Question and Answer ร่วมกิจกรรม Q&A ส่งคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือแพทยศาสตรศึกษา คำถามที่ถูกเลือกมาตอบใน SHEE Journal จะได้รับ 1 แต้ม สะสมครบตามจำนวนที่กำหนดรับของที่ระลึกของ SHEE คลิกที่นี่

สำหรับบุคลากรศิริราชที่ต้องการเก็บชั่วโมงพัฒนาอาจารย์ (CPD) สามารถอ่านวารสารออนไลน์ได้ที่ SHEE Online Course โดยผู้อ่าน SHEE Journal ผ่านระบบ SHEE Online Course นั้น จะได้ชั่วโมงการฝึกอบรม จำนวน 1 ชม. โดยสามารถนำไปรายงานตัวชี้วัดการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่องด้านการศึกษา (Continuous Professional Development : CPD) ตามเกณฑ์ที่คณะฯ กำหนดได้ ทั้งนี้ จะนับชั่วโมงให้เมื่อเรียนจบ Course และได้รับใบ Certificate เท่านั้น จึงจะถือว่าผ่านการอบรม จากนั้นทุกสิ้นเดือนเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จะส่งรายชื่อเพื่อยืนยันผู้ผ่านการอบรมให้กับต้นสังกัดทราบ และส่งข้อมูลให้กับฝ่ายทรัพยากรบุคคล เพื่อดำเนินการจัดเก็บจำนวนชั่วโมงการอบรมในระบบต่อไป

1_2023 Journal_D10_2_Page_01

SHEE วารสารฉบับที่ 1 ปี 2023 (Full Version)

ผู้ป่วย ถือเป็นสมาชิกที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในทีมการรักษา แต่ทว่า จนถึงปัจจุบันทีมรักษาทางการแพทย์ก็มักจะละเลยความสำคัญในการดึงผู้ป่วยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีมรักษาอยู่เสมอ จึงนำไปสู่ปัญหาระหว่างทีมแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันยิ่งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสร้างบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในอนาคต จึงต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าใจและนำหลักการการรักษาโดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered care) ไปใช้ในการปฏิบัติงาน

วารสาร SHEE journal ในฉบับนี้ ทางทีมงานจึงได้จัดสรรบทความมาใน theme “How to teach patient-centered care” โดยทางทีมงานได้พยายามรวบรวมประเด็นสำคัญในการสอนให้ผู้เรียนดึงผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในทีมรักษา เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลให้แก่อาจารย์ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ เนื้อหาที่นำเสนอในวารสาร มีทั้งบทความจากคณาจารย์ และแพทย์ใช้ทุนของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เนื้อหาจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง

Author: SHEE
Downloads: 373

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_03

Issue1/2023-01 Executive talk

การให้บริการทางสุขภาพแก่ผู้ป่วยในปัจจุบันมิได้มุ่งเน้นเพียงการรักษามาตรฐานเดียวกันในผู้ป่วยทุกคนเท่านั้น วงการแพทย์ในปัจจุบันตระหนักว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน บุคลากรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกคนต้องให้ความสนใจในความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ป่วยแต่ละคน และให้บริการที่ไม่เพียงถูกต้องตามหลักวิชาการแต่ยังต้องเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 66

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_05

Issue1/2023-02 Patient-centered Medicine

วัตถุประสงค์ ทักษะ และสมรรถนะ ที่โรงเรียนวิทยาศาสุตร์สุุขภาพให้ความสำคัญ ในบทความนี้จึงอยากชวนท่านผู้อ่านทุกท่านเข้าใจองค์ประกอบสำคัญ ของ PCM และเห็นว่าการสอดแทรกองค์ประกอบทั้ง 6 ส่วนให้เป็นเนื้อเดียวกันในหลักสูตร ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการเรียนการสอนในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ผ่านมาอย่างไร ไปจนถึงว่า ในแต่ละระดับของการเรียนการสอน มีส่วนใดบ้างที่มีการปรับเพื่อตอบรับองค์ประกอบสำคัญทั้ง 6 ส่วน ตั้งแต่การพัฒนาหลักสูตร การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล

Author: นพ.ปุญญภัทร มาประโพธิ์, ร.ท. นพ.ภาณุภัท นราศุภรัฐ, ศ. พญ.สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์
Downloads: 182

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_12

Issue1/2023-03 Transformative Learning to promote humanized health care

การสอนให้แพทย์ดูแลผู้ป่วยด้วยความเป็นมนุษย์ (humanized health care) เป็นความท้าทายในโลกยุคปัจจุบันที่มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีปัญญาประดิษฐ์ที่อาจมาแทนที่มนุษย์ได้หลายด้าน และทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายในชีวิตแตกต่างกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยและแพทย์เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตาม การดูแลทางด้านจิตใจที่มีพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยและญาติยังต้องการเสมอ เป็นเป้าหมายสำคัญที่ควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนแพทย์

Author: ผศ. นพ. พนม เกตุมาน
Downloads: 90

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_19

Issue1/2023-04 Culture of respect: Cultivate humanities with the environment in medical schools

Culture of respect ในทางการแพทย์ คือ วัฒนธรรมแห่งความเคารพซึ่งกันและกัน ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุุขภาพ เป็นสถานที่ที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่มีความหลากหลายทั้งในด้านอายุและวิชาชีพการทำงาน ซึ่งการที่อาจารย์จะสอนให้ผู้เรียนดูแลผป่่วยด้วยความเป็นมนุษย์แล้วนั้น การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพซึ่งกันและกัน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้้ผู้้เรียนมีความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

Author: ผศ. พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล
Downloads: 476

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_22

Issue1/2023-05 How to develop patient-doctor communication skills

อย่างที่เราได้ทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่า การสื่อสารมีความสำคัญอย่างมากในการทำงานทางการแพทย์ และการสื่อสารระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยและญาติเป็นการสื่อสารที่มีความจำเพาะ มีหลักการ และมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการรักษา ในบทความนี้ เราจะมาช่วยกันตอบคำถามต่อไปที่ว่าหากเรารู้ว่าการสื่อสารมีความสำคัญแล้วพวกเราจะพัฒนาสิ่งนี้ได้อย่างไร

Author: รศ. พญ.ธัชวรรณ จิระติวานนท์
Downloads: 112

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_24

Issue1/2023-06 เข้าใจมุมมองของผู้ป่วย ผ่านการเรียนรู้ด้วย Human simulation

“อัตตานัง อุปมัง กเร" คติพจน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ครั้นตั้งแต่ยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งนับเป็นจุดกำเนิดของการเรียนการสอนในวิชาชีพแพทย์และวงการสาธารณสุขของประเทศไทย โดยมีความหมายว่า “พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง” หรือ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ดังนั้นความเข้าใจในมุมมองของผู้ป่วยจึงนับเป็นทักษะพื้นฐานของวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าใจในมิติของความเป็นมนุษย์ของผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้ ผมจึงชวนท่านผู้อ่านมารู้จักกับกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วยพัฒนาความเข้าใจในมุมมองของผู้ป่วยให้แก่ผู้เรียน นั่นคือ การใช้สถานการณ์จำลองมนุษย์ (human simulation) กันนะครับ

Author: นพ.วุฒิภัทร เอี่ยมมีชัย
Downloads: 94

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_28

Issue1/2023-07 การเรียนรู้ผ่านความเข้าใจคนไข้ สู่การเป็นแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย

“ค่ายหมอนอกรั้วโรงเรียนแพทย์” เป็นค่ายที่เริ่มต้นมาจากความทุกข์ของทีมแพทย์จบใหม่ที่ไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลชุมชน ในปี 2555 ซึ่งในแต่ละพื้นที่ต่างมีข้อจำกัดและบริบทที่แตกต่างจากในรั้วโรงเรียนแพทย์อย่างสิ้นเชิง ทีมผู้ริเริ่มจึงมีแนวคิดร่วมกันว่า หนึ่งในวิธีที่จะช่วยลดความทุกข์นี้ คือ การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแพทย์ชั้นปรีคลินิกได้มาเรียนรู้ประสบการณ์ผ่านชีวิตจริงของแพทย์และคนไข้ที่โรงพยาบาลชุมชน ทั้งในรั้วโรงพยาบาลและนอกรั้วโรงพยาบาล ผ่านการสัมผัสประสบการณ์ตรง (experiential learning) การเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (patient-centered learning) การสะท้อนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ภายใน (self-reflection) และหล่อหลอมจนเกิดการเปลี่ยนแปลงมุมมองภายใน (transformative learning) 

Author: พญ.ทักษิณา ครบตระกูลชัย, นพ.ศุภชัย ครบตระกูลชัย, นพ.อิทธิพล อุดตมะปัญญา ทีมผู้ริเริ่มค่ายหมอนอกรั้วโรงเรียนแพทย์
Downloads: 76

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_32

Issue1/2023-08 Students’ voice

ในบทความนี้ ผู้เขียนจะนำทุกท่านไปพบกับมุมมองของนิสิต-นักศึกษาแพทย์ต่อการแพทย์ โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางหรือ Patient-centered medicine โดยทางผู้เขียนได้สัมภาษณ์นักศึกษาแพทย์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากนักศึกษาแพทย์ต่างสถาบันต่างชั้นปี เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลาย และครอบคลุม โดยนักศึกษาส่วนหนึ่งเป็นนักศึกษาที่เป็นตัวแทนของนักศึกษาที่สถาบันของตนเอง เช่น อุปนายกสโมสรนักศึกษาแพทย์ศิริราช นายกสโมสรนิสิตแพทย์จุฬาฯ

Author: นพ.ภาสวุฒิ ศิริทองถาวร
Downloads: 106

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_37

Issue1/2023-09 เชิด-ชู

บทความเชิดชูในวารสารฉบับนี้ทางทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ศ. นพ. สุพจน์ พงศ์ประสบชัย ครูแพทย์ผู้มีประสบการณ์การสอนและดููแลนักศึกษามาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นครูแพทย์ที่เป็นต้นแบบให้กับอาจารย์แพทย์และนักศึกษาแพทย์หลายคน ซึ่งอาจารย์เพิ่งได้รับรางวัล อายุรแพทย์ดีเด่นด้านครูแพทย์ ประจำปี 2566 จากราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย อาจารย์จึงได้มาถ่ายทอดประสบการณ์ดี ๆ ให้แก่ผู้อ่านทุกท่านในบทความนี้

Author: SHEE
Downloads: 94

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_40

Issue1/2023-10 สับ สรรพ ศัพท์

Shared decision making หมายถึง การวางแผนการรักษาหรือการสืบค้นเพิ่มเติม โดยอาศัยความคิดเห็นจากทั้งทีมแพทย์และผู้ป่วยเพื่อให้ได้แนวทางการรักษาที่ตั้งทั้งอยู่บนหลักการทางการแพทย์รวมไปถึงความต้องการของผู้ป่วยและญาติ

Author: นพ.ธิติพันธ์ ศรีกุลมนตรี
Downloads: 286

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_43

Issue1/2023-11 Educational movement

การดูแลโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-centered care) ได้รับการนิยามโดย Institute of  Medicine ว่าเป็นการดูแลผู้ป่วยโดยให้เกียรติ และตอบสนองต่อความต้องการ ความชอบ และคุณค่าของผู้ป่วย และทำให้มั่นใจได้ว่าคุณค่าในชีวิตของผู้ป่วยจะเป็นสิ่งชี้แนะแนวทางการตัดสินใจทางคลินิก แนวทางการดูแลผู้ป่วยในลักษณะนี้ แสดงให้เห็นว่าการดูแลผู้ป่วยแต่ละราย แม้เป็นโรคเดียวกัน ความรุนแรงเท่ากัน แต่บุคลากรที่ดูแลก็อาจปฏิบัติต่อผู้ป่วยแตกต่างกันได้

Author: รศ. ดร. นพ.เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์
Downloads: 72

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_47

Issue1/2023-12 การสอนบรรยายอย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive lecture) HOT

การสอนบรรยาย (lecture) เป็นรูปแบบที่ใช้อย่างแพร่หลายในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  (learning activity) และเป็นรูปแบบหลักสำหรับการเรียนในช่วงปีแรก ๆ ของนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงานตามสาขาวิชาชีพ การสอนบรรยายที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ สามารถส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียนในห้องเรียนกลุ่มใหญ่ (large classroom) ได้โดยอาจใช้ผู้บรรยายเพียงหนึ่งคน การสอนบรรยายจึงถือเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประหยัดทรัพยากรบุคคลอย่างมาก

Author: ผศ. ดร. นพ.ยอดยิ่ง แดงประไพ
Downloads: 603

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_55

Issue1/2023-13 SHEE Sharing

ในบทความนี้ผู้เขียนได้เลือกผลงานวิจัยเรื่อง Attitudes and Habits of Highly Humanistic Surgeons: A Single-Institution, Mixed-Methods Study โดย Robert A. Swendiman และคณะ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Academic Medicine ปี 2019 มานำเสนอให้ผู้อ่านทุกท่าน

Author: นพ.ปุญญภัทร มาประโพธิ์
Downloads: 75

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_58

Issue1/2023-14 วิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic research)

วิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic research) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาวัฒนธรรม พฤติกรรม ค่านิยม ทัศนคติ การใช้ชีวิตประจำวันของกลุ่มคนผ่านการเล่าเรื่องอย่างละเอียดของนักวิจัยจากสิ่งที่ตัวเองได้สัมผัสให้ผู้อ่านฟัง

Author: อ. ดร.เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ
Downloads: 74

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2_Page_60

Issue1/2023-15 Click & Go with technology

การสร้าง E-Portfolio ด้วย WIX ในปัจจุบันการประเมินผลผู้เรียนนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ หนึ่งในรูปแบบที่เป็นที่นิยมใช้ซึ่งเป็นวิธีการประเมินผลโดยรวบรวมจากผลงานที่ผู้เรียนนั้นได้ทำหรือได้ปฏิบัติ นั่นคือ Portfolio หรือ แฟ้มสะสมผลงาน ซึ่ึงสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นรูปเล่ม หรือเป็นชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำเว็บไซต์ที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนของท่านสามารถสร้าง e-portfolio ผ่านเว็บไซต์ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและใช้งานได้สะดวก

Author: ผศ. ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
Downloads: 132

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2 62

Issue1/2023-16 SHEE Podcast

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (SHEE) ได้จัดทํา SHEE Podcast ซึ่งรวบรวมประเด็นที่น่าสนใจในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ถ่ายทอดผ่านการพูดคุยในบรรยากาศสบาย ๆ เพื่อให้ทุกท่านสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น โดยเผยแพร่ทุกวันศุกร์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน เวลา 20.00 น.

Author: SHEE
Downloads: 59

Download

Rating:
(0 votes)
1_2023 Journal_D10_2 63

Issue1/2023-17 Upcoming Events

ศูนย์ SHEE ขอเชิญชวนอาจารย์ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือผู้สนใจพัฒนาความรู้ทางการศึกษาทุกท่าน เข้าร่วมอบรมในโครงการต่าง ๆ ที่กำลังจะจัดขึ้น มีทั้งรูปแบบการบรรยาย หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ และครอบคลุมเนื้อหาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน หรือการประเมินผล รวมไปถึงการทำวิจัยทางการศึกษา

Author: SHEE
Downloads: 65

Download

Rating:
(0 votes)

Question and Answer ร่วมกิจกรรม Q&A ส่งคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือแพทยศาสตรศึกษา คำถามที่ถูกเลือกมาตอบใน SHEE Journal จะได้รับ 1 แต้ม สะสมครบตามจำนวนที่กำหนดรับของที่ระลึกของ SHEE คลิกที่นี่





ท่านสามารถเก็บคะแนน CPD / CME ได้จากระบบ SHEE Online Course โดยสามารถ Click ที่ปุ่มด้านล่างนี้เพื่อเข้าสู่ระบบ

 

Free Joomla! templates by Engine Templates