Page 18 - คู่มือนักศึกษา 2566
P. 18

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร
                        หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้

               ทักษะ และเจตคติที่ดีในการทำงานการศึกษา สามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสามารถ
               สร้างงานวิจัยทางการศึกษาที่มีประโยชน์ ช่วยชี้นำทิศทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่ตนเอง
               เกี่ยวข้องได้ ตามปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลที่มุ่งการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการศึกษา

               เพื่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองจากความรู้เดิมและจากประสบการณ์การ
               เรียนรู้และการปฏิบัติในกิจกรรมต่างๆ (Learning centered education, Outcome-based education,
               Constructivism) และมีเป้าหมายหลักในการใช้ความรู้ และทักษะที่มีไปทำประโยชน์แก่ส่วนรวมให้ได้เป็นสำคัญ

               ตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า ความสำเร็จที่แท้จริงอยู่ที่การนำความรู้ไปประยุกต์เพื่อประโยชน์สุขแก่มวล
               มนุษยชาติ


               วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
                        เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว  มหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับ

               บัณฑิตศึกษา ดังนี้
                        1.  มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มีวินัย ตรง
               ต่อเวลา

                        2.  มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
               แนวทางการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การประเมินผล และการวิจัยทางการศึกษาได้อย่างถูกต้อง
                        3.  วิเคราะห์ปัญหา วิจารณ์ผลงานวิจัย สรุปประเด็นและประยุกต์ผลการวิจัย สร้างงานวิจัยด้าน

               การศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และประยุกต์ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การประเมินผล
               และการปรับปรุงหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม
                        4.  มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้อง มีทักษะการทำงานเป็นทีม สามารถทำงานกลุ่มได้ทั้งใน

               ฐานะผู้นำ หรือสมาชิกของกลุ่ม และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
                        5.  ใช้ความรู้ทางสถิติในการประมวลผลการวิจัย และสามารถสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้

               เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               ผลลัพธ์ที่คาดหวังของหลักสูตร

                      เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถ
                      1. อธิบายหลักการพื้นฐานของการวิจัยทางการศึกษา จิตวิทยาการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การจัด
               หลักสูตร และประเมินหลักสูตร ในบริบทของการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างถูกต้อง

                      2. ใช้ความรู้พื้นฐานทางการศึกษาเพื่อเสนอแนวทางในการจัดการสอน การวัดและประเมินผล การจัด
               หลักสูตร และการประเมินคุณภาพหลักสูตร ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม
                      3. วิเคราะห์ปัญหาทางการศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลอย่าง

               เหมาะสม
                      4. ใช้กระบวนการค้นคว้าผลการวิจัยในบริบทอื่น การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อ

               แก้ปัญหาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม
                      5. ใช้ความรู้พื้นฐานทางสถิติในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลทางการศึกษาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
                      6. ร่วมในกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

               คู่มือนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566
               หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (ภาคพิเศษ) หน้า 16
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23