู้ วิธีการและทักษะที่สำคัญในการวัดและประเมินผลนักศึกษาชั้นคลินิก โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเนื้อหาแบ่งเป็น 2 Part ดังนี้

Part 1 : หลักการพื้นฐานของการวัดผล ได้แก่ What is good assessment?, How to choose assessment methods?, Validity, Reliability, Standard setting, Grading, Summary

Part 2 : การพัฒนาข้อสอบ ได้แก่ Multiple-choice questions, Multiple-choice questions item analysis, Constructed response, OSCE, Long case examination, Portfolio, Clinical performance

กิจกรรมในการดำเนินงาน
              กิจกรรมบรรยายทางวิชาการ 3 วัน โดยวิทยากรเป็นคณาจารย์จากภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และมีการแบ่งกลุ่มผู้ร่วมอบรม จำนวน 6 กลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมภายในกลุ่มร่วมกัน ในระหว่างวันที่ 27 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ ห้องประชุมสิรินธร ชั้น G อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยกิจกรรมของการบรรยายแบ่งเป็น 2 Part ดังนี้
  • Part 1 : วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 จะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของการวัดผล
  • Part 2 : วันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2567 เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการพัฒนาข้อสอบ

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการถ่ายทอดสดให้กับผู้ที่สนใจและสมัครเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ด้วย

กลุ่มเป้าหมาย
               ผู้เข้ารับการอบรมเป็นอาจารย์และบุคลากร ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ ได้แก่ โรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลร่วมสอน และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก จำนวน 40 ท่านต่อ Part
แสดงรายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้าอบรม
โปสเตอร์
คลิกที่รูปเพื่อขยายขนาด
13ws20240327-assessment-workshop-for-clinical-teachers.png
Image
Image
Image
Image
Image